พรรณไม้และสัตว์ป่า..ดอยเวียงผา จ.เชียงใหม่

 

ยอดดอยเวียงผา

                อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผามีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มนำแม่ฝางท้องที่ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ ท้องที่ตำบลแม่ข่า ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ จังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อว่า“อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา” มีเนื้อที่ประมาณ 455.9 ตารางกิโลเมตร หรือ 284,937.5 ไร่

มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่- เชียงราย มียอดดอยสูงสุดคือ“ดอยเวียงผา” มีความสูง 1,834 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารและแหล่งกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆที่สำคัญ โดยเฉพาะเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง และสาขาหนึ่งของน้ำแม่ลาว เช่น ห้วยแม่ฝางหลวง ห้วยแม่ฝางน้อย น้ำแม่ยางมิ้น เป็นต้น

การเดินทางนั้นมีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ – อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ทุกวัน แล้วมาลงที่หน้าตลาดบ้านท่า อำเภอไชยปราการ จากนั้นติดต่อเหมารถฯต่อไปยังที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 12 กิโลเมตร

หากนำรถฯมาเอง จากเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข107(สายเชียงใหม่-ฝาง) จนถึง กม.125 หรือบ้านแม่ขิหล่ายฝาง(ก่อนถึงตัวอำเภอไชยปราการเล็กน้อย) ก็จะพบทางแยกขวามือเข้าสู่อุทยานฯอีกราว 12 กม.

ในที่นี้ขอแบ่งพรรณไม้และสัตว์ป่าที่พบออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ พรรณไม้ป่า(76 ชนิด) กล้วยไม้(6 ชนิด) เฟิน(2 ชนิด) เห็ด(8 ชนิด) แมงและแมลง(28 ชนิด) และสัตว์ป่า(11 ชนิด)

ไม้ป่า (ทำเป็นแถบล้อมรอบหัวข้อ)

มีทั้งหมด 76 ชนิด เน้นเฉพาะที่พบดอก หรือผลที่เด่นสะดุดตา โดยข้อมูลต่อไปนี้จะจัดเรียงลำดับตามวงศ์ สกุล และชนิด

  1. Justicia sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Justicia sp.

วงศ์ : ACANTHACEAE

Justicia sp.

                ไม้ล้มลุกที่ยังไม่รู้ชนิด ออกดอกเป็นช่อเชิงลดตั้งขึ้นตามปลายกิ่ง ดอกสีชมพูอมขาว และสีชมพูอมม่วง พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 700 ชนิด ในเมืองไทยพบ 34 ชนิด อนึ่งชื่อสกุลนี้ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นักพืชสวนชาวสก็อต คือ Mr.Jane Justic

  1. Strobilanthes

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobilanthes sp.

วงศ์ : ACANTHACEAE

Strobilanthes sp.

Strobilanthes sp.

              เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มที่ยังไม่รู้ชนิด ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกสีม่วงสด ดอกเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็น5กลีบ

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 171 ชนิด ในเมืองไทยพบ 24-25 ชนิด

  1. หอมแส้ม้า

ชื่อท้องถิ่น : หอมทุ(ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium hookeri Thwaites

วงศ์ : ALLIACEAE

หอมแส้ม้า

หอมแส้ม้า

หอมแส้ม้า

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวรูปทรงกระบอก กลิ่นฉุน ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปแถบ จนถึงรูปแถบกว้าง ออกดอกเป็นช่อซี่ร่มแทงขึ้นมาจากหัวหรือเหง้า มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกสีขาว สีเหลืองอมเขียว จนถึงสีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 972 ชนิด ในเมืองไทยพบ 2 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามทุ่งหญ้าป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,400 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน ธิเบต จีน เมียนมาร์ และไทย

  1. หนาดคำ

ชื่อท้องถิ่น : เขืองแผงม้า , หนาดดอย(ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duhaldea cappa (Buch.-Ham. ex D. Don) Pruski & Anderb.

วงศ์ : ASTERACEAE

หนาดคำ

หนาดคำ

ไม้พุ่มขนาดเล็ก ตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกสีเหลืองสดหรือสีเหลืองทอง ดอกคล้ายหนาดทอง(Gnaphaium affine D.Don) กลีบดอกเป็นฝอยๆเรียงตัวอัดกันแน่นบนกลีบเลี้ยงที่เป็นรูปถ้วย ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ก.พ.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 10 ชนิด ในเมืองไทยพบ 4 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามทุ่งหญ้า พื้นที่โล่งแจ้ง และป่าโปร่งที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,600 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน ไทย และอินโดนีเซีย

  1. ต่างหูขาว

ชื่อท้องถิ่น : ดีลาม้อน(กะเหรี่ยง) ; หนาดโคก(ภาคเหนือ) ; ตุ้มหูขาว(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duhaldea nervosa (Wall. ex DC.) A. Anderb

วงศ์ : ASTERACEAE

ต่างหูขาว

ต่างหูขาว

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกลมตามซอกใบและปลายกิ่งก้าน ช่อละ 2-6 ดอก แต่จะทยอยออกดอกบานทีละ 2-3 ดอก ขนาดดอก 1.5-3 ซม. คล้ายดอกแอสเตอร์เชียงดาวและนางจอย ดอกแบ่งออกเป็น2วง วงนอกมีดอกสีขาว กลีบดอกแผ่ออกโดยรอบเป็นวงกลมและซ้อนเหลื่อมกัน ปลายกลีบดอกหยักแหลมเป็น3แฉก ดอกวงในสีเหลือง รูปหลอดแคบ ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ม.ค.

พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้าป่าสนเขาและตามริมไหล่ผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย จีน ไทย ลาว และเวียดนาม

  1. 6. Eupatorium

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium sp.

วงศ์ : ASTERACEAE

Eupatorium sp.

Eupatorium sp.

เป็นไม้ล้มลุกที่ยังไม่รู้ชนิด พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 129 ชนิด ในเมืองไทยมีรายงานการพบอย่างน้อย 6 ชนิด

  1. อัคคนีเทวา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Koyamasia calcarea (Kitam.) H.Rob.

วงศ์ : ASTERACEAE

อัคคนีเทวา

อัคคนีเทวา

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปไข่ หรือรูปรี ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามปลายยอด ยาว 1.5-3 ซม. มีดอกย่อยขนาดเล็กอัดรวมกันแน่นกว่า 80 ดอก ดอกสีม่วง สีชมพู หรือสีขาว ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 3 ชนิด ในเมืองไทยพบทั้ง 3 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นที่โล่งแจ้งในป่าสนเขาและป่าดิบเขาบนภูเขาหินปูนที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,300 เมตร ขึ้นไป ปัจจุบันมีรายงานการพบเฉพาะบนดอยเชียงดาว และดอยเวียงผา จ.เชียงใหม่ เท่านั้น

เป็นพืชถิ่นเดียวของเมืองไทย

  1. เทียนหาง

ชื่อท้องถิ่น : เทียนจาบ , เทียนอ้ม , เทียนอินทนนท์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens duclouxii Hook.f.

วงศ์ : BALSAMINACEAE

เทียนหาง

เทียนหาง

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม รูปไข่รี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามปลายยอด ดอกสีเหลืองอมเขียว และมีสีน้ำตาลแดงเป็นจุดประทั่วทั้งดอก ออกดอกในราวเดือน ส.ค. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบกว่า 1,000 ชนิด ในเมืองไทยพบกว่า 80 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ตามป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้น ปัจจุบันมีรายงานการพบบนดอยลังกา จ.เชียงราย-จ.เชียงใหม่ ดอยผ้าห่มปก ดอยเวียงผา และดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ภูสวนทราย(นาแห้ว) และภูหลวง จ.เลย เท่านั้น

เป็นพืชถิ่นเดียวของเมืองไทย

  1. เทียนธารา

ชื่อท้องถิ่น : พาลีจำแลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens mengtszeana Hook.f.

วงศ์ : BALSAMINACEAE

เทียนธารา

เทียนธารา

เทียนธารา

ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยเล็กน้อย หรือตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปใบหอก รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปรี ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ช่อละ 1-3 ดอก ดอกสีเหลืองอมส้ม หรือสีส้มแกมเหลือง มีแต้มสีแดงหรือสีแสดพาดตามยาวอยู่กลางกลีบบน และมีแต้มสีแดงที่โคนกลีบคู่ด้านข้าง ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ธ.ค.

พบขึ้นเป็นดงตามริมลำห้วยในป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,500 เมตร ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย จีนตอนใต้ และไทย

  1. เทียนดอย

ชื่อท้องถิ่น : เทียนป่า(เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens violiflora Hook.f.

วงศ์ : BALSAMINACEAE

เทียนดอย

เทียนดอย

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปไข่ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามซอกใบและปลายยอด มีดอกย่อย 2-3 ดอก ดอกสีม่วง สีชมพูเข้ม หรือสีชมพูอมแดง โคนกลีบล่างมีปื้นขาวและแต้มสีเหลือง ออกดอกในราวเดือน มิ.ย. – พ.ย.

พบขึ้นตามริมลำน้ำและใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ที่ชุ่มชื้นในป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700-2,000 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

แพร่กระจายในเมียนมาร์ตอนบน และไทย

  1. เพกา

ชื่อท้องถิ่น : มะลิดไม้ , มะลิ้นไม้ , ลิดไม้(ภาคเหนือ) ; ดอก๊ะ , ด๊อกก๊ะ , ดุแก(กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน) ; หมากลิ้นก้าง , หมากลิ้นซ้าง(เงี้ยว-ภาคเหนือ) ; ลิ้นฟ้า(เลย) ; กาโดโด้ง(กะเหรี่ยง-กาญจนฯ) ; เบโก(มลายู-นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz

วงศ์ : BIGNONIACEAE

ผลของเพกา

                ไม้ยืนต้น ต้นที่มีอายุน้อยมักมีกิ่งใหญ่ตรงกลางเพียงกิ่งเดียว เมื่อออกดอกแล้วลำต้นจะแยกเป็นกิ่งระเกะระกะ เปลือกต้นสีน้ำตาลครีมอ่อน หรือสีเทาอ่อน ผิวมีรอยแตกละเอียดเป็นร่องตื้นๆเล็กน้อยและรอยแผลของก้านใบประกอบ ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ

ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ 2-4 ชั้น ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม(ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงกันข้าม) โดยออกเป็นกระจุกตอนปลายกิ่ง ก้านใบประกอบยาว 60-210 ซม. มีใบย่อย 3-5 คู่ รูปไข่ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปไข่แกมรูปรี หรือรูปไข่กลับ

ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นตามปลายยอด ยาว 40-200 ซม. มีดอกย่อยเรียงแน่นที่ปลายช่อ ขนาดดอก 8-12 ซม. ดอกบานตอนกลางคืนหรือรุ่งเช้า กลิ่นค่อนข้างสาบฉุนแรง มักพบดอกร่วงตามพื้นในตอนเช้า ดอกสีเหลืองนวล หรือสีเหลืองอมเขียว ผิวดอกด้านนอกสีม่วงอมน้ำตาลแดงจนถึงสีน้ำตาลคล้ำ ภายในหลอดดอกสีขาวอมเทา สีครีม หรือสีขาวอมเขียว มีปื้นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลแดงที่โคน ออกดอกในราวเดือน มิ.ย. – ก.ค.

ผลเป็นฝักรูปแถบและแบนคล้ายดาบ สีเขียวอมน้ำตาล จนถึงสีน้ำตาลเข้ม เปลือกหนา ผลแห้งแตกตามรอยประสานเป็น2ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก รูปกลมและแบน มีปีกกว้างบางเกือบใส ออกผลในราวเดือน ส.ค. – ก.พ.

พืชสกุลนี้พบทั่วโลกเพียงชนิดเดียว พบขึ้นตามชายป่า พื้นที่โล่งแจ้ง ตลอดจนบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา เนปาล จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ อนึ่งชื่อสกุลมาจากภาษากรีก คำว่า Oros แปลว่า ภูเขา และคำว่า Xylon แปลว่า ไม้ หมายถึงต้นไม้ที่มีใบหนาแน่นที่ยอดคล้ายภูเขา

  1. สรัสจันทร

ชื่อท้องถิ่น : ดอกดิน(ภาคกลาง) ; กล้วยเล็บมือนาง(ภาคใต้) ; กล้วยมือนาง(ชุมพร) ; หญ้าหนวดเสือ(สุราษฎร์ฯ) นอกจากนี้ยังเป็นพันธุ์ไม้ซึ่งสมเด็จพระราชินีฯทรงพระราชทานพระนามว่าสรัสจันทร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Burmannia coelestis D.Don

วงศ์ : BURMANNIACEAE

สรัสจันทร

                ไม้ล้มลุกมีอายุฤดูเดียว ลำต้นเล็กเรียว สีเขียว ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปใบหอกจนถึงรูปแถบแคบ ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกเล็กๆตั้งขึ้น ช่อละ 1-8 ดอก ดอกขนาดเล็ก สีชมพูจนถึงสีม่วงอมฟ้า หรือสีม่วงอมน้ำเงิน ออกดอกในราวกลางเดือน ก.ค. – ต้นเดือน ธ.ค.

พืชสกุลนี้พบทั่วโลก 57 ชนิด ในเมืองไทยพบ 12 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นบนซากพืชที่เน่าเปื่อยตามลานหินทรายที่มีน้ำขัง ทุ่งหญ้าโล่งที่ชื้นแฉะ แหล่งน้ำซับ หรือทางน้ำไหลผ่านบนดอยที่มีความสูงจ่ากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 20-1,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในหมู่เกาะมอริเซียส บังกลาเทศ อินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ภูมิภาคมาเลเซีย และตอนเหนือของออสเตรเลีย

  1. ผักลืมผัว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lobelia nummularia Lam.

วงศ์ : CAMPANULACEAE

ผักลืมผัว

                ไม้เถาทอดเลื้อย ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปไข่ หรือเกือบกลม ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอมเขียว หรือสีม่วงอมแดง และมีปื้นสีเหลืองอ่อน ออกดอกตลอดทั้งปี ผลรูปกลม หรือรูปรี สีม่วงอมแดง กลีบเลี้ยงติดคงทน มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีผิวเป็นร่างแห ออกผลตลอดทั้งปี

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 437 ชนิด ในไทยพบ 14 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นใต้ร่มเงาไม้ในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-1,600 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลาง

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกินี และฟิลิปปินส์

  1. ว่านหัวสืบ

ชื่อท้องถิ่น : ครกเหล็ก , เนียมฤาษี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Disporum calcaratum D.Don

วงศ์ : COLCHICACEAE

ผลของว่านหัวสืบ

ผลของว่านหัวสืบ

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกห้อยลงคล้ายร่มตามซอกใบปลายกิ่งและปลายยอด ช่อละ 3-10 ดอก ดอกสีม่วง สีม่วงอ่อน สีม่วงอมน้ำตาล สีชมพูอมแดง สีชมพูอมม่วง สีเขียวอมม่วง หรือสีเขียวอ่อน ออกดอกในราวเดือน พ.ค. – ส.ค. ผลรูปค่อนข้างกลม ผลสดสีเขียว ผลสุกสีม่วงเข้ม ผลแก่สีดำ มี 1-2 เมล็ด

พืชสกุลนี้ย้ายมาจากวงศ์ CONVALLARIACEAE ทั่วโลกพบ 20 ชนิด ในไทยพบ 2 ชนิด สำหรับชนิดนี้เป็นพืชหายากชนิดหนึ่งของเมืองไทย พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000-1,900 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  1. ผักปลาบใหญ่

ชื่อท้องถิ่น : หญ้ากาบไผ่(ขอนแก่น) ; ผักปราบใหญ่ , ผักปลาบ(ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina paludosa Blume

วงศ์ : COMMELINACEAE

ผักปลาบใหญ่

ผักปลาบใหญ่

 

ไม้ล้มลุก ลำต้นกลม เป็นข้อๆ อวบน้ำ ทอดเลื้อยไปตามพื้นและแตกรากออกตามข้อ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ก่อนชูส่วนปลายยอดตั้งขึ้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตรงข้ามกับใบ ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน กลีบดอก3กลีบ กลีบบน2กลีบมีขนาดใหญ่ กลีบล่าง1กลีบมีขนาดเล็กมาก และมักมีสีซีดจาง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – พ.ย.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 231 ชนิด ในเมืองไทยพบ 5 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ริมลำน้ำ และใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

  1. ฝอยหิน

ชื่อท้องถิ่น : เอื้องหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyanotis arachnoidea Wight

วงศ์ : COMMELINACEAE

ฝอยหิน

ฝอยหิน

ไม้ล้มลุก แตกกิ่งตั้งขึ้นหรือเกาะเลื้อย และแยกแขนง ใบเดี่ยว ใบที่โคนต้นออกกระจุกเป็นวงรอบ รูปใบหอกหรือรูปแถบ ใบตามกิ่งก้านออกเรียงสลับ รูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีชมพู สีม่วงอมขาว สีม่วงอมน้ำเงิน จนถึงสีม่วง ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 50 ชนิด ในไทยพบ 6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นอยู่เป็นทุ่งตามพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า และบนลานหินทรายที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,700 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

พบในพื้นที่เขตฯอมก๋อย บริเวณผาช่อและบนสันดอยม่อนจอง

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา เนปาล จีนตอนใต้ ไต้หวัน เมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนาม

  1. หงอนนาค

ชื่อท้องถิ่น :หงอนเงือก , หญ้าหงอนเงือก , หญ้าหอนเงือก(เลย) ; ว่านมูก(หนองคาย) ; ไส้เอียน , หงอนพญานาค(อุบลฯ) ; น้ำค้างกลางเที่ยง(ภาคใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia gigantea (Vahl) G.Brückn.

