เราเรียนรู้อะไรจากสงครามได้บ้าง? 5 ที่ท่องเที่ยวย้ำเตือนพิษของสงครามจากทั่วทุกมุมโลก

 

“If we have no peace, it is because we have forgotten that we belong to each other”

– Mother Teresa 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ผ่านมาล้วนเต็มไปด้วยสงคราม ความขัดแย้ง และการกดขี่กีดกันมนุษย์ด้วยกันเอง สงครามที่ผ่านมาล้วนสร้างบาดแผลให้กับมนุษยชาติ และยังเป็นรากฐานของความเกลียดชังในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความเกลียดกันทางเชื้อชาติ เพศ หรือชนชั้น 

 

สงครามไม่ได้ทิ้งไว้แค่เพียงความพ่ายแพ้หรือเลือดเนื้อของเพื่อนมนุษย์ที่ถูกทรมานด้วยความเกลียดชังเพียงเท่านั้น ‘สถานที่’ เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บอกเล่าความโหดร้ายและพิษจากสงคราม ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ สถานที่เหล่านั้นถูกใช้เป็นพื้นที่ในการทรมานและข่มเหงเพื่อนมนุษย์ เพียงเพราะความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ‘มนุษย์ไม่ได้เท่าเทียมกัน’ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสถานที่เหล่านั้นกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คอยบอกเล่าเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความโหดร้ายของสงคราม และคอยตอกย้ำว่าเราไม่ควรปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบในอดีตอีกเด็ดขาด

 

การท่องเที่ยวเองก็ได้จับเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาเป็นจุดขายสำคัญเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้และตระหนักรู้ (Awareness) เกี่ยวกับกับความโหดร้ายในประวัติศาสตร์ด้วย โดยสถานที่ท่องเที่ยวจากสงครามที่มีชื่อเสียง มีดังนี้

 

1.พิพิธภัณฑ์เอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา

เมืองคราครูฟ ประเทศโปแลนด์

Visitors ประมาณ 2.3 ล้านคนต่อปี

พิพิธภัณฑ์เอาชวิทซ์-เบียร์เคเนาถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นหนึ่งใน 15,000 พิพิธภัณฑ์ในยุโรปที่ถูกปกครองโดยนาซีเยอรมัน หลายคนเข้าใจผิดว่านักโทษที่ถูกนำมากักขังในที่แห่งนี้มีเพียงชาวยิวเพียงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีทั้งชาวยิว ชาวโรมา และชาวโซเวียตจำนวนมากกว่า 6 ล้านคน โดยนักโทษที่ถูกนำมามีทุกเพศทุกวัย และทุกคนจะต้องใช้แรงงานเพื่อแลกกับอาหาร อย่างไรก็ตาม อาหารและที่อยู่ของนักโทษไม่ได้ดีเท่ากำลังแรงงานที่พวกเขาเสียไป ทำให้หลายคนต้องเสียชีวิตจากความหิวโหยและการถูกใช้แรงงาน แต่ความโหดร้ายที่สุดภายในค่ายแห่งนี้คงหนีไม่พ้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่อยู่ในค่ายด้วยการหลอกลวงเข้าห้องรมควันพิษ นอกจากนี้ หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่พิพิธภันฑ์แห่งนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีนิทรรศการและร่องรอยของความโหดร้ายในอดีตมากมายด้วยเช่นกัน

 

2.โดมปรมาณู

เมืองฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

Visitors ประมาณ 1.7 ล้านคนต่อปี

ความโหดร้ายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 คงหนีไม่พ้นการทิ้งระเบิดปรมาณูใส่เมืองฮิโรชิมะและเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นโดยกองทัพสหรัฐฯ เหตุการณ์นี้สร้างความหวาดกลัวและเป็นสงครามที่ทำร้ายสภาพจิตใจของมนุษยชาติมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นที่ฝังอัฐิของผู้เสียชีวิตจากระเบิดปรมาณูจำนวนมากกว่า 70,000 คน นอกจากนี้ เหตุการณ์นี้ยังทิ้งความเสียหายระยะยาวอีกด้วย เช่น สารพิษจากระเบิดยังคงหลงเหลืออยู่ในดินและน้ำในพื้นที่ อีกทั้งผู้คนรุ่นหลังที่อยู่ในพื้นที่ที่ถูกระเบิดถล่มก็ได้รับความเดือดร้อนจากสารพิษซึ่งส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว

 

3.พิพิธภัณฑ์ House of Terror

เมืองบูดาเบสต์ ประเทศฮังการี

Visitors มากกว่า 360,000 คนต่อปี

พิพิธภัณฑ์ House of Terror เคยถูกใช้เป็นคุกใต้ดินเพื่อกักขังนักโทษทางการเมือง ภายในพิพิธภัณฑ์ถูกจัดทำเป็นห้องนิทรรศการเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์สำคัญในอดีต เช่น ห้องที่บอกเล่าเรื่องราวของพรรค Arrow Cross ซึ่งเป็นพรรคของฮังการีที่มีลักษณะคล้ายลัทธินาซีหรือลัทธิฟราสซิส ที่ต่อต้านลัทธิทุนนิยม โดยพรรคนี้ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Ferenc Szálasi ในปี ค.ศ. 1944 ภายใต้ช่วงเวลานี้มีประชาชนชาวยิวและชาวโรมาเนียผู้บริสุทธิ์มากมายที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้เป็นที่เกลียดชังของพรรคชาตินิยมฮังการี นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ House of Terror ยังมีที่จัดแสดงรูปของผู้ต้องขังที่เต็มไปด้วยร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในสถานที่แห่งนี้

 

4.ทางรถไฟสายมรณะ

จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

Visitors ประมาณ 90,000 – 1000,000 คนต่อปี

 ในประเทศไทยเองก็มี Legacy ของสงครามโลกครั้งที่ 2 หลงเหลืออยู่ด้วยเช่นกัน โดยเส้นทางรถไฟสายมรณะถูกสร้างขึ้นโดยกองทัพญี่ปุ่นที่เกณฑ์แรงงานจากเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียในพื้นที่ ทางรถไฟสายนี้ถูกสร้างโดยจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ขนส่งอาวุธและเสบียงจากประเทศไทยสู่ประเทศเมียนมาร์ สถานที่แห่งนี้ถูกทิ้งไว้เป็นร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความทุกข์ทรมาณและความโหดร้ายที่เหล่าเชลยศึกจากหลายเชื้อชาติทั่วโลกต้องประสบโดยเป็นผลจากภาวะสงคราม

 

5.ทุ่งสังหารเจิงเอก

เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

Visitors ประมาณ 700-800 ต่อวัน

ในยุคที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาด้วยอุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ ในตอนนั้นสิ่งที่เขมรแดงทำก็คือการกวาดต้อนประชาชนจากเมืองใหญ่อย่างพนมเปญและบังคับให้ทำเกษตรหรือใช้แรงงานในชนบท เพื่อกำจัดศัตรูทางชนชั้นและให้ชนชั้นทางสังคมหมดไป ดังนั้น พื้นที่ของทุ่งสังหารเจิงเอกจึงถูกใช้เป็นลานสังหารประชาชนที่ถูกจัดว่ามีชนชั้นทางสังคมสูง ไม่ว่าจะเป็นทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา และอื่น ๆ แม้ว่าในปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้จะดูร่มรื่นสบายตา แต่บริเวณรอบ ๆ ก็ได้มีการจัดแสดงกระดูกศีรษะของผู้เสียชีวิต ตลอดจนภาพบรรยากาศของเหตุการณ์ในอดีต

 

ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ หรือเป็นอนุสรณ์ที่หลงเหลือจากสงครามที่ไม่ได้แค่รอแค่เพียงให้มีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเท่านั้น แต่ยังรอให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนได้ศึกษาและเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีตด้วยว่าสงครามน่ากลัวมากเพียงใด ดังนั้น ประโยชน์สูงสุดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนักท่องเที่ยวเปิดใจใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ และใช้บทเรียนทางประวัติศาสตร์นี้ช่วยให้เข้าใจผลกระทบจากความขัดแย้งเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง

 


 

ที่มา: BBC News, adayBULLETIN, KanchanaburiCenter, Palanla, Japan.Travel, Voanews, Department of Veterans’ Affairs

Share This Story !

1.4 min read,Views: 2793,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    พฤษภาคม 1, 2024

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    พฤษภาคม 1, 2024

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    พฤษภาคม 1, 2024