วงศ์ : COMMELINACEAE

หงอนนาค

                ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โดยออกเป็นกระจุกบริเวณโคนต้น ใบโคนต้นเป็นรูปดาบ หรือรูปแถบยาว ออกดอกเป็นช่อแตกแขนงตามปลายยอด มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ดอกตูมมีเมือกเหนียว ดอกจะบานเต็มที่เมื่อมีแสงแดดจัด ดอกสีม่วงอ่อน สีม่วง และสีม่วงน้ำเงิน นอกจากนี้ก็มีสีชมพูและสีขาวแต่ค่อนข้างหาพบยาก ออกดอกในช่วงฤดูฝน แต่มีมากในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 50 ชนิด ในไทยพบ 10 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นเป็นดงตามชายป่าที่มีน้ำขังหรือชุ่มชื้น ทุ่งหญ้าที่ชุ่มชื้น ทุ่งหญ้าป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,800 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในศรีลังกา อินเดีย จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ภูมิภาคมาเลเซีย และออสเตรเลีย ชื่อสกุล Murdannia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พืชในสวนพฤกษศาสตร์ของอินเดีย

  1. กินกุ้งน้อย

ชื่อท้องถิ่น : หงอนเล็ก(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; ผักปลาบ(นครสวรรค์-ภาคกลาง) ; หญ้าเลินแดง(สุราษฎร์ฯ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia nudiflora (L.) Brenan

วงศ์ : COMMELINACEAE

กินกุ้งน้อย

                ไม้ล้มลุกมีอายุสองปี ลำต้นขนาดเล็กทอดเลื้อยไปตามพื้นและชูส่วนปลายยอดตั้งขึ้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง 2-6 แขนง แต่ละแขนงมีดอกย่อย 2-5 ดอก ดอกสีม่วงน้ำเงิน สีม่วงอมชมพู สีม่วงอ่อน หรือสีฟ้าอ่อน ออกดอกตลอดปี แต่มีมากในช่วงปลายฤดูฝน

พบขึ้นตามริมลำน้ำ ที่ชื้นแฉะ ทางน้ำไหลผ่าน พื้นที่โล่งแจ้งที่ชุ่มชื้น ตลอดจนบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในเขตร้อนชื้น หรือเขตกึ่งร้อนชื้น

  1. ผักปราบเขียว

ชื่อท้องถิ่น : หญ้าใบไผ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhopalephora scaberrima (Blume) R. B. Faden

วงศ์ : COMMELINACEAE

ผักปราบเขียว

ผักปราบเขียว

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายยอด ขนาดดอก 1-2 ซม. ดอกสีม่วง หรือสีฟ้าอมม่วง ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 4 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยพบขึ้นตามทุ่งหญ้า ริมทางที่ชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน จีน ไต้หวัน เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

  1. หุน

ชื่อท้องถิ่น : เถาหมากวาง(สุราษฎร์ฯ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Argyreia osyrensis (Roth) Choisy

วงศ์ : CONVOLVULACEAE

หุน

หุน

ไม้พุ่มรอเลื้อย ทุกส่วนของต้นเมื่อหักหรือฉีกจะมียางสีขาวไหลออกมา ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง รูปไข่กว้างเกือบกลม หรือรูปหัวใจ ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อละไม่เกิน10ดอก ขนาดดอก 1.5-2 ซม. ดอกสีชมพูอ่อนถึงสีชมพูอมม่วง ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 90 ชนิด ในเมืองไทยพบกว่า 35 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบเลื้อยพาดปกคลุมต้นไม้อื่นตามชายป่า ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) และมาเลเซีย

  1. แตงกวาป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis hystrix Chakrav.

วงศ์ : CUCURBITACEAE

a

แตงกวาป่า

แตงกวาป่า

ไม้เลื้อย มีมือเกาะเป็นรูปเส้นด้าย ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกสีเหลือง ดอกเป็นรูประฆัง ปลายดอกแยกเป็น5กลีบ ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ส.ค. ผลรูปขอบขนาน มีตุ่มอยู่รอบผล และมีขนสาก เนื้อในผลคล้ายแตงกวา มีเมล็ดจำนวนมาก ออกผลในราวเดือน ส.ค. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 54 ชนิด ในเมืองไทยมีรายงานการพบ 2-3 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพันต้นไม้อื่นตามพุ่มไม้หนาแน่นในป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,500 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ไทย และลาว

  1. หญ้าคมบาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carex baccans Nees

วงศ์ : CYPERACEAE

หญ้าคมบาง

                ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยแตกออกบริเวณโคนกอ รูปขอบขนานแคบยาวเรียว หรือรูปแถบแคบ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงมากมายตามปลายยอด 5-20 ช่อ ในแต่ละช่อนั้นปลายช่อเป็นดอกเพศผู้ ส่วนโคนช่อเป็นดอกเพศเมีย ดอกสีเขียวอ่อนปนม่วง เกสรตัวผู้3อัน ออกดอกตลอดปี ผลรูปค่อนข้างกลม สีแดงเข้ม ติดกันเป็นช่อยาว ผลแก่เป็นสีม่วง

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 2,000 ชนิด ในไทยพบ 40 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามทุ่งหญ้า ตลอดจนบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ทั่วทุกภาค โดยพบมากทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  1. กล้วยฤาษี

ชื่อท้องถิ่น : จันป่า(เชียงใหม่) ; เหล่โก่มอ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ; มะเขือเถื่อน(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros glandulosa Lace

วงศ์ : EBENACEAE

ผลของกล้วยฤาษี

                ไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีน้ำตาลอมแดง ผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปไข่กลับ ดอกแยกเพศและต่างต้น ดอกสีขาว หรือสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็กๆตามซอกใบ ดอกเป็นรูปคนโทหรือเป็นหลอดคล้ายเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ แต่มีขนาดใหญ่กว่า กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีอย่างละ 4 กลีบ ออกดอกในราวเดือน มี.ค. – พ.ค.

ผลรูปกลม รูปไข่ หรือค่อนข้างแป้น ขนาด 2.5-4 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง ผลสุกสีส้มอมเหลือง ฉ่ำน้ำ ปลายและโคนผลบุ๋มเล็กน้อยและมีขนอยู่เป็นกระจุกแน่น ผิวมีขนคล้ายไหมปกคลุมหนาแน่น ผลแก่สีดำ มีเมล็ดเรียงเป็นรูปดาว 3-7 เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม ก้านผลยาว 0.3-0.5 ซม. ออกผลในราวเดือน ส.ค. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 744 ชนิด ในเมืองไทยพบ 70 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นทั่วไปตามป่าทุ่งหญ้า ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 750-1,500 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

แพร่กระจายในอินเดีย เมียนมาร์ และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

24. สะเภาลม

ชื่อท้องถิ่น : แมวน้ำ(มูเซอร์-เชียงใหม่) ; เหง้าน้ำทิพย์(เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agapetes hosseana Diels.

วงศ์ : ERICACEAE

ดอกตูมของสะเภาลม

                ไม้พุ่มอิงอาศัย ลักษณะคล้ายไม้บอนไซหรือกล้วยไม้ โคนต้นและรากพองอวบใหญ่เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำ ทำให้มีความทนทานต่อดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งได้อย่างดีเยี่ยม ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้นๆห้อยลงตามซอกใบ ช่อละ 2-5 ดอก ดอกสีแดงเข้ม สีแดงอมส้ม หรือสีแดงอมเขียว ดอกเป็นหลอดรูปทรงกระบอกห้อยคว่ำ มีสันตามความยาวของหลอดดอก ปลายแยกเป็นแฉกหรือกลีบสั้นๆ5กลีบและบานพับออก รูปสามเหลี่ยม สีเขียวอ่อน สีเขียวอมเทา จนถึงออกสีดำ ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ก.พ.

ผลรูปกลม และอวบน้ำ ขนาด 0.8-1 ซม. ปลายผลนูนและมีกลีบเลี้ยงติดเป็นวงรอบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงเข้มถึงม่วงดำ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

ต้นและผลของสะเภาลม

                พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบกว่า 80 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 16 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามโขดหินที่มีมอสส์ปกคลุมหรืออิงอาศัยบนต้นไม้อื่นบริเวณไหล่เขาหินปูน และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป บางครั้งอาจพบขึ้นตามพื้นดินลาดชันที่ถูกน้ำกัดเซาะริมไหล่ผา ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้

แพร่กระจายในเมียนมาร์ และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่ Carl Friederich Hosseus นักสำรวจชาวเยอรมันที่เข้ามาสำรวจในไทยเมื่อปี พ.ศ.2447-2448

25. Eriocaulon nepalense Prescott & Bong var. luzulifolium Praj. & Chantar.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eriocaulon nepalense Prescott & Bong var. luzulifolium Praj. & Chantar.

วงศ์ : ERIOCAULACEAE

Eriocaulon nepalense var. luzulifolium

Eriocaulon nepalense var. luzulifolium

ไม้ล้มลุกมีอายุฤดูเดียวสกุลกระดุมเงิน ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุกซ้อนกันบริเวณใกล้พื้นดิน รูปแถบ ออกดอกเป็นช่อ 2-3 ช่อ หรือจำนวนมาก แทงขึ้นมาจากเหง้า ช่อดอกรูปครึ่งวงกลมจนถึงรูปไข่ ดอกแยกเพศ มีดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น ดอกเพศผู้สีขาว ดอกเพศเมียสีน้ำตาล ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ก.พ.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 491 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 44-45 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบตามพื้นดินทรายในพื้นที่ชุ่มชื้น ริมลำน้ำ ตลอดจนบนภูเขาหินทรายที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,633 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

แพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  1. ช้อยนางรำ

ชื่อท้องถิ่น : เคยมะคว้า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ว่านมีดพับ(ลำพูน) ช้อยช่างรำ , นางรำ(ภาคกลาง) ; แพงแดง(ประจวบคีรีขันธ์)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codariocalyx motorius (Houtt.) H.Ohashi

วงศ์ : FABACEAE

ช้อยนางรำ

ช้อยนางรำ

ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบย่อยตอนปลายมีขนาดใหญ่กว่าคู่ด้านข้าง รูปใบหอกกลับแกมรูปขอบขนาน มีหูใบย่อย2ใบ รูปแถบ เมื่อมีเสียงดัง หูใบจะกระดิกได้ ออกดอกเป็นช่อกระจะตามปลายยอดและซอกใบ ขนาดดอก 1-2 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว สีชมพูอมขาว จนถึงสีชมพู ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 2 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยพบตามป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 400-2,300 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในปากีสถาน อินเดีย เนปาล จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

  1. ตานฟัก

ชื่อท้องถิ่น : พวนดอย(ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crotalaria ferruginea Benth.

วงศ์ : FABACEAE

ตานฟัก

ตานฟัก

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่จนถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตั้งตรงตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อละ 1-8 ดอก ดอกรูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ธ.ค. ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 657 ชนิด ในเมืองไทยพบ 39 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามชายป่าของป่าผลัดใบและป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 350-1,800 เมตร เกือบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวกินี

  1. Desmodium ferrugineum Thwaites

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium ferrugineum Thwaites

วงศ์ : FABACEAE

Desmodium ferrugineum Thwaites

Desmodium ferrugineum Thwaites

ไม้ล้มลุกแตกกอคล้ายไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปรี จนถึงรูปไข่กลับ ออกดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกสีม่วง สีม่วงอมชมพู สีชมพู และสีขาว ดอกทยอยบานจากโคนช่อสู่ปลายช่อ กลีบดอก5กลีบ มีขนาดและรูปร่างไม่เหมือนกัน

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 372 ชนิด ในเมืองไทยพบ 20 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นอยู่เป็นทุ่งตามป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา และตามไหล่ผาบนภูเขาสูงเขาทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ จีนตอนใต้ เมียนมาร์ และไทย

  1. เครือจานดง

ชื่อท้องถิ่น : ขี้กะตืดหมา , ขี้กะตืดหมาตัวผู้ , ถั่วแฮะภู , หางเสือภู(เลย) ; หนาดออน(ทั่วไป)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium multiflorum DC.

วงศ์ : FABACEAE

เครือจานดง

เครือจานดง

ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบย่อยตอนปลายมีขนาดใหญ่กว่าคู่ด้านข้าง รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายยอดและซอกใบ ขนาดดอก 1-2 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วง ออกดอกในราวเดือน มิ.ย. – ต.ค.

พบตามป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,800 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในปากีสถาน อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์ และไทย

  1. หนาดคำ

ชื่อท้องถิ่น : หญ้าฮากเหลือง(ภาคเหนือ) ; ยาแก้ฮากเหลือง , ยาต้นกำลังพระ(เชียงใหม่) ; เครือแพว , ต้นรากน้อย(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium oblongum Benth.

วงศ์ : FABACEAE

หนาดคำ

หนาดคำ

ไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแคบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ออกดอกเป็นช่อห้อยระย้าตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดดอก 1-1.5 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วง หรือสีม่วงอมขาวแกมชมพู ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – พ.ค.

พบตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-1,600 เมตร ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในจีนตอนใต้ อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  1. Desmodium sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium sp.

วงศ์ : FABACEAE

Desmodium sp.

                เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ดอกรูปดอกถั่ว ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกย่อยสีชมพูอมม่วง

  1. Desmodium sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium sp.

วงศ์ : FABACEAE

Desmodium sp.

                เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ดอกรูปดอกถั่ว ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยสีม่วง

  1. แห่พันชั้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dumasia villosa var. leiocarpa (Benth.) Baker

วงศ์ : FABACEAE

แห่พันชั้น

แห่พันชั้น

ไม้เลื้อยคลุมดินแล้วชูยอดขึ้น ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก ดอกรูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ธ.ค. – มี.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 12 ชนิด ในเมืองไทยพบ 2 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบทอดเลื้อยตามพื้นที่โล่งแจ้งที่ชุ่มชื้นบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 400-2,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล จีน เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเขตร้อนในทวีปแอฟริกา

  1. ขางครั่ง

ชื่อท้องถิ่น : ดอกครั่ง(เชียงใหม่) ; เถาครั่ง(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dunbaria bella Prain

วงศ์ : FABACEAE

ขางครั่ง

ขางครั่ง

ไม้เลื้อยขนาดเล็กมีอายุหลายปี เถารูปกลม ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบย่อยรูปรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดดอก 1-1.5 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว กลีบดอก5กลีบ กลีบบน1กลีบ รูปไต แผ่คลุมกลีบอื่น สีม่วงคล้ำจนถึงสีม่วงดำ ปลายกลีบเรียวและบิดโค้งขึ้นเป็นงวง กลีบข้าง2กลีบ รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน สีเหลือง กลีบคู่ล่างเชื่อมติดกัน สีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 25 ชนิด ในเมืองไทยพบ 8 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบทอดเลื้อยต้นไม้อื่นตามป่าชายหาด ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 80 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

แพร่กระจายในจีนตอนใต้ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

  1. แห้วประดู่

ชื่อท้องถิ่น : หญ้าลูกลีบ(เลย) ; ค้อนกลอง(ปราจีนบุรี) ; แห้วดำ(นครสวรรค์) ; มันท่ง(สุราษฎร์ธานี) ; มันช่าง(สตูล)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eriosema chinense Vogel

วงศ์ : FABACEAE

แห้วประดู่

                ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปแถบ ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้นๆตามซอกใบ ช่อละ 1-2 ดอก ดอกสีเหลือง และมีเส้นกลีบสีน้ำตาล ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

(รูป63 ใส่คำพูดใต้รูปว่า..ดอกตูมของแห้วประดู่)

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 130 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยพบขึ้นตามพื้นที่โล่งบริเวณชายป่า และเขาหินปูนที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 2,000 เมตร ทั่วทุกภาค

(รูป64 ใส่คำพูดใต้รูปว่า..ผลของแห้วประดู่)

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย และออสเตรเลีย

  1. ถั่วขน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sinodolichos lagopus (Dunn) Verdcourt

วงศ์ : FABACEAE

ถั่วขน

ถั่วขน

ไม้เลื้อย ทอดยาวไปได้ไกล เถามีขนสีเหลืองปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ออกดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ดอกสีม่วง หรือสีขาว ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 2 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยพบขึ้นตามพื้นที่โล่งในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-1,700 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในจีน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

  1. Smithia setulosa Dalzell

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smithia setulosa Dalzell

วงศ์ : FABACEAE

Smithia setulosa Dalzell

Smithia setulosa Dalzell

ไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปรี ออกดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกรูปดอกถั่ว สีเหลืองสด มี5กลีบ และมีแต้มสีแดงเป็นรูปโค้งอยู่ปากกลีบบนทั้ง2กลีบ ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 22 ชนิด ในเมืองไทยพบ 4 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามทุ่งหญ้าป่าสนเขาทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย เมียนมาร์ และไทย

  1. สะเก่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tephrosia kerrii J.R.Drumm. & Craib

วงศ์ : FABACEAE

สะเก่ง

สะเก่ง

ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบย่อยรูปรี หรือรูปไข่ ออกดอกคล้ายช่อกระจะตามซอกใบและปลายยอด ดอกรูปดอกถั่ว สีแดงอมม่วง จนถึงสีชมพู ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ธ.ค.

ดอกตูมและผลของสะเก่ง

                พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 391 ชนิด ในเมืองไทยพบ 6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,620 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก

แพร่กระจายในจีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

  1. ก่อพวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lithocarpus aggregatus Barnett

วงศ์ : FAGACEAE

ก่อพวง

                ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อเรียวยาวคล้ายหางกระรอกตั้งขึ้นตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกแยกเพศและอยู่ต่างช่อดอก ไม่มีกลีบดอก คงมีแต่กลีบเลี้ยง ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ม.ค.

ผลของก่อพวง

                ผลออกเป็นกลุ่ม 1-3 ผล เปลือกแข็ง มีกาบรูปถ้วยเป็นเกล็ดไม่ซ้อนกันหุ้มราวครึ่งหนึ่งของผล ผลแห้งไม่แตก ออกผลในราวเดือน ต.ค. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 341 ชนิด ในเมืองไทยพบ 58 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในไทย และเวียดนาม

  1. ไส้ปลาเข็ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Exacum pteranthum Wall. ex G.Don

วงศ์ : GENTIANACEAE

ไส้ปลาเข็ม

                ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีม่วง หรือสีม่วงอมชมพู ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 40 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 5-6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นแทรกอยู่ตามทุ่งหญ้าและพื้นที่โล่งชายป่าบนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000-1,500 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

แพร่กระจายในเมียนมาร์ และไทย

  1. ว่านไก่แดง

ชื่อท้องถิ่น : กาฝากก่อตาหมู , ไก่แดง , เอื้องเข้าก่ำ , เอื้องหงอนไก่(ภาคเหนือ) ; ตาลลาย(สุราษฎร์ฯ) ; เถานมเมียหิน(เกาะพะงัน) ; มะดาอาปี(มลายู-ยะลา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeschynanthus andersonii C.B.Clarke

วงศ์ : GESNERIACEAE

ว่านไก่แดง

                ไม้พุ่มอิงอาศัย มีลำต้นเดี่ยวหรืออาจขึ้นอยู่เป็นกอดูคล้ายกล้วยไม้ และทอดเลื้อยไปตามต้นไม้ที่อิงอาศัย ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปรี รูปไข่แกมรูปรี หรือรูปใบหอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกตั้งขึ้นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งและปลายยอด ช่อละ 1-6 ดอก หรือมากถึง 15 ดอก ดอกสีแดง สีแดงอมส้ม หรือสีส้มอมแดง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ธ.ค. บางครั้งพบออกดอกนอกฤดูกาลในราวเดือน พ.ค. – ส.ค.

ผลรูปทรงกระบอกหรือปิ่นปักผม ผลแก่จะแตกแล้วบิดเป็นเกลียว มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก

ดอกและผลของว่านไก่แดง

                พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 196 ชนิด ในเมืองไทยพบราว 20 ชนิด สำหรับชนิดนี้มักพบขึ้นอิงอาศัยตามต้นไม้โดยเฉพาะต้นก่อที่ขึ้นอยู่ตามไหล่เขาริมผาในป่าดิบเขา แต่บางครั้งก็พบขึ้นตามไหล่ผาที่มีอากาศเย็นชื้นและมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,400-1,900 เมตร ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย จีนตอนใต้ เมียนมาร์ และไทย

  1. เอื้องหงอนไก่

ชื่อท้องถิ่น : ว่านไก่เต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeschynanthus fulgens Wall. ex R. Br.

วงศ์ : GESNERIACEAE

เอื้องหงอนไก่

เอื้องหงอนไก่

ไม้พุ่มอิงอาศัย ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม และสลับตั้งฉาก รูปขอบขนาน รูปรีแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ช่อละ 8-16 ดอก ดอกสีแสด สีส้มอมแดง หรือสีแดงสด ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค. ผลรูปเรียวยาว ผลแก่แตกอ้าออก มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก

พบขึ้นอิงอาศัยตามต้นไม้ในป่าดิบชื้น โดยเฉพาะต้นก่อในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง

แพร่กระจายในจีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) และภูมิภาคมาเลย์

  1. Hypericum nummularium L.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypericum nummularium L.

วงศ์ : HYPERICACEAE

Hypericum nummularium L.

                ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม และสลับตั้งฉาก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อและแยกแขนงตามปลายกิ่งก้านและยอด ช่อละ 1-5 ดอก ดอกสีเหลืองสด กลีบดอก5กลีบ ออกดอกในราวเดือน พ.ย. – ธ.ค.

ปัจจุบันมีรายงานการพบเฉพาะตามทุ่งหญ้าริมไหล่ผาบนดอยม่อนจอง และบนดอยเวียงผา จ.เชียงใหม่

แพร่กระจายในทวีปยุโรป อินเดีย เนปาล ภูฎาน จีนตอนใต้ และไทย

44. หญ้าดอกคำ

ชื่อท้องถิ่น : ดอกคำหญ้า , ดอกหญ้าคำ , ตาลเดี่ยว(ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypoxis aurea Lour.

วงศ์ : HYPOXIDACEAE

หญ้าดอกคำ

หญ้าดอกคำ

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปแถบแกมรูปขอบขนาน หรือรูปเรียวยาวคล้ายใบหญ้า ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะตามซอกใบหรือโคนใบ 1-4 ช่อๆละ 1-2 ดอก ขนาดดอก 1-3 ซม. ดอกสีเหลือง หรือสีเหลืองสด ออกดอกในราวเดือน พ.ค. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 103 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 2-3 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นดินทรายบริเวณทุ่งหญ้าโล่ง ลานหินที่ชุ่มชื้น มีทางน้ำไหลผ่าน ตลอดจนบนบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลได้ถึง 2,000 เมตร ทั่วทุกภาค โดยพบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในทวีปเอเชีย

45. น้ำลายผีเสื้อ

ชื่อท้องถิ่น : ผ้า(เชียงใหม่) ; ขาเปียดง(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callicarpa rubella Lindl.

วงศ์ : LAMIACEAE

c

c

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม รูปใบหอก รูปใบหอกกลับ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปรี ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ 2-4 ช่อ โดยออกเป็นคู่ตรงกันข้าม มีดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดดอก 0.3 ซม. ดอกสีม่วง สีขาวอมเขียว หรือสี ออกดอกในราวเดือน พ.ค. – ก.ค. ผลย่อยรูปค่อนข้างกลม สีม่วง ออกผลในราวเดือน ก.ค. – พ.ย.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 140 ชนิด ในเมืองไทยพบ 12 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นที่กึ่งโล่งแจ้งในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 เมตร ขึ้นไป ทั่วทุกภาค โดยพบมากตามป่าสนเขา

แพร่กระจายในปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ จีน ฮ่องกง เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) และภูมิภาคมลายู

46. ปิ้งขาว

ชื่อท้องถิ่น : เขาะคอโดะ , แบบิสี่ , พอกวา(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; เข็มป่า , พวงพีขาว(เลย) ; นมสวรรค์เขา(นครศรีฯ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum glandulosum Lindl.

วงศ์ : LAMIACEAE

ปิ้งขาว

ปิ้งขาว

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ ออกดอกเป็นช่อกระจุกและแยกแขนงตั้งขึ้นบริเวณยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกคล้ายดอกเข็ม ดอกเป็นรูปหลอดสีขาวอมเขียวอ่อน ปลายแยกเป็น5กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว สีขาวอมชมพูอ่อน หรือสีชมพูอ่อน ออกดอกในราวเดือน ส.ค. – ธ.ค. ผลรูปกลม ผลสดสีเขียว ผลแก่สีดำ

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 150 ชนิด ในเมืองไทยพบมากกว่า 30 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามป่าดิบเขาและชายป่าที่ชุ่มชื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-1,800 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย บังกลาเทศ เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) คาบสมุทรมลายู เกาะชวา และเกาะสุมาตรา

47. ฉัตรประทัดเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gomphostemma heyneanum Wall. ex Benth.

วงศ์ : LAMIACEAE

ฉัตรประทัดเหลือง

ฉัตรประทัดเหลือง

ไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 เมตร ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปรีกว้าง ออกดอกเป็นช่อกระจะแน่นตามปลายยอด มีดอกย่อย 10-20 ดอก ดอกสีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 43 ชนิด ในเมืองไทยพบ 6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 400 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย ไทย และเวียดนาม

48. หญ้าข้าวตอก

ชื่อท้องถิ่น : คำปองป่า , มุกมังกร(เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Isodon lophanthoides (Buch.-Ham. ex D.Don) H.Hara

วงศ์ : LAMIACEAE

หญ้าข้าวตอก

                ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปใบหอกกว้างจนถึงรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อกระจุกและแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อละ 11-13 ดอก ดอกสีขาว หรือสีขาวอมชมพูระเรื่อๆ ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ก.พ.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 113 ชนิด ในเมืองไทยพบ 7-8 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามทุ่งหญ้าบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ

พบในพื้นที่เขตฯอมก๋อย บนสันดอยม่อนจอง

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนาม

49. ห้อมป่า

ชื่อท้องถิ่น : ผักอีหลึงป่า(เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platostoma coloratum (D. Don) A. J. Paton

วงศ์ : LAMIACEAE

ห้อมป่า

ห้อมป่า

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอก ขนาดดอก 0.5 ซม. ดอกสีขาว และมีแต้มจุดสีม่วง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 45 ชนิด ในเมืองไทยพบ 21-22 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามหุบเขาและใต้ร่มเงาไม้ในป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,100-1,600 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์ ไทย และลาว

50. อัคคีทวาร

ชื่อท้องถิ่น : ตั้งต่อ , ปอสามเกี๋ยน , แว้งค่า , สามสุม(ภาคเหนือ) ; หมอกนางต๊ะ , หลังสามเกียน , หลัวสามเกวียน(เชียงใหม่) ; แข้งม้า(เชียงราย) ; ควิโด , ตือซือซาฉ้อง , เตอสีพ่ะดู่ , ยาแก้(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; คุ้ยโดโวต(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ; ผ้าห้ายห่อคำ , หมักก้านต่อ , หูแวง , ฮังตอ(เลย) ; พรายสะเรียง , สะเม่าใหญ่(นครราชสีมา) ; มักแค้งข่า(ปราจีนฯ) ; ตรีชะวา(ภาคกลาง) ; อัคคี(สุราษฎร์ฯ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.

วงศ์ : LAMIACEAE

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเป็นวงรอบข้อๆละ3ใบ รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดดอก 1-1.5 ซม. รูปดอกคล้ายดอกผีเสื้อแสนสวย ดอกเป็นรูปหลอด ปลายแยกเป็น5กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกด้านข้างๆละ2กลีบมีสีขาวหรือสีขาวอมฟ้า ส่วนกลีบดอกตรงกลางหรือกลีบดอกล่างสุดเป็นรูปช้อนและมีสีฟ้าหม่น สีชมพูอมม่วง หรือสีม่วงเข้ม ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ต.ค. บางครั้งพบออกดอกนอกฤดูกาลในราวเดือน ม.ค. – ก.พ.

ผลของอัคคีทวาร

                พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 50-60 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว พบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นบริเวณชายป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างชุ่มชื้นในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,000 เมตร ทั่วทุกภาค

มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์ กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย จีน เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย จนถึงอินโดนีเซีย

51. สร้อยสุวรรณา

ชื่อท้องถิ่น : หญ้าสีทอง(เลย) ; เหลืองพิศมร(ภาคกลาง) ; สาหร่ายดอกเหลือง(สุพรรณฯ) สำหรับชื่อสร้อยสุวรรณานั้นสมเด็จพระราชินีฯทรงพระราชทานพระนามให้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia bifida L.

วงศ์ : LENTIBULARIACEAE

สร้อยสุวรรณา

                ไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียว ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปแถบ มีอวัยวะจับแมลงออกตามข้อของไหลและซอกใบ เป็นกระเปาะรูปกลมขนาดเล็ก เพื่อไว้ดักจับแมลงเล็กๆเป็นอาหาร มักทิ้งใบร่วงหล่นก่อนออกดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งตรงจากโคนต้น ช่อละ 2-10 ดอก ขนาดดอก 0.6-1 ซม. ดอกสีเหลืองสด หรือสีเหลืองเข้ม ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 220 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 27 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นอยู่หนาแน่นตามลานหินและทุ่งหญ้าโล่งที่มีหน้าดินตื้นชื้นแฉะ มีน้ำขัง และทางน้ำไหลผ่านในป่าเต็งรังและป่าสนเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50-1,600 เมตร เกือบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตก โดยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในเขตร้อนของเอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย

52. หมากลิ้นน้ำค้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lindernia antipoda (L.) Alston

วงศ์ : LINDERNIACEAE

หมากลิ้นน้ำค้าง

                ไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียว ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ๆและสลับตั้งฉาก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามซอกใบ หรือออกเป็นช่อกระจะตามปลายยอด ดอกสีม่วง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบกว่า 90 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 35 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นที่กลางแจ้งและใต้ร่มเงาในพื้นที่กสิกรรม เรือกสวน ตลอดจนพื้นที่ที่ชุ่มชื้นเฉอะแฉะบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,800 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน จีน ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเขตร้อนในออสเตรเลีย

53. มณเฑียรแดง

ชื่อท้องถิ่น : แววสุพัตรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torenia pierreana Bonati

วงศ์ : LINDERNIACEAE

มณเฑียรแดง

                ไม้เลื้อยอายุฤดูเดียว โคนต้นมักทอดเลื้อยแล้วชูยอดตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม และสลับตั้งฉาก รูปใบหอกจนถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ หรือเป็นช่อกระจุกสั้นๆตามปลายกิ่ง ช่อละ 1-4 ดอก ขนาดดอก 2.5-3 ซม. ดอกสีแดงอ่อน สีชมพูอมแดง หรือสีม่วงอมชมพู และมักมีปื้นสีม่วงอมแดงที่ปลายกลีบ ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้พบทั่วโลก 50 ชนิด ในเมืองไทยพบ 9 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ทางน้ำไหลผ่าน ชายป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-1,400 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

แพร่กระจายในไทย และกัมพูชา

54. หญ้าขัด

ชื่อท้องถิ่น : ขัดมอน , คัดมอน(ภาคกลาง) ; ยุงปัดแม่ม่าย , หญ้ายุงปัดแม่ม่าย(กทม.)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sida rhombifolia L.

วงศ์ : MALVACEAE

หญ้าขัด

                ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแกมรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 2-3 ดอก ตามซอกใบ ดอกสีเหลืองสด ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 157 ชนิด ในเมืองไทยพบ 7 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ริมลำน้ำ ตลอดจนบนภูเขาสูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

พบในพื้นที่เขตฯอมก๋อย ตามเส้นทางเดินจากจุดจอดรถจนถึงตีนดอยม่อนจอง

แพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก

55. ปอหยุมยู่

ชื่อท้องถิ่น : ป่าช้าหมอง , ผมยุ่ง , หญ้าผมยี , หญ้าผมยุ่ง , หางไก่ , อ้นกะเหรี่ยง(ภาคเหนือ) ; ขี้อ้น , ขี้อ้นน้อย , ไม้ขาว , หญ้าตัวตุ่น , หมากเขือขน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Triumfetta pilosa Roth

วงศ์ : MALVACEAE

ปอหยุมยู่

ปอหยุมยู่

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้นๆตามซอกใบ ดอกสีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ก.พ.

พืชสกุลนี้เดิมอยู่ในวงศ์ TILIACEAE ทั่วโลกพบประมาณ 150 ชนิด ในเมืองไทยพบ 5-6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามชายป่า ป่าเสื่อมโทรม ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

56. ขี้ครอก

ชื่อท้องถิ่น : ขี้คาก , ปอเส้ง , หญ้าผมยุ่ง , หญ้าอียู(ภาคเหนือ) ; บอเทอ , ปะเทาะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; หญ้าหัวยุ่ง(เย้า-แม่ฮ่องสอน) ; ชบาป่า(น่าน) ; ขมงดง(สุโขทัย) ; ขี้หมู(นครสวรรค์) ; ขี้ครอกป่า(ภาคกลาง) ; ปูลู(ภาคใต้) ; เส้ง(นครศรีฯ) ; ปูลุ(มลายู-นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urena lobata L.

วงศ์ : MALVACEAE

ขี้ครอก

ขี้ครอก

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบมีรูปร่างและขนาดของใบแตกต่างกันมาก ใบบริเวณโคนต้นค่อนข้างกลม ใบตอนกลางของต้นเป็นรูปไข่ และใบบริเวณยอดเป็นรูปค่อนข้างกลมยาวจนถึงรูปใบหอก ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ช่อละ 2-3 ดอก ดอกบานในตอนเช้ามืด เลยเที่ยงมักเริ่มหุบดอก ดอกสีชมพู สีชมพูอมม่วง หรือสีชมพูอมแดง ออกดอกเกือบตลอดปี โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 10 ชนิด ในเมืองไทยพบ 4 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นอยู่เป็นดงหนาแน่นตามที่โล่งทั่วไป ตลอดจนบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 2,000 เมตร ทั่วทุกภาค

พบในพื้นที่เขตฯอมก๋อย ตามเส้นทางเดินจากจุดจอดรถจนถึงตีนดอยม่อนจอง

แพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก

57. เอนอ้าขน

ชื่อท้องถิ่น : เฒ่านั่งฮุ่ง(เชียงใหม่) ; โคลงเคลงหิน , เอ็นอ้าขน(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osbeckia stellata Buch.-Ham. ex Ker Gawl.

วงศ์ : MELASTOMATACEAE

เอนอ้าขน

เอนอ้าขน

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกและแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกสีม่วง กลีบดอก4กลีบ ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน

ดอกตูมของเอนอ้าขน

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 50 ชนิด ในเมืองไทยพบ 7 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นที่โล่งและทุ่งหญ้าที่ชุ่มชื้นและริมลำห้วย ตลอดจนทุ่งหญ้าและสันเขาที่ชุ่มชื้นบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 2,000 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฎาน จีนตอนใต้ ไต้หวัน และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

58. Osbeckia sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osbeckia sp.

วงศ์ : MELASTOMATACEAE

Osbeckia sp.

เป็นไม้พุ่มยังไม่รู้ชนิด

59. สาวสนม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonerila griffithii C.B. Clarke

วงศ์ : MELASTOMATACEAE

สาวสนม

สาวสนม

 

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก โดยออกตามโคนต้นดูคล้ายเป็นกระจุก รูปไข่ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อซี่ร่มตามปลายยอด ช่อละ 3-6 ดอก ขนาดดอก 2-3.4 ซม. ดอกสีชมพู หรือสีชมพูเข้ม ออกดอกในราวเดือน ส.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 150 ชนิด ในเมืองไทยพบมากกว่า 14 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นดินที่ชุ่มชื้นหรืออิงอาศัยบนก้อนหินที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ บางครั้งพบอิงอาศัยตามโคนต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะตามริมลำธารในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,700 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

แพร่กระจายในเมียนมาร์ ไทย และภูมิภาคมลายู

60. ดอกดินแดง

ชื่อท้องถิ่น : ซอซวย(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ปากจะเข้(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; หญ้าดอกขอ(เลย) ; ดอกดิน , หญ้าเข้าก่ำ(ภาคกลาง) ; สบแล้ง , สอน(สงขลา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeginetia indica L.

วงศ์ : OROBANCHACEAE

ดอกดินแดง

ไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียว ทุกส่วนของต้นไม่มีสีเขียว เพราะไม่ต้องสังเคราะห์แสง แต่จะมีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุกที่โคนกอ ใบลดรูปเป็นเกล็ดเล็กๆซึ่งไม่มีคลอโรฟิล รูปสามเหลี่ยม ออกดอกเดี่ยว โดยแทงก้านดอกแข็งตั้งตรงขึ้นมาจากเหง้า ดอกตูมมีกาบหุ้มดอกคล้ายดอกบัวตูมที่งอโค้ง ดอกเมื่อบานเต็มที่จะเป็นรูปหลอดกว้างโค้งงอหรือรูปถ้วยคว่ำอ้วน ปลายอ้าออกเป็น2กลีบ กลีบดอกด้านในสีม่วงอมแดง หรือสีม่วงเข้ม กลีบดอกด้านนอกสีขาวอมม่วงถึงสีม่วงเข้ม ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – พ.ย.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 6 ชนิด ในเมืองไทยพบ 2 ชนิด สำหรับชนิดนี้เป็นพืชเบียนหรือพืชกาฝากที่อาศัยเกาะกินน้ำและอาหารอยู่บนรากไม้อื่นโดยเฉพาะรากต้นไผ่ รากต้นกก และรากต้นหญ้าที่อยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ที่ชุ่มชื้นหรือมีน้ำขังในป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,600 เมตร ทั่วทุกภาค

มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแล้วแพร่กระจายผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงไปสู่ประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

61. มะหิ่งดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alectra arvensis (Benth.) Merr.

วงศ์ : OROBANCHACEAE

มะหิ่งดอย

มะหิ่งดอย

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปไข่ หรือรูปใบหอก ออกดอกตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ส.ค. – พ.ย.

พืชสกุลนี้เดิมอยู่ในวงศ์ SCROPHULARIACEAE ทั่วโลกพบ 36 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว เป็นพืชเบียนหรือพืชกาฝากที่อาศัยเกาะกินน้ำและอาหารอยู่บนรากไม้อื่นในทุ่งหญ้าป่าสนเขาหรือทุ่งหญ้าที่ชุ่มชื้นสูงในป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700-2,100 เมตร ทางภาคเหนือ และ จ.เลย(ภูกระดึง และภูหลวง)

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน ไต้หวัน เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

62. เต่าร้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota sp.

วงศ์ : PALMACEAE

ผลของเต่าร้าง

เป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์มชนิดหนึ่งที่ยังไม่รู้ชนิด แตกหน่อเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องตั้งตรงสูงชะลูดขึ้นไปได้กว่า 10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่2ชั้น ออกเรียงสลับ(ใบย่อยออกเรียงสลับ) โดยออกหนาแน่นที่ปลายยอด ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมาตามลำต้นและซอกใบคล้ายต้นหมาก

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 14 ชนิด ในเมืองไทยพบ 6 ชนิด

63. มะขามป้อม

ชื่อท้องถิ่น : มั่งลุ่ , มั่งลู่ , สันยาส่า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; กันโตด(เขมร-จันทบุรี) ; กำทวด , กำทอด(ราชบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

วงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ผลของมะขามป้อม

ไม้ยืนต้นผลัดใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม โดยออกเรียงเป็น2แถวในระนาบเดียวกันและใบชิดติดกันจนดูคล้ายใบประกอบ รูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบช่วงโคนกิ่ง ดอกแยกเพศแต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ช่อหนึ่งมีดอกเพศผู้มากกว่าดอกเพศเมีย ขนาดดอก 0.3-0.5 ซม. กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกสีเหลืองนวล สีเขียวอ่อน หรือสีขาวนวล และมีแต้มสีชมพู ไม่มีกลีบดอก คงมีแต่กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ ออกดอกในราวเดือน ม.ค. – เม.ย.

ผลรูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวออกเหลืองค่อนข้างใส เมื่อแก่มีสีเหลืองออกน้ำตาล ภายในผลแบ่งออกเป็น 3-6 พู เนื้อในผลหนาฉ่ำน้ำ ก้านผลมีขนาดสั้นมาก มี 1-6 เมล็ด รูปกลม สีน้ำตาล และแข็ง ออกผลในราวเดือน ก.ย. – ม.ค.

พืชสกุลนี้ย้ายมาจากวงศ์ EUPHORBIACEAE ทั่วโลกพบ 700 ชนิด ในเมืองไทยพบ 36 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในศรีลังกา อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา บอร์เนียว ชวา และหมู่เกาะซุนดาน้อย

64. Peperomia sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peperomia sp.

วงศ์ : PIPERACEAE

Peperomia sp.

Peperomia sp.

              เป็นไม้ล้มลุกอิงอาศัยยังไม่รู้ชนิด ลำต้นรูปทรงกระบอก มีทั้งตั้งตรง ทอดเลื้อยแล้วชูยอด หรือเลื้อย แตกกิ่งก้านที่โคนต้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หลังใบมีขนประปราย

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบกว่า 1,600 ชนิด ในเมืองไทยพบกว่า 20 ชนิด

65. Peperomia sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peperomia sp.

วงศ์ : PIPERACEAE

Peperomia sp.

              เป็นไม้ล้มลุกอิงอาศัยยังไม่รู้ชนิด ลำต้นรูปทรงกระบอก มีทั้งตั้งตรง ทอดเลื้อยแล้วชูยอด หรือเลื้อย แตกกิ่งก้านที่โคนต้น ใบเดี่ยว ออกเป็นวง รูปไข่แกมค่อนข้างกลม ผิวเกลี้ยง ปลายใบเว้าตื้นเล็กน้อย

66. หญ้าหนอง

ชื่อท้องถิ่น : หญ้าหนวดเสือ(นครราชสีมา) ; หญ้าลูกน่อง(ปราจีนบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heteropogon triticeus (R.Br.) Stapf ex Craib

วงศ์ : POACEAE

หญ้าหนอง

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ลำต้นอ้วนและแข็ง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกตามข้อ รูปดาบและแบน ออกดอกเป็นช่อกระจะตามปลายยอด บางครั้งพบออกตามซอกใบ กลีบดอกลดรูปจนไมมี ดอกแยกเพศแต่อยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศเมียอยู่ตอนบนของช่อดอก ส่วนดอกเพศผู้อยู่ด้านล่างของช่อดอก ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – มี.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ6ชนิด ในไทยพบ2ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นอยู่ตามที่ลาดชันของภูเขา ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี และออสเตรเลีย

67. เนียมนกเขา

ชื่อท้องถิ่น : หมากดิบน้ำค้าง(ตราด)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salomonia cantoniensis Lour.

วงศ์ : POLYGALACEAE

เนียมนกเขา

เนียมนกเขา

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปหัวใจ รูปกลม หรือคล้ายรูปสามเหลี่ยมกว้าง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็กเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นจำนวนมาก โดยดอกจะเริ่มทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ ดอกสีชมพู หรือสีชมพูอมม่วง ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 5 ชนิด ในเมืองไทยพบทั้ง 5 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามถนนริมทาง พื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทุ่งหญ้าทั่วไป ตลอดจนพื้นที่โล่งที่ชื้นแฉะบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ภูมิภาคมลายู และฟิลิปปินส์

68. ผักไผ่น้ำ

ชื่อท้องถิ่น : ผักบังใบ(ภาคเหนือ) ; พญาดง , เอื้องเพ็ดม้า(ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persicaria chinensis (L.) H. Gross

วงศ์ : POLYGONACEAE

ผักไผ่น้ำ

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อกระจุกและแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกสีขาว สีขาวอมชมพู จนถึงสีชมพูแกมขาว ออกดอกตลอดปี มีมากในราวเดือน ธ.ค. – ม.ค. ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปเกือบกลม สีน้ำเงินเข้ม หรือสีดำ

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 71 ชนิด ในเมืองไทยพบ 24 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นที่โล่งบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

พบในพื้นที่เขตฯอมก๋อย ตามเส้นทางเดินจากจุดจอดรถจนถึงบนสันดอยม่อนจอง

แพร่กระจายในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน จีน ญี่ปุ่น เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

69. ตาไก่ใบกว้าง

ชื่อท้องถิ่น : ก้างปลาดง , ตับปลา , ลังกาสา(เชียงใหม่) ; ประดงนก(สุโขทัย) ; ตีนจำโคก(เลย) ; ลังกาสาขาว(ตราด) ; จ้ำเครือ(ภาคกลาง) ; ตาเป็ดหิน(ชุมพร) ; ตาไก่(สุราษฎร์ธานี) ; ตาเป็ดตาไก่(นครศรีธรรมราช) ; มาตาอาแย(มลายู-ยะลา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia crenata Sims

วงศ์ : PRIMULACEAE

ผลของตาไก่ใบกว้าง

ผลของตาไก่ใบกว้าง

ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปรีแกมรูปใบหอก รูปใบหอกแคบ หรือรูปใบหอกกลับ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่งก้าน ตามซอกใบจะออกดอกเป็นช่อซี่ร่มขนานไปกับพื้น ส่วนตามปลายกิ่งก้านเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาว หรือสีขาวอมชมพู บางครั้งพบสีชมพู จนถึงสีม่วงอมชมพู ออกดอกในราวเดือน พ.ค. – ต.ค. ผลรูปค่อนข้างกลม ขนาด 0.5-0.8 ซม. ผลสีแดงสด มีเมล็ดเดียว ออกผลในราวเดือน ต.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 450 ชนิด ในเมืองไทยพบ 72 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบตามป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-2,400 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย จีนตอนใต้ เกาหลี ญี่ปุ่น เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม ภูมิภาคมลายู และฟิลิปปินส์

70. แก้มขาว

ชื่อท้องถิ่น : พอแต(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ; กำเบ้อ , ผีเสื้อ(เพชรบูรณ์) ; กะเบ้อขาว(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mussaenda sanderiana Ridl.

วงศ์ : RUBIACEAE

แก้มขาว

ไม้พุ่มรอเลื้อย เมื่อต้นเติบโตสูงเต็มที่ก็จะทานน้ำหนักกิ่งก้านและใบไม่ไหว ทำให้กิ่งก้านราบลู่ลงกับพื้นหรือพาดพิงไปตามต้นไม้อื่นจนดูคล้ายไม้เลื้อย ซึ่งทอดยาวไปได้ไกล ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปดาบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้นๆตามปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก แต่จะทยอยออกดอกบานทีละ 2-4 ดอก ขนาดดอก 1 ซม. ดอกสีเหลือง หรือสีส้ม ดอกเป็นรูปหลอดคล้ายแจกันทรงสูง ปลายแยกออกเป็น5กลีบคล้ายรูปดาว โคนกลีบเลี้ยงเรียวแคบดูคล้ายก้านและเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น5แฉก ซึ่ง4แฉกมีขนาดเล็กและปลายแหลม อีกแฉกหนึ่งขยายใหญ่เป็นรูปป้อมหรือรูปรี สีขาว ดูคล้ายใบประดับหรือใบต่างดอกซึ่งดูเด่นสะดุดตา ออกดอกตลอดปี

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 160 ชนิด ในเมืองไทยพบประมาณ 20 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามข้างทางที่ชุ่มชื้นหรือชายป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 400-1,300 เมตร ทั่วทุกภาค โดยพบมีมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

71. หญ้าลูกข้าว

ชื่อท้องถิ่น : กระดุมใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spermacoce ocymoides Burm.f.

วงศ์ : RUBIACEAE

หญ้าลูกข้าว

หญ้าลูกข้าว

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก รูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นรูปครึ่งวงกลม ดอกสีขาว ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ธ.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบกว่า 280 ชนิด ในเมืองไทยพบ 7 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นอยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม สนามหญ้า พื้นที่สาธารณะ ตลอดจนพื้นดินปนทรายหรือลานหินบนภูเขาสูงทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

72. วาสุกรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Viola pilosa Blume

วงศ์ : VIOLACEAE

วาสุกรี

วาสุกรี

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ลำต้นสั้นมากหรือไร้ลำต้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุกแทงขึ้นมาจากเหง้า รูปไข่ หรือรูปไข่แคบ ออกดอกเดี่ยวแทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกสีม่วง สีค่อนข้างม่วง หรือสีขาว ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ก.พ.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบกว่า 550 ชนิด ในเมืองไทยพบ 15 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบตามริมถนน ทุ่งหญ้า ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ

แพร่กระจายในอัฟกานิสถาน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

73. หญ้าหนูต้น

ชื่อท้องถิ่น : ว่านมีดยับ(ภาคเหนือ) ; มะพร้าวป่า , ศรีคันไชย(เชียงใหม่) ; โก่กำแล่น , โก่กำหลั่น , ไก่กำแล่น(ชัยภูมิ) ; ลำพัน(จันทบุรี) ; หอมแดง(ภาคกลาง) ; หญ้าหนู(ระนอง-ปัตตานี) ; ซีบะ , เซียอ๊ะ(มลายู-ปัตตานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianella ensifolia (L.) DC.

วงศ์ : XANTHORRHOEACEAE

หญ้าหนูต้น

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โดยออกเป็นกระจุกบริเวณโคนต้น รูปดาบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและปลายยอด ดอกสีขาวนวล หรือสีขาวแกมม่วง ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – ธ.ค. บางครั้งพบออกดอกนอกฤดูกาลในราวเดือน พ.ค. – มิ.ย. ผลรูปกลม ขนาด 0.8 ซม. สีเขียว ผลแก่สีม่วงเข้มหรือสีม่วงอมน้ำเงิน มี3พู เมล็ดรูปรี ปลายค่อนข้างแหลม

ผลของหญ้าหนูต้น

พืชสกุลนี้ย้ายมาจากวงศ์ LILIACEAE ทั่วโลกพบ 44 ชนิด ในเมืองไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

74. Xyris sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xyris sp.

วงศ์ : XYRIDACEAE

Xyris sp.

Xyris sp.

Xyris sp.

เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีสกุลหญ้าบัวหรือสกุลกุงที่ยังไม่รู้ชนิด ขึ้นอยู่เป็นกอคล้ายต้นหญ้า มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุกบริเวณโคนต้นคล้ายใบหญ้า ออกดอกเป็นช่อเชิงลดหลายช่อ แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกบานวันละดอกเฉพาะช่วงที่มีแสงแดดจัด และบานเพียงวันเดียวก็จะเหี่ยวและร่วงหล่น โดยดอกจะโผล่ออกมาตามซอกกาบใบประดับจากโคนไปสู่ปลายช่อ ดอกสีเหลืองสด

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 280 ชนิด ในเมืองไทยพบ 17 ชนิด

75. ว่านเพชรม้า

ชื่อท้องถิ่น : ว่านไฟป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma stenochila Gagnep.

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ผลของว่านเพชรม้า

ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบซ้อนทับรวมตัวกันแน่น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ออกใบในช่วงฤดูฝน และเหี่ยวเฉาในช่วงปลายฤดูหนาว ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกสีเหลือง ออกดอกในราวเดือน ก.ค. – พ.ย.

พืชสกุลนี้ปัจจุบันได้รวมสกุล Smithatris และสกุล Stahlianthus เข้าไว้ด้วยกัน ทั่วโลกพบ 120 ชนิด ในเมืองไทยการพบ 44 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 220-1,600 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

แพร่กระจายในไทย และกัมพูชา

76. ตาเหินไหว

ชื่อท้องถิ่น : สะเหิน , สะเหินตัวผู้(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedychium ellipticum Buch.-Ham. ex Sm.

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ผลอ่อนของตาเหินไหว

ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบซ้อนทับรวมตัวกันแน่น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกดอกเป็นช่อเชิงลดและแยกแขนงสั้นๆตามปลายยอด มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก รูปดอกดูคล้ายดอกกล้วยไม้ ดอกสีขาว หรือสีขาวครีม ออกดอกในราวเดือน มิ.ย. – ก.ย. บางครั้งพบออกดอกนอกฤดูกาลในราวเดือน ก.พ. – เม.ย. ผลแก่แตกออกเป็น3เสี่ยง มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก หุ้มด้วยเนื้อสีแดง ออกผลในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

ผลแห้งแตกของตาเหินไหว

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 50 ชนิด ในไทยพบประมาณ 28-30 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามพื้นที่ชุ่มชื้นและริมผา บางครั้งพบอิงอาศัยตามไม้ใหญ่ที่มีมอสส์ปกคลุม หรือตามซอกหินที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700-1,800 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก เมียนมาร์ และไทย


กล้วยไม้


มีทั้งหมด 6 ชนิด เน้นเฉพาะที่พบดอก หรือผลที่เด่นสะดุดตา โดยข้อมูลต่อไปนี้จะจัดเรียงลำดับตามวงศ์ สกุล และชนิด

1. ว่านพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthogonium gracile Wall. ex Lindl.

วงศ์ย่อย : EPIDENDROIDEAE

วงศ์ : ORCHIDACEAE

ว่านพร้าว

ว่านพร้าว

ลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นรูปหัวแบบเผือก ต้นหนึ่งมี 2-3 ใบ รูปแถบแบบพัดจีบ ทิ้งใบร่วงหล่นก่อนออกดอก และจะแตกใบอีกครั้งในช่วงฤดูฝน ออกดอกเป็นช่อยาวและตั้งตรงแทงขึ้นมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ขนาดดอก 1 ซม. ดอกสีขาว สีขาวอมชมพู สีชมพู หรือสีม่วง ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – พ.ย.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบเพียงชนิดเดียว เป็นกล้วยไม้ดินที่พบขึ้นอยู่ตามพื้นป่าดิบเขาและป่าสนเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000-1,600 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในเทือกเขาหิมาลัย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. แส้ม้าสยาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceratostylis siamensis Rolfe ex Seid.

วงศ์ย่อย : EPIDENDROIDEAE

วงศ์ : ORCHIDACEAE

แส้ม้าสยาม

เป็นลำลูกกล้วยที่ลดรูปเหลือเป็นข้อสั้นๆ โดยออกเป็นกระจุกแน่น ต้นหนึ่งมี 1 ใบ รูปขอบขนานแกมรูปแถบ ออกดอกเดี่ยวตามปลายยอด ขนาดดอก 0.4-0.5 ซม. ดอกสีครีมหรือสีขาว และมีเส้นสีแดงหรือสีม่วงอมแดงพาดตามยาว 3-5 เส้น ปากดอกรูปรี สีเหลืองหม่น ออกดอกในราวเดือน ต.ค. – พ.ย.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 147 ชนิด ในเมืองไทยมีรายงานการพบประมาณ 6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบอิงอาศัยตามต้นไม้ในป่าสนเขาและป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,300 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

แพร่กระจายในไทย ลาว และเวียดนาม อนึ่งชนิดนี้พบครั้งแรกในเมืองไทยในปี พ.ศ.2468

3. เอื้องกระเจี้ยง

ชื่อท้องถิ่น : เอื้องกว่าง(ภาคเหนือ) ; เอื้องศรีเที่ยง , เอื้องสีเที่ยง(ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium amplum Lindl.

วงศ์ย่อย : EPIDENDROIDEAE

วงศ์ : ORCHIDACEAE

เอื้องกระเจี้ยง

เอื้องกระเจี้ยง

เอื้องกระเจี้ยง

เป็นลำลูกกล้วยรูปไข่ หรือรูปรี ต้นหนึ่งมี 2 ใบ รูปขอบขนาน รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ออกดอกเดี่ยวตามปลายยอด ขนาดดอก 4-8 ซม. กลิ่นหอมมาก ดอกบานทนนานราว1สัปดาห์ ดอกบานแรกเริ่มมีสีเหลืองอมน้ำตาลและมีจุดประหรือขีดสีน้ำตาลแดง สีน้ำตาลแกมม่วงเข้ม สีน้ำตาลเข้ม สีแดงเข้ม หรือสีม่วงอยู่หนาแน่น ต่อมาสีของดอกจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลอมแดงในวันถัดๆไป ปากดอกรูปขอบขนานหรือรูปรีแผ่กว้างสีน้ำตาลแดงเข้มเกือบดำ หรือสีม่วงเข้มจนเกือบดำ ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ม.ค.

พืชชนิดนี้เดิมอยู่ในสกุล Epigeneium พืชสกุล Dendrobium ทั่วโลกพบ 1,575 ชนิด ในเมืองไทยพบ 165 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบอิงอาศัยตามโขดหินหรือลานหินที่ชุ่มชื้น ขอนไม้ล้ม และต้นไม้ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในแคว้นสิกขิม(อินเดีย) เนปาล ภูฎาน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. เอื้องเย้าลม

ชื่อท้องถิ่น : หวายปากจัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium strongylanthum Rchb.f.

วงศ์ย่อย : EPIDENDROIDEAE

วงศ์ : ORCHIDACEAE

ดอกตูมของเอื้องเย้าลม

ลำลูกกล้วยรูปแท่งดินสอกลม เรียวยาว ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี มักทิ้งใบร่วงหล่นก่อนออกดอก ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามข้อตอนปลาย ต้นหนึ่งมีหลายช่อๆละกว่า 10 ดอก ขนาดดอก 0.8-1.4 ซม. ดอกสีเหลืองอ่อมแกมเขียว จนถึงสีน้ำตาลอมม่วง ปากดอกสีม่วงเข้ม ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ต.ค.

พบอิงอาศัยตามต้นไม้ในป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ขึ้นไป ทางภาคเหนือ

5. นางอั้วน้อย

ชื่อท้องถิ่น : ดอกไม้ดิน , เอื้องข้าวตอก , เอื้องดิน(ภาคเหนือ) ; ว่านข้าวเหนียว(นครราชสีมา) ; ตะปันเครก(เขมร-จันทบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria dentata (Sw.) Schltr.

วงศ์ย่อย : ORCHIDIOIDEAE

วงศ์ : ORCHIDACEAE

นางอั้วน้อย

มีหัวหรือเหง้าใต้ดินรูปทรงกระบอก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ต้นหนึ่งมี 3-5 ใบ ออกใบในช่วงฤดูฝน รูปรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ทิ้งใบร่วงหล่นในช่วงฤดูหนาว ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งตรงตามปลายยอดดูเป็นพุ่มยอดแหลม ช่อละ 8-18 ดอก ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ ขนาดดอก 1-2 ซม. ดอกสีขาวบริสุทธิ์ สีขาวนวล หรือสีเขียวอ่อน ออกดอกในราวเดือน ส.ค. – ต.ค.

พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบ 600 ชนิด ในเมืองไทยพบ 45 ชนิด สำหรับชนิดนี้เป็นกล้วยไม้ดินล้มลุกมีอายุหลายปี พบขึ้นตามพื้นดินที่ค่อนข้างชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าทุ่ง ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,600 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในเทือกเขาหิมาลัยทางตะวันตกเฉียงใต้ อินเดีย จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

6. นางอั้วกลีบเดี่ยว

ชื่อท้องถิ่น : ดอกนางนวล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria malintana (Blanco) Merrill

วงศ์ย่อย : ORCHIDIOIDEAE

วงศ์ : ORCHIDACEAE

นางอั้วกลีบเดี่ยว

นางอั้วกลีบเดี่ยว

มีหัวหรือเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ต้นหนึ่งมี 3-4 ใบ ออกใบในช่วงฤดูฝน รูปใบหอกจนถึงรูปแถบ ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งตรงตามปลายยอด ช่อละ 5-10 ดอก หรือมากกว่า ขนาดดอก 1-1.5 ซม. ดอกสีขาวบริสุทธิ์ ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – พ.ย.

เป็นกล้วยไม้ดินล้มลุกมีอายุหลายปี พบขึ้นตามทุ่งหญ้า ป่าเต็งรัง และตามพื้นดินที่ค่อนข้างชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม ไต้หวัน และฟิลิปปินส์


เฟิน


มีน่าสนใจอยู่ 2 ชนิด โดยข้อมูลต่อไปนี้จะจัดเรียงลำดับตามวงศ์ สกุล และชนิด

1. เฟินก้านดำหางชิงช้า

ชื่อท้องถิ่น : กูดหูควาก , กูดผา(ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adiantum lunulatum Burm. f.

วงศ์ : ADIANTACEAE (บางตำราอยู่ในวงศ์ PTERIDACEAE)

เฟินก้านดำหางชิงช้า

              มีเหง้าสั้นๆอยู่ใต้ดิน ต้นหนึ่งมี 2-3 ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก1ชั้น ก้านใบประกอบยาวได้ถึง 20 ซม. สีน้ำตาลเข้มอมดำ ใบย่อยออกเรียงสลับ รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว หรือรูปพัด ใบมักย้อยห้อยลง ปลายใบที่แตะผิวดินจะสร้างเป็นต้นใหม่ได้

เฟินสกุลนี้ทั่วโลกพบ 200 ชนิด ไทยพบ 13 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นทั่วไปตามพื้นราบริมลำห้วย ตลอดจนบนภูเขาที่ชุ่มชื้นสูง ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก

2. เฟินเถานาคราช

ชื่อท้องถิ่น : เกล็ดนาคราช(พิษณุโลก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oleandra musifolia (Blume) C. Presl

วงศ์ : OLEANDRACEAE

เฟินเถานาคราช

              เป็นเฟินอิงอาศัย มีเหง้าทอดเลื้อยยาว ผิวมีเกล็ดรูปใบหอก และมีรากค้ำหรือรากเขย่ง ใบเดี่ยว ออกเป็นกลุ่มๆละ 2-4 ใบ รูปใบหอก รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปแถบ ยาว 12-80 ซม. ปลายใบเรียวแหลมยาว ขอบใบเรียบ โคนใบแคบ แผ่นใบบาง สีเขียวอ่อน และมีขนประปราย เส้นกลางใบเป็นสันเห็นชัดที่ท้องใบ อับสปอร์รูปไตและมีเยื่อคลุม เกิดเป็นแถวไม่เป็นระเบียบใกล้เส้นกลางใบบริเวณท้องใบ อินดูเซียไม่มีขน ก้านใบยาว 5-20 ซม. มีขนและเกล็ดหนาแน่น

เฟินสกุลนี้ทั่วโลกพบ 19 ชนิด ไทยพบ 4 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามโขดหินหรือบนคาคบไม้ตามป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000-1,500 เมตร ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในศรีลังกา จีน ไทย ลาว เวียดนามตอนเหนือ และภูมิภาคมาเลเซีย


เห็ด


บันทึกภาพมาได้เพียง 8 ชนิด โดยข้อมูลต่อไปนี้จะจัดเรียงลำดับตามวงศ์ สกุล และชนิด

1. Chlorophyllum sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chlorophyllum sp.

วงศ์ : AGARICACEAE

Chlorophyllum sp.

เป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดหัวกรวด ไม่รู้ชนิด

2. Amanita sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amanita sp.

วงศ์ : AMANITACEAE

Amanita sp.

Amanita sp.

เป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดระโงก หรือเห็ดไข่ห่าน ไม่รู้ชนิด เป็นเห็ดที่มีถ้วยรองก้าน หรือมีขั้นบันไดที่โคน

3. เห็ดขมิ้นน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Craterellus aureus Berk. & Curt.

วงศ์ : CANTHARELLACEAE

เห็ดขมิ้นน้อย

หมวกเห็ดสีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองอมส้ม กว้างประมาณ 0.5-3 ซม. หมวกเห็ดบานออกเป็นรูปปากแตร ขอบหมวกบิดงอเป็นคลื่น กลางหมวกบุ๋มลึกลงไป ด้านบนมีผิวเรียบ ด้านล่างสีเหลืองอ่อน ผิวเรียบหรือมีสันนูนเล็กน้อย ก้านดอกรูปทรงกระบอก ยาว 2-4 ซม. เนื้อในสีเหลืองอ่อน หมวกเห็ดอยู่กึ่งกลางก้านดอกหรือค่อนไปข้างหนึ่ง พบขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรืออยู่เป็นกลุ่มใหญ่ตามพื้นป่าในป่าผลัดใบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไทย มีรายงานว่าทานได้ สำหรับต่างประเทศนั้นมีรายงานว่าพบในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน

4. Ganoderma sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma sp.

วงศ์ : GANODERMATACEAE

Ganoderma sp.

Ganoderma sp.

เป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดขวาน เห็ดหิ้ง หรือเห็ดหลินจือ ไม่รู้ชนิด ดอกเห็ดไม่มีก้านหรือมีก้าน มักพบขึ้นบนตอไม้หรือต้นไม้ น้อยมากที่จะพบตามพื้นดิน

5. Cyathus sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyathus sp.

วงศ์ : NIDULARIACEAE

Cyathus sp.

เป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดรังนก ไม่รู้ชนิด ดอกเห็ดมีลักษณะคล้ายรังนก เมื่อยังอ่อนอยู่ รังจะมีเยื่อบางปิด เมื่ออายุมากขึ้น เยื่อบางจะขาดออก เปิดให้เห็นไข่ภายใน ซึ่งต้องผ่าไข่จึงจะเห็นสปอร์อยู่ภายใน อาจพบดอกเห็ดขึ้นอยู่เดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มมากมาย มักพบอาศัยอยู่กับเปลือกไม้ หรือท่อนไม้

6. Pleurotus sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sp.

วงศ์ : PLEUROTACEAE

Pleurotus sp.

Pleurotus sp.

เป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดนางรม ไม่รู้ชนิด

7. เห็ดหล่มม่วงแดง

ชื่อท้องถิ่น : เห็ดหล่มสีม่วงน้ำแป้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Russula vinosa Lindbl

วงศ์ : RUSSULACEAE

เห็ดหล่มม่วงแดง

หมวกเห็ดสีม่วงเข้ม หรือสีม่วงเข้มอมแดง กว้าง 4-10 ซม.  ผิวเรียบ กลางดอกบุ๋มเล็กน้อยและมีสีเข้มกว่า ขอบหมวกเรียบ ครีบติดก้านดอก ครีบกว้างและเรียงถี่ สีขาวจนถึงสีครีม เนื้อดอกหมวกหนา แต่เปราะหักง่าย ก้านดอกรูปทรงกระบอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 4-6 ซม. สีขาว ผิวเรียบ เนื้อในแน่นสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา สปอร์เกือบกลม สีขาว พบขึ้นตามพื้นป่าในป่าผลัดใบ มีรายงานว่าทานได้

8. Russula sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Russula sp.

วงศ์ : RUSSULACEAE

Russula sp.

Russula sp.

เป็นเห็ดในสกุลเดียวกับเห็ดน้ำหมาก ไม่รู้ชนิด ดอกเห็ดเปราะแตกเป็นเสี่ยงง่าย เมื่อบี้หรือโยนลงพื้น สปอร์มีสีขาว


แมง/แมลง


บันทึกภาพได้ 28 ชนิด โดยข้อมูลต่อไปนี้จะจัดเรียงลำดับตามวงศ์ สกุล และชนิด

1. ตั๊กแตนหนวดสั้น

วงศ์ : ACRIDIDAE

ตั๊กแตนหนวดสั้น

เป็นตั๊กแตนหนวดยาวที่ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลว่าอยู่สกุลใดและชนิดใด

2. Barsine sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barsine sp.

วงศ์ : ARCTIIDAE

Barsine sp.

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อหนอนบุ้ง หรือมอธผีเสื้อลายเสือ ไม่รู้ชนิด

3. Lyclene sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lyclene sp.

วงศ์ : ARCTIIDAE

Lyclene sp.

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อหนอนบุ้ง หรือมอธผีเสื้อลายเสือ ไม่รู้ชนิด

4. มอธหนอนห่อใบข้าว

ชื่อสามัญ : Grass Leafroller ; Leaf Folder Rice ; Leaf Roller Rice ; Leaffolder Rice ; Rice Leaf Roller

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cnaphalocrocis medinalis Guenée, 1854

วงศ์ : CRAMBIDAE

มอธหนอนห่อใบข้าว

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อหนอนกอ มีขนาด 1.6 ซม.(วัดจากมุมปลายปีกซ้าย-ขวาของปีกคู่หน้า) สีน้ำตาลอ่อน ปีกสีเหลืองปนน้ำตาลและมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 2-3 แถบ พาดตามขวางปีกทั้ง2คู่ มักบินเข้าหาแสงไฟฟ้าในเวลากลางคืน

ไข่รูปค่อนข้างแบน แต่นูนเล็กน้อย สีขาวปนเหลือง อายุไข่ 4-6 วัน ก็จะฟักตัวเป็นหนอน สีขาวใส หัวสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหลังจากมันเริ่มกินใบข้าว ตัวหนอนปกติจะมีไหมหุ้มตัว ตัวหนอนในระยะแรกกัดกินผิวใบอ่อนๆ แต่ไม่ห่อใบข้าว การห่อใบโดยการโยงไยไหมจากริมขอบใบทั้งสองข้างเข้าหากันเป็นลักษณะหลอด ตัวหนอนกัดกินใบข้าวจะเห็นใบข้าวที่ถูกทำลายเหลือแต่ผิวใบเป็นทางสีขาวๆ กระจายไปทั่วแปลงข้าว หนอนมีอายุ25-30 วัน จะเข้าดักแด้อยู่ในใบที่ห่อนั้นโดยมีเส้นไหมหุ้มตัวไว้ ระยะดักแด้ 4-8 วัน

ผีเสื้อกลางคืนชนิดนี้เป็นศัตรูข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง

พบได้ทั่วไปตามนาข้าว ไร่ข้าวโพด และไร่ข้าวฟ่าง ตลอดจนตามป่าเขา ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

5. ตั๊กแตนกิ่งไม้

วงศ์ : DIAPHAROMERIDAE

ตั๊กแตนกิ่งไม้

เป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ที่ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลว่าอยู่สกุลใดและชนิดใด

6. มดก้นห้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichoderus sp.

วงศ์ : DOLICHODERINAE

มดก้นห้อย

มดก้นห้อย

เป็นมดก้นห้อยที่ยังไม่รู้ชนิด ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ร่วมกับเพลี้ยต่างๆ บางครั้งอาจพบหาอาหารตรมพื้นดิน มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ พบได้ทั่วไปตามป่า โดยพบมากในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว

มดสกุลนี้จะใช้เศษซากพืชแห้งกัดเป็นชิ้นขนาดเล็กผสมกับน้ำลาย เพื่อสร้างรังตามใบไม้หรือบริเวณยอดของต้นไม้ขนาดเล็ก เป็นรังแบบไม่ซับซ้อน

7. มดตะลาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camponotus sp.

วงศ์ : FORMICINAE

นางพญาของมดตะลาน

เป็นมดตะลานหรือมดไม้ยักษ์ที่ยังไม่รู้ชนิด มดสกุลนี้หาอาหารในดินบริเวณโคนต้นไม้ ตอไม้ ขอนไม้ หรือตามพื้นดินในป่า จัดเป็นมดจำเพาะถิ่นในป่าดิบของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมดที่ตื่นตัวมากและส่วนมากออกหากินเดี่ยวๆ ปกติออกหากินในเวลากลางคืน แต่ก็มีโอกาสพบในเวลากลางวันได้ เป็นมดที่ชอบกินน้ำหวาน แต่ก็กินแมลงได้เช่นกัน ค่อนข้างฉลาดในการล่าเหยื่อ มีนิสัยดุร้าย กัดเจ็บมากจนทำให้เลือดไหลได้ กรามมีขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก

สร้างรังในดินตามโคนต้นไม้ ตอไม้ หรือขอนไม้ เป็นรังขนาดใหญ่และซับซ้อนมาก

8. เพลี้ย

วงศ์ : FULGORIDAE

เพลี้ย

เป็นเพลี้ยที่ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลว่าอยู่สกุลใดและชนิดใด

9. GEOMETRIDAE

วงศ์ : GEOMETRIDAE

GEOMETRIDAE

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อหนอนคืบ เท่าที่ดูจากลักษณะ คาดว่าน่าจะเป็นสกุล Mesocolpia หรือสกุล Pasiphila ไม่รู้ชนิด

10. ผีเสื้อฟ้าพุ่มขอบดำ

ชื่อสามัญ : Margined Hedge Blue

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celatoxia marginata marginata de Nicéville, 1884

วงศ์ย่อย : POLYOMMATINAE

วงศ์ : LYCAENIDAE

ผีเสื้อฟ้าพุ่มขอบดำ ตัวเมีย

เป็นผีเสื้อกลางวันที่ยังไม่มีรายละเอียดข้อมูล คงรู้แต่ว่าผีเสื้อสกุลและชนิดนี้แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ Celatoxia marginata marginata ชนิดนี้พบทางอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน ไต้หวัน เมียนมาร์ ตอนเหนือของไทย ลาว และตอนเหนือของเวียดนาม และ Celatoxia marginata splendens Butler, 1900 ชนิดนี้พบทางคาบสมุทรมลายู

11. Pardosa sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pardosa sp.

วงศ์ : LYCOSIDAE

Pardosa sp.

เป็นแมงมุมหมาป่า ไม่รู้ชนิด มักอาศัยตามพื้นป่า

12. Orvasca sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orvasca sp.

วงศ์ : LYMANTRIIDAE

Orvasca sp.

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อหนอนบุ้งหูแดง หรือมอธผีเสื้อหนอนหางเหลือง ไม่รู้ชนิด

13. แมงมุมใยทองท้องม่วง

ชื่อสามัญ : Purple Orb-weaver Spider

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephila clavata L. Koch, 1878

วงศ์ : NEPHILIDAE

แมงมุมใยทองท้องม่วง ตัวเมีย

เพศผู้มีขนาด 0.7-1 ซม. ส่วนเพศเมียมีขนาด 1.7-2.5 ซม. หัวและอกปกคลุมด้วยขนสีเหลืองอ่อน พื้นที่ส่วนหัวต่ออกเป็นรูปตัว“วี”(V) ขาสีดำ มีแถบสีทองรอบขา ท้องทรงกระบอก ท้ายตัด ส่วนหลังมีแถบสีเหลือง5คู่เรียงตามแนวยาว ท้องและด้านข้างมีสีม่วงแดง ลักษณะการชักใยยุ่งเหยิงกว่างแมงมุมใยทองชนิดอื่น โดยชักใยระหว่างไม้พุ่มเตี้ย

ทั่วโลกพบแมงมุมวงศ์นี้ 4 สกุล(ได้แก่ สกุลClitaetra , สกุล Herennia , สกุล Nephila และสกุล Nephilengys) 44 ชนิด สำหรับสกุลนี้มีรายงานการพบในไทย 4 ชนิด(ได้แก่ Nephila antipodiana (Walckenaer, 1842) ; N. clavataL. Koch, 1878 ; N. kuhlii Doleschall, 1859 และ N. pilipes (Fabricius, 1793)) ซึ่งชนิดนี้พบอาศัยในสวนผลไม้ ชายป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขา ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แพร่กระจายในอินเดีย จีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เมียนมาร์ และไทย

อนึ่งวงศ์นี้เคยถูกจัดอยู่ในวงศ์ ARANEIDAE , วงศ์ ARGIOPIDAE และวงศ์ TETRAGNATHIDAE ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ได้ย้ายมาอยู่ในวงศ์ NEPHILIDAE นับเป็นวงศ์ขนาดเล็กกระจายในเขตร้อนในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกา

14. ผีเสื้อเคาท์เทา

ชื่อสามัญ : Grey Count

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tanaecia lepidea Butler, 1868

วงศ์ย่อย : LIMENITIDINAE

วงศ์ : NYMPHALIDAE

ผีเสื้อเคาท์เทา ตัวผู้

ผีเสื้อเคาท์เทา ตัวผู้

ขนาด(วัดจากมุมปลายปีกซ้าย-ขวา ของปีกคู่หน้า) 6.5-8 ซม.

ปีกด้านบน(หรือหลังปีก)ของเพศผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลไหม้ ขอบปีกด้านข้างของปีกทั้งสองคู่มีแถบสีเทาเกือบขาว แถบนี้บนปีกคู่หลังมีขนาดเกือบครึ่งปีก ส่วนเพศเมียมีลักษณะคล้ายเพศผู้ แต่จะมีแต้มสีขาวบริเวณกลางปีกคู่หน้าด้วย

ปีกด้านล่าง(หรือท้องปีก)ทั้งสองเพศมีพื้นปีกสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีแถบสีเทา

แบ่งย่อยออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย ได้แก่ Tanaecia lepidea adustata Fruhstorfer, 1913 ; Tanaecia lepidea cognata Moore, 1859 ; Tanaecia lepidea flaminiaFruhstorfer, 1905 และ Tanaecia lepidea lepidea Butler, 1868

พบอาศัยอยู่ตามป่าไผ่ ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น และป่าดิบแล้ง ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

15. Ramulus sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ramulus sp.

วงศ์ย่อย : CLITUMINAE

วงศ์ : PHASMATIDAE

Ramulus sp. ตัวผู้

Ramulus sp. ตัวผู้

เป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ที่ยังไม่รู้ชนิด

16. ผีเสื้อหนอนกาฝากเหลือง

ชื่อท้องถิ่น : ผีเสื้อหนอนกาฝากเหลืองขอบดำ

ชื่อสามัญ : Yellow Jezebel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Delias agostina agostina (Hewitson, 1852)

วงศ์ย่อย : PIERINAE

วงศ์ : PIERIDAE

ผีเสื้อหนอนกาฝากเหลือง

เป็นผีเสื้อกลางวัน มีขนาด(วัดจากมุมปลายปีกซ้าย-ขวา ของปีกคู่หน้า) 6.5-7 ซม.

ปีกด้านบน(หรือหลังปีก)ของเพศผู้มีพื้นปีกทั้ง2คู่สีขาว มุมปลายปีกหน้าและขอบปีกด้านนอกของปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาล ส่วนเพศเมียมีพื้นปีกคู่หน้าสีน้ำตาล กลางปีกมีแถบสีขาวจางๆ ปีกคู่หลังบริเวณกลางปีกมีสีเหลืองปนน้ำตาล

ปีกด้านล่าง(หรือท้องปีก)ทั้งสองเพศมีลักษณะเหมือนกัน โดยปีกคู่หน้ามีแถบสีขาวในช่องเส้นปีก เส้นปีกมีสีน้ำตาลเข้ม ปีกคู่หลังมีสีเหลืองจนถึงสีเหลืองเข้ม ไม่มีลวดลาย ขอบปีกด้านข้างสีดำ

ทั่วโลกพบ 5 ชนิดย่อย ได้แก่ D. agostina agostina ; D. agostina annamitica ; D. agostina infumata ; D. agostina johnsoni และ D. agostina orita

 

พบอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ลำห้วย และป่าโปร่ง เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนามตอนเหนือ

17. มวนดำถั่ว

ชื่อสามัญ : Black Bean Bug

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brachyplatys subaeneus Westwood

วงศ์ : PLATASPIDAE

มวนดำถั่ว

มวนดำถั่ว

เป็นมวนที่มีลำตัวกว้าง 0.35-0.45 ซม. ยาว 0.4-0.55 ซม. มีเส้นขวางศีรษะ 2 เส้น สีลำตัวคล้ายกับ B. vahlii มาก คือ ลำตัวสีดำเป็นมัน แต่ชนิดนี้นั้นมีสีเหลืองปนน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างและด้านท้ายของสามเหลี่ยมสันหลัง ส่วนท้องป้อมและสั้น ตัวเต็มวัยผสมพันธุ์กันหลายครั้ง ตัวเมียผสมพันธุ์เสร็จ ประมาณ2อาทิตย์จึงวางไข่ โดยวางเป็นแถว2แถว มีจำนวนประมาณ 20-30 ฟอง บนต้นหรือใบพืชในเวลา 2-3 วัน/ครั้ง

ระยะไข่ 7-9 วัน ระยะตัวอ่อนนานถึง 2-3 เดือน ตัวอ่อนลอกคราบ5ครั้ง ระยะตัวอ่อนแต่ละวัยประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงตัวเต็มวัยสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ โดยอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและจะหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างกิ่งและไม่ค่อยเคลื่อนไหว

พบอาศัยตามพืชไร่ที่เป็นไม้เลื้อยคลุมดิน และไม้พุ่มเตี้ยๆ ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน ไต้หวัน เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) และมาเลเซีย

18. มดหนามคู่สีเทา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diacamma sp.

วงศ์ : PONERINAE

มดหนามคู่สีเทา

เป็นมดหนามคู่สีเทาที่ยังไม่รู้ชนิด รู้แต่ว่าสร้างรังอยู่ในดินตามโคนต้นไม้ ขอนไม้ หรือใต้ก้อนหิน ปากทางเข้ารังเป็นรูขนาดใหญ่และมีเศษซากพืชผสมอยู่ด้วย เป็นมดที่มีโอกาสกัดหรือต่อยคนได้ มีพืษแรง ทำให้เกิดบวมบริเวณที่ถูกต่อย

19. Ectrychotes comottoi Lethierry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ectrychotes comottoi Lethierry, 1883

วงศ์ : REDUVIIDAE

Ectrychotes comottoi ระยะตัวอ่อน

เป็นมวนเพชฌฆาตชนิดหนึ่ง มีขนาด 1.2-3 ซม. เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลักษณะเด่นคือมีหัวแคบและยาว ส่วนท้ายของหัวแคบคล้ายคอ จงอยปากมี3ปล้อง และโค้งงอ มีหนวดยาวแบบเส้นด้าย โคนขาคู่หน้า(Femur)มักจะขยายใหญ่ ส่วนขอบของบริเวณกลางส่วนท้องกว้างออก ทำให้ส่วนปีกคลุมไม่มิด สามารถมองเห็นส่วนนี้ได้ชัดเจน

เป็นมวนจำพวกแมลงตัวห้ำที่มีนิสัยดุร้าย ดูดกินของเหลวภายในตัวเหยื่อเป็นอาหาร เช่น หนอนผีเสื้อกลางวัน หนอนผีเสื้อกลางคืน และตั๊กแตนในช่วงที่ลอกคราบใหม่ๆ ด้วยการใช้จงอยปากแทงเหยื่อและปล่อยพิษใส่จนเหยื่อตาย จากนั้นจะดูดกินของเหลวภายในตัวเหยื่อจนแห้งและเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

ช่วงผสมพันธุ์ เพศผู้จะขึ้นเกาะตัวเมีย แล้วใช้ปากกดหัวเพศเมีย พร้อมกับใช้ขาคู่หน้าลูบท้องเพศเมีย หากเพศเมียไม่พร้อมก็จะพยายามหนี ใช้เวลาการผสมพันธุ์นานถึง 45 นาที และอีกราว 13 -25 วัน เพศเมียจึงเริ่มวางไข่

วางไข่ได้ 1-3 ครั้ง แต่ละครั้งใช้ระยะเวลาห่างกัน 10-15 วัน ไข่มีสีเหลือง รวมกันเป็นกลุ่มก้อนและมีสารแข็งห่อหุ้มจำนวน 50-150 ฟอง/1 กลุ่ม ในธรรมชาติมักไข่ตามใบไม้และกิ่งไม้ หลังจากวางไข่ได้ราว 7-27 วัน จึงจะฟักเป็นตัวอ่อน

ตัวอ่อนมี 1-5 ระยะ ลำตัวมีสีแดงหลังลายดำ เมื่อถึงช่วงตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และมีแต้มสีเหลืองหรือสีแดง ในช่วงตัวอ่อนระยะที่3จนถึงตัวเต็มวัยนั้นมีพิษ หากถูกต่อยจะเกิดอาการบวม

พบได้ทั่วไปตามป่าธรรมชาติ มักพบเกาะอยู่ตามพื้นหญ้า และพุ่มไม้เตี้ย โดยพบชุกชุมในช่วงเดือน ก.ย. – พ.ย. และช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย.

20. แมลงนูนเขียว

ชื่อท้องถิ่น : อีนูนเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anomala sp.

วงศ์ย่อย : RUTELINAE

วงศ์ : SCARABAEIDAE

แมลงนูนเขียว ตัวเมีย

เป็นด้วงที่มีสีสีนสวยงามชนิดหนึ่ง แต่ยังไม่รู้ชนิด มีขนาด 2.7-3 ซม. ลำตัวป้อม รูปไข่ หัวเรียว กรามปากและขาแข็งแรง สามารถกัดกินรากพืชและไม้ผุได้ดี

ช่วงระยะไข่ 2-3 สัปดาห์ ช่วงระยะหนอนมีอายุ 6-7 เดือน ช่วงดักแด้ 18 วัน และช่วงตัวเต็มวัย 2-3 เดือน ขณะเป็นตัวอ่อนนั้นเป็นศัตรูพืชกัดกินรากอ่อนของพืชไร่สวน

ช่วงชีวิตมี 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน(หรือหนอน) ระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย ช่วงเป็นหนอนจะมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ส่วนช่วงตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีส่วนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดง ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวดแบบใบไม้ 1 คู่ อาหารของตัวเต็มวัย ได้แก่ ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก(วงศ์ LYTHRACEAE)

เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ ส่วนในเมืองไทยนั้นบางพื้นที่มีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร ด้วยการนำมาคั่ว ตำน้ำพริก หรือแกง

พบอาศัยอยู่ในพื้นดินตามรากต้นไม้ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ทั่วทุกภาค

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์ ไทย ลาว และกัมพูชา

 

21. แมงโหย่ง

ชื่อท้องถิ่น : แมงมุมขายาว , แมงย่องแย่ง

ชื่อสามัญ : Harvestman

แมงโหย่ง

แมงโหย่งอยู่ในอันดับ Opiliones เนื่องด้วยหากมองผิวเผิน แมงโหย่งมีรูปร่างลักษณะและมีขาเดิน 8 ขา คล้ายสัตว์กลุ่มแมงมุม(spiders) ในอันดับ Araneae จึงไม่น่าแปลกที่สัตว์กลุ่มนี้จะถูกเข้าใจว่าเป็นแมงมุม ประกอบกับเป็นกลุ่มสัตว์ที่ส่วนใหญ่หลบซ่อนตัว และไม่ได้พบตามบ้านเรือนทั่วไป จึงยิ่งไม่เป็นที่รู้จัก

แมงโหย่งมีความหลากหลายทางชนิดมากเป็นอันดับ3ในกลุ่มแมง ปัจจุบันทั่วโลกพบประมาณ 6,000 ชนิด รองจากกลุ่มไร(มี 48,000 ชนิด) และแมงมุม(มี 39,000 ชนิด)

ชื่ออันดับ Opiliones ถูกตั้งขึ้นโดยนักสัตววิทยาชาวสวีเดน ชื่อ Karl J. Sundevall ในปี ค.ศ.1833 ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำภาษาละตินว่า“opilio” หมายถึง“คนเลี้ยงแกะ” เนื่องจากแมงโหย่งส่วนใหญ่มีลำตัวเล็กและมีขายาว คนสมัยนั้นจึงมองว่ามีลักษณะคล้ายกับคนเลี้ยงแกะชาวยุโรปสมัยก่อน ที่มักใช้ไม้ต่อเป็นอุปกรณ์เรียกว่า“Stilts” ใช้เดิน เพื่อต่อให้ตัวสูงขึ้นเพื่อความสะดวกในการนับแกะในฝูงขณะนำออกเลี้ยงในทุ่งกว้าง นอกจากนี้บางท้องที่ในยุโรป เช่น ประเทศอังกฤษ ยังเรียกแมงโหย่งว่า“shepherd spiders” ซึ่งเชื่อว่าทุ่งหญ้าใดที่พบแมงโหย่งถือเป็นทุ่งหญ้าที่ดีสำหรับการเลี้ยงแกะด้วย ส่วนคำว่า Harvestmen หมายถึง“ชาวไร่ชาวนา” มีที่มาจากแมงโหย่งมักพบเป็นจำนวนมากในฤดูเก็บเกี่ยว ข้อเท็จจริงก็คือในฤดูเก็บเกี่ยว มีการรื้อไถเพื่อเก็บผลผลิตทางการเกษตร จึงไปรบกวนและทำลายแหล่งหลบซ่อนของแมงโหย่ง ทำให้พบเจอเป็นจำนวนมากนั่นเอง ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งเชื่อว่า ชื่อ Harvestmen นั้น มาจากพฤติกรรมของแมงโหย่งที่มักชูขาเดินคู่หน้าสุดขึ้นลงขณะเคลื่อนที่ ซึ่งปลายขานี้จะงอโค้ง จึงดูเหมือนชาวนาที่ถือเคียวโบกสะบัดไปมาขณะเก็บเกี่ยวพืชนั่นเอง ส่วนชื่อไทยคำว่า“แมงโหย่ง” ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้บัญญัติ และเกิดขึ้นเมื่อใด แต่คำนี้น่าจะมีที่มาจากพฤติกรรมการโหย่งตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว(bobbing)เมื่อถูกรบกวน เพื่อให้ผู้ล่าสับสนถึงตำแหน่งที่แท้จริงของลำตัว

สำหรับแมงโหย่งในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ย่อย GAGRELLINAE วงศ์ SCLEROSOMATIDAE

หากมองเพียงผิวเผิน แมงโหย่งอาจมองดูคล้ายกับแมงมุม แต่หากพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะพบว่าแมงโหย่งนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากแมงมุมถึง 5 ประการ ได้แก่

ประการที่1 เห็นได้ชัดเจน คือ ลำตัวของแมงโหย่ง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัวรวมอก(cephalothorax or prosoma) และส่วนท้อง(abdomen or opisthosoma) จะเชื่อมติดกันเหมือนเป็นส่วนเดียวกัน ซึ่งต่างจากแมงมุมที่2ส่วนดังกล่าวนี้จะถูกเชื่อมด้วยส่วนคอดแคบๆที่เรียกว่า“pedicel” พูดง่ายๆคือแมงโหย่งไม่มีเอวเหมือนแมงมุมนั่นเอง

ประการที่2 ตาของแมงโหย่งมีเพียง 2 ตา ซึ่งบางกลุ่มอาจมีจุดตารับแสงเล็กๆอยู่ แต่มองเห็นไม่ชัดเจน ส่วนกลุ่มแมงมุมจะมีตาจำนวน 6-8 ตา(หรืออาจไม่มีเลยในบางกลุ่ม) เรียงเป็นกลุ่มหรือเป็นแถว

ประการที่3 แมงโหย่งไม่มีอวัยวะที่ใช้สำหรับสร้างใย(Silk Gland) เหมือนในแมงมุม จึงสร้างใยไม่ได้

ประการที่4 แมงโหย่งมีอวัยวะที่สร้างสารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น เรียกว่า“ozopores” ใช้ในการป้องกันตัวและติดต่อสื่อสาร ซึ่งไม่พบในแมงมุม

ประการสุดท้าย คือ แมงโหย่งไม่มีต่อมพิษ(Venom Gland) และเขี้ยว(Cheliceral)ไม่แหลมกลวงเหมือนแมงมุม แต่เปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะคล้ายก้ามหนีบ เพื่อใช้ฉีกอาหารเข้าปาก ซึ่งอวัยวะนี้มีขนาดเล็ก ทู่ ปลายตัน แมงโหย่งจึงไม่สามารถกัดทะลุผิวหนังคนได้ และไม่มีพิษ กล่าวได้ว่าแมงโหย่งไม่มีพิษมีภัยต่อมนุษย์เลยก็ว่าได้

เรื่องพิษนี้ก็มีเกร็ดความเชื่อผิดๆเป็นเรื่องเล่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเชื่อว่าแมงโหย่งนั้นมีพิษรุนแรง ที่มาของเรื่องเล่านี้ก็คือ แมงโหย่งนั้นในบางท้องที่ถูกเรียกว่า“Daddy Longlegs” ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกแมงมุมขายาวในวงศ์ PHOLCIDAE โดยเฉพาะแมงมุมสกุล Pholcus ซึ่งมีขายาวและชอบโหย่งตัวขึ้น-ลงเวลาถูกรบกวนคล้ายแมงโหย่ง ทำให้มีความสับสนและเข้าใจว่าแมงโหย่งเป็นกลุ่มเดียวกับแมงมุมขายาววงศ์นี้ ซึ่งในธรรมชาติกลุ่มแมงมุมขายาววงศ์ PHOLCIDAE เป็นผู้ล่าของแมงมุมแม่ม่าย ซึ่งถือว่ามีพิษรุนแรง จึงอนุมานกันว่าแมงมุมขายาวน่าจะมีพิษรุนแรงกว่าแมงมุมแม่ม่าย ดังนั้นแมงโหย่งซึ่งลักษณะคล้ายแมงมุมขายาวจึงถูกเข้าใจว่ามีพิษรุนแรงไปด้วย ทั้งที่ตามข้อเท็จจริงแล้วแมงมุมขายาวและแมงโหย่งไม่สามารถกัดมนุษย์ได้ รวมถึงไม่มีพิษที่เป็นอันตราย นิทานความเชื่อเรื่องพิษก็เป็นด้วยประการฉะนี้

แมงโหย่งมีลักษณะเด่นที่ขาที่ยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดตัว แต่บางชนิดก็มีขาสั้น แม้มันจะดูคล้ายแมงมุม แต่เราก็สามารถสังเกตได้จากการที่ส่วน cephalothorax กับ abdomen จะต่อกันตลอดแนว จนดูเหมือนมันเป็นก้อนเดียวกัน และมีตา1คู่..บนหลัง ดูน่ารัก ส่วนใหญ่มีขนาดตัวไม่เกิน 0.7 ซม. นอกจากมีต่อมสร้างกลิ่นที่สามารถใช้ในการไล่แมลงอื่นแล้ว ขาที่หลุดออกของแมงโหย่งสามารถขยับได้(แบบหางจิ้งจก) ทำให้ผู้ล่าหันไปสนใจได้ ขณะที่มันหนี

แมงโหย่งออกหากินกลางคืน ส่วนใหญ่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร(omnivorous) เช่น แมลงเล็กๆ ส่วนประกอบของพืช รา กินซาก หรือแม้แต่อุจจาระสัตว์ ซึ่งถือว่าแปลกกว่าแมงอันดับอื่นๆที่มักกินเนื้อ ในขณะที่บางกลุ่มล่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร อวัยวะที่ใช้กินเรียกว่า“stomotheca” ซึ่งแตกต่างจากแมงชนิดอื่น เพราะไม่จำกัดอยู่กับของเหลว แต่สามารถกินเป็นชิ้นก็ได้ ตาของมันไม่ดีพอจะสร้างภาพขึ้นมา แต่รับรู้โดยใช้ขาคู่ที่2แทนหนวด ที่มีลักษณะยืดยาวมากกว่าขาคู่อื่น และมีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ที่ส่วนปลาย เมื่อแมงโหย่งเคลื่อนที่จะใช้ขาคู่นี้ยื่นชี้ออกไปด้านหน้า เพื่อตรวจสอบลักษณะภูมิประเทศที่จะเคลื่อนที่ไป ใช้ในการรวมกลุ่ม ค้นหาเหยื่อ หรืออาหาร ในกลุ่มแมงโหย่งที่ล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น แมงโหย่งในวงศ์ EPEDANIDAE จะมีส่วน pedipalp หรือขาแปลง ซึ่งเป็นส่วนรยางค์ข้างปากขนาดใหญ่ และมีหนามแหลมจำนวนมาก ใช้ในการจับเหยื่อ แมงโหย่งจึงทำหน้าที่คล้ายแมงมุมในฐานะผู้ควบคุมแมลงขนาดเล็ก และฐานะผู้กินซากคล้ายสัตว์กินซาก ที่ช่วยย่อยสลายหมุนเวียนวัฏจักรอาหารในธรรมชาติ และไม่มีโทษต่อมนุษย์

การผสมพันธุ์ของแมงโหย่งเป็นลักษณะการจับคู่ตัวผู้ตัวเมีย มีลักษณะการจับคู่ที่หลากหลายตามแต่ชนิด โดยมีวงจรชีวิต 1 ปี

ถิ่นที่อยู่อาศัยของแมงโหย่งมีหลายรูปแบบ ทั้งในป่า และถ้ำ ซึ่งบางชนิดเป็นพันธุ์เฉพาะถิ่น

ปัจจุบันแมงโหย่งถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม(Suborders) ซึ่งทั้งหมดมีรายงานการพบในประเทศไทย ได้แก่

Suborder Cyphophthalmi ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. วงศ์ที่พบบ่อยในบ้านเรา คือ วงศ์ STYLOCELLIDAE ตัวอย่างได้แก่ สกุล Fangensis เป็นสกุลใหม่ที่พบครั้งแรกที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แมงโหย่งสกุลนี้พบอาศัยเฉพาะในถ้ำหรือบริเวณใกล้เคียง

Suborder Eupnoi เป็นกลุ่มเด่นในบ้านเราพบในป่าทั่วไปและบ้านเรือนใกล้ชายป่า วงศ์ที่พบบ่อย คือ วงศ์ SCLEROSOMATIDAE แมงโหย่งวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขายาว เช่น สกุล Gagrella และสกุล Pseudogagrella

                Suborder Dyspnoi แมงโหย่งกลุ่มนี้มีขนาดตัวเล็ก อาศัยอยู่ใต้เศษใบไม้ในป่าที่มีความชื้นสูง ได้แก่ วงศ์ NEMASTOMATIDAE ตัวอย่างไก้แก่ สกุล Dendrolasma มีขนาดตัวเล็ก บนลำตัวเต็มไปด้วยหนามขรุขระ

Suborder Laniatores เป็นกลุ่มแมงโหย่งที่ส่วนใหญ่มีขาสั้น เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดในประเทศไทย ที่พบบ่อยได้แก่ วงศ์ ASSAMIIDAE, EPEDANIDAE, ONCOPODIDAE, PODOCTIDAE เป็นต้น

การรวมกลุ่มของแมงโหย่ง(Aggregations) ภาพที่มักเห็นจนชินตาหรือบ่อยครั้งที่ปรากฎในสื่อต่างๆ คือ ภาพที่แมงโหย่งนับร้อยนับพันตัวมารวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน หลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องผิดปกติและเป็นภาพที่แปลกตา แต่แท้จริงการรวมกลุ่มของแมงโหย่งจำนวนมากเป็นพฤติกรรมปกติของแมงโหย่งที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมพวกเขาต้องมาอยู่รวมกลุ่มกัน ซึ่งสามารถอธิบายสาเหตุการรวมกลุ่มของแมงโหย่งได้ 3 แนวทาง คือ

  1. Defensive Hypothesis การรวมกลุ่มในแนวทางนี้เพื่อการป้องกันตัวจากผู้ล่า เมื่อแมงโหย่งตัวใดตัวหนึ่งถูกรบกวนจากผู้ล่า จะปล่อยสารเคมี ซึ่งเป็น Alarm Signal ออกจากอวัยวะ ozopores สารเคมีนี้มีกลิ่นเหม็นฉุน นอกจากจะทำหน้าที่ขับไล่ผู้ล่าในเบื้องต้นแล้ว ยังเป็นสัญญาณให้เกิดการรวมกลุ่มขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มจะทำให้ผู้ล่าเกิดความสับสน ลดโอกาสในการถูกล่าของสมาชิกแต่ละตัวภายในกลุ่ม นอกจากนี้การรวมกลุ่มยังทำให้สารเคมีที่ปล่อยออกมาในการป้องกันตัวมีกลิ่นแรงและมีความเข้มข้นมากขึ้นด้วย
  2. Mating – success- improvement hypothesisเป็นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสในการสืบพันธุ์ เนื่องจากแมงโหย่งมีเพศแยก เพศผู้และเพศเมียออกหากินเป็นอิสระ จึงมีโอกาสพบกันได้ยาก แต่เมื่อถึงวัยพร้อมผสมพันธุ์ แมงโหย่งจะใช้สารเคมีกลุ่มฟีโรโมนเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย สารเคมีนี้ทำให้แมงโหย่งที่พร้อมจะผสมพันธุ์มารวมกลุ่มอยู่ด้วยกันเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์นั่นเอง
  3. Physiological hypothesisเป็นการรวมกลุ่มเพื่อปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม แนวทางนี้เป็นแนวทางที่เป็นสาเหตุในการรวมกลุ่มของแมงโหย่งบ่อยครั้งที่สุด เนื่องด้วยแมงโหย่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรลำตัวสูง และมีขายาวจำนวนมาก จึงมีพื้นที่ผิวที่สูญเสียน้ำออกจากตัวสู่สิ่งแวดล้อมมาก ทำให้สูญเสียน้ำออกจากตัวได้ง่าย แมงโหย่งจึงจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ(ซึ่งอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำจะอุ้มน้ำได้น้อยกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูง) หรือพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง เช่น ในถ้ำ ใต้ขอนไม้ รู โพรง บริเวณใกล้ลำธารหรือน้ำตก เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำออกจากตัว แต่ในฤดูแล้งหรือเมื่ออยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว แมงโหย่งจะรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่น การรวมกลุ่มจะทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมลดลง เพราะถูกล้อมรอบด้วยแมงโหย่งตัวอื่นๆ ความชื้นที่ออกจากตัวของแมงโหย่งแต่ละตัวจะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในกลุ่มเพิ่มสูงขึ้น และเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Diffusion Shell คือ อากาศรอบตัวจะนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนที่ ทำให้อัตราการสูญเสียน้ำออกจากตัวแมงโหย่งลดน้อยลง นอกจากนี้เมื่อการรวมกลุ่มอย่างหนาแน่น ทำให้อัตราการสูญเสียน้ำลดลง แมงโหย่งจึงมีอัตราเมทาบอลิซึมลดลง เนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานในการรักษาสมดุลเกลือแร่ที่จะสูงขึ้นเมื่อขาดน้ำ รวมทั้งไม่ต้องออกเดินเสาะหาสถานที่หลบอาศัยที่เหมาะสม ส่งผลให้สามารถอดน้ำและอาหารได้เป็นระยะเวลานานในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการรวมกลุ่มของแมงโหย่งจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นปกติ อันเป็นการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง

ปัจจุบันแมงโหย่งหลายชนิดอยู่ในสถานะถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยเกิดจากการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยโดยมนุษย์ เช่น การทำลายพื้นที่ป่า และ การปรับสภาพถ้ำเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น อย่างไรก็ตามแมงโหย่งเป็นแมงที่ได้รับการศึกษาน้อยมาก

22. แมลงวันก้นขน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Argyrophylax nigrotibialis Barnov, 1935

วงศ์ : TACHINIDAE

แมลงวันก้นขน

มีขนาดลำตัวยาว 0.5-0.6 ซม. ตารวมมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง อกและท้องมีขนสั้นและขนยาว ปีกใส ท้องปล้องสุดท้ายมีขนสีดำยื่นออกมา ขาทั้ง3คู่สีดำ เป็นตัวเบียนของหนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้กล้า หนอนกระทู้คอรวง และหนอนกัดกินใบ

เพศเมียวางไข่ครั้งละ 300-500 ฟอง โดยวางไข่(1-3 ฟอง)บนหนอนไหมวัยแก่ เมื่อไข่เติบโตเป็นหนอนจะมีลักษณะใสหรือสีครีม กินอวัยวะภายในของหนอนไหมเป็นอาหาร ก่อนเจาะผนังหนอนไหมออกมาเข้าสู่ระยะดักแด้ ดักแด้ของแมลงวันชนิดนี้มีสีน้ำตาลแดง

แพร่กระจายในอินเดีย บังกลาเทศ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เมียนมาร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

23. ตั๊กแตนหนวดยาวเขาใหญ่

ชื่อท้องถิ่น : ตั๊กแตนหนวดยาวหลังเรียบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Khaoyaiana ambigua Bolívar, 1900

ชื่อพ้อง : K. nitens Ingrisch, 1990

วงศ์ย่อย : PHANEROPTERINAE

วงศ์ : TETTIGONIIDAE

ตั๊กแตนหนวดยาวเขาใหญ่ ตัวเมีย

เป็นตั๊กแตนหนวดยาวสีเขียว อกปล้องแรกด้านบนค่อนข้างเรียบ ขอบสีเหลืองอ่อน ปีกคู่หน้ากว้าง 10-10.5 ซม. ฐานปีกด้านบนเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ ¼ ของความยาวของปีก

ปีกคู่หน้าค่อนข้างกว้างตรงกลางและเรียวยาวเป็นมุมแหลมที่ส่วนปลาย พบครั้งแรกของโลกที่อุทยานฯเขาใหญ่

ปัจจุบันมีรายงานการพบในเมืองไทยที่อุทยานฯดอยเวียงผา จ.เชียงใหม่ , อุทยานฯแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร และอุทยานฯเขาใหญ่

แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน และไทย

24-25. ตั๊กแตนหนวดยาว 2 ชนิด

วงศ์ : TETTIGONIIDAE

ตั๊กแตนหนวดยาว ชนิดแรก

ตั๊กแตนหนวดยาว ชนิดที่สอง

 

เป็นตั๊กแตนหนวดยาวที่ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลว่าอยู่สกุลใดและชนิดใด โดยพบ2ชนิดด้วยกัน

  1. แมลงวันแมงมุม

ชื่อสามัญ : Crane Fly ; Daddy Long Legs

วงศ์ : TIPULIDAE

แมลงวันแมงมุม

ลำตัวสูงชะลูด ยาวกว่ายุงลายประมาณ 3-4 เท่าตัว ขายาวแต่หลุดจากลำตัวได้ง่าย ในตัวเต็มวัยนั้นมีปากเล็กมากๆจนไม่ทำงาน หรือแทบจะไม่กินอาหาร คงกินน้ำเพียงแค่เล้กน้อยเท่านั้น ปลายปากโค้งงอจึงไม่สามารถเจาะดูดกินเลือดสัตว์และมนุษย์ได้ ลำตัวและขามีลายสีดำสลับสีเหลืองค่อนไปทางน้ำตาลเข้ม

ชอบอยู่ตามบริเวณที่ชื้นแฉะ มีพืชปกคลุมหนาแน่น วางไข่ในที่ชื้นและแหล่งน้ำ มีระยะตัวอ่อนเป็นหนอน ระยะนี้กินพืชที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร แต่บางชนิดอาจกินเนื้อเยื่อพืช หรือเป็นตัวห้ำ(predator)กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และเข้าสู่ตัวเต็มวัยที่เป็นแมลง มักปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว

ยังไม่ทราบว่าเป็นสกุลและชนิดใด ซึ่งทั่วโลกมี 4 วงศ์ย่อย 47 สกุล กว่า 15,000 ชนิด มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เมื่อวัดจากส่วนหัวถึงปลายท้องนั้นบางชนิดอาจมีขนาดยาวเพียง 1 ซม. และบางชนิดอาจยาวถึง 3.5 ซม. ตัวเต็มวัยมีทั้งชนิดปากยาวและปากสั้น ลักษณะโดดเด่น คือ ไม่กินเลือด แต่กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้และน้ำค้างเป็นอาหาร มีลักษณะคล้ายยุงตัวผู้ รวมทั้งมี 6 ขา และมี 2 ปีก เช่นเดียวกับยุงทั่วไป

27. Eucosmini sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucosmini sp.

วงศ์ : TORTRICIDAE

Eucosmini sp.

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อหนอนม้วนใบ ไม่รู้ชนิด

28. มอธขาหนามจุดชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Epicopeia polydora Westwood, 1841

วงศ์ย่อย : EPICOPEIIDAE

วงศ์ : ZYGAEINIDAE

มอธขาหนามจุดชมพู ระยะหนอน

เป็นผีเสื้อกลางคืนวงศ์มอธผีเสื้อรมควัน มอธผีเสื้อหนอนมะไฟ หรือมอธผีเสื้อขาหนาม เป็นผีเสื้อกลางคืนที่สวยงามและหายากมากชนิดหนึ่ง รูปร่างนั้นเลียนแบบผีเสื้อกลางวันบางชนิดในวงศ์ PAPILIONIDAE โดยเฉพาะผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู(Pachliopta aristolochiae) ออกหากินในเวลากลางวัน ขามีหนามแหลมที่ใช้ป้องกันตัวได้


สัตว์ป่า


สัตว์ป่าในที่นี้ ยกเว้นแมลง บันทึกภาพได้ 11 ชนิด โดยข้อมูลต่อไปนี้จะจัดเรียงลำดับตามวงศ์ สกุล และชนิด

1. นกพญาไฟพันธุ์เหนือ

ชื่อสามัญ : Flame-coloured Minivet ; Long-tailed Minivet

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pericrocotus ethologus Bangs & Phillips, 1914

วงศ์ : CAMPEPHAGIDAE

นกพญาไฟพันธุ์เหนือ ตัวผู้

เป็นนกประจำถิ่น และบางส่วนเป็นกอพยพในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ มีขนาด 17.5-21 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวจนถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด) ตัวผู้มีคอดำ ลักษณะคล้ายนกพญาไฟแม่สะเรียงตัวผู้(Short-billed Minivet) แต่ต่างกันที่ชนิดนี้แถบปีกแดงมีเส้นยาวต่อเส้นคล้ายตัวยู(U)คว่ำ ขนปลายปีกเส้นที่10มีขอบสีขาวหรือออกชมพู ขนกลางปีกเส้นในมีสีแดง ลำตัวด้านล่างค่อนข้างจะเป็นสีส้มมากกว่า หางเรียวกว่าทำให้ดูตัวเพรียวยาว กลางท้องระหว่างขาอาจมีสีขาว

ส่วนตัวเมียนั้น บริเวณหลังมีสีเทาจนถึงสีเขียวเข้ม ลำตัววด้านล่าง แถบปีก และตะโพกมีสีเหลืองสด ลักษณะคล้ายนกพญาไฟแม่สะเรียงตัวเมีย แต่ต่างกันที่ชนิดนี้มีแถบสีเหลืองบริเวณหน้าผากน้อยกว่าหรือแคบ จะเห็นได้ชัดบริเวณแถบคิ้วเท่านั้น วงรอบตาบางส่วนมีสีขาว ด้านข้างของหัวมีสีเทา คอจะมีสีเหลืองจางกว่าลำตัวด้านล่าง ขนหางคู่ที่2จากด้านในบริเวณปลายจะเป็นสีดำ

เสียงร้องดังว่า“พรี่-วิ”

ปกติหากินเป็นคู่ แต่อาจพบเป็นฝูงเล็กๆ โดยเฉพาะช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ อาจพบฝูงใหญ่ร่วม 100 ตัว และอาจพบร่วมกับนกพญาไฟคอเทาและนกพญาไฟแม่สะเรียง มักเกาะตามยอดไม้ในระดับสูง ไม่ค่อยลงมาเกาะตามยอดพุ่มไม้หรือต้นไม้ในระดับต่ำ อาหารได้แก่ แมลงต่างๆ โดยจิกกินตามยอดไม้ หรือกิ่งไม้ บางครั้งโฉบจับกลางอากาศใกล้ๆกับที่เกาะ

นกพญาไฟพันธุ์เหนือ ตัวเมีย

ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามกิ่งไม้เกือบจะปลายสุด อยู่สูงจากพื้นดินราว 10-15 เมตร หรือมากกว่า รังประกอบด้วยกิ่งไม้เล็กๆ ใบไม้ หญ้า มอสส์ และเชื่อมวัสดุต่างๆทางด้านนอกด้วยใยแมงมุม ขนาดของรังค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับลำตัว ทำให้มองจากพื้นดินไม่ค่อยเห็น ว่งไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง

ชื่อชนิดเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ ethologos แปลว่า เลียนแบบ ความหมายก็คือลักษณะคล้ายกับนกพญาไฟชนิดอื่นๆ โดยพบนกชนิดนี้ครั้งแรกของโลกในประเทศจีน

ทั่วโลกพบ 7 ชนิดย่อย ในเมืองไทยพบ 2 ชนิดย่อย ได้แก่

  1. ethologus ethologus Bangs & Phillips ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่มาจากชื่อชนิด พบนกชนิดย่อยนี้ครั้งแรกของโลกในประเทศจีน ชนิดย่อยนี้เป็นนกอพยพในเมืองไทย พบได้ทางภาคเหนือ และบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
  2. ethologus ripponi Baker ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่มาจากชื่อของบุคคล คือ พันโท G.C.Rippon (1861-1927) นักการทหารชาวอังกฤษ ประจำประเทศอินเดียและประเทศเมียนมาร์ระหว่างปี ค.ศ.1880-1914 พบนกชนิดย่อยนี้ครั้งแรกของโลกในประเทศเมียนมาร์ ชนิดย่อยนี้เป็นนกประจำถิ่นในเมืองไทย พบได้ทางภาคเหนือด้านตะวันตก

พบได้ตามชายป่า ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตร ขึ้นไป

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546

แพร่กระจายในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนาม

  1. กบห้วยขาปุ่มเหนือ

ชื่อสามัญ : กบมื่น , กบห้วยขาปุ่มเทย์เลอร์

ชื่อสามัญ : Taylor’s Stream Frog

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnonectes taylori Matsui, Panha, Khonsue & Kuraishi, 2010

วงศ์ : DICROGLOSSIDAE

กบห้วยขาปุ่มเหนือ

              เป็นกบขนาดใหญ่ ตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงก้น 4.6-9.3 ซม. ส่วนตัวเมียมีความยาวจากหัวถึงก้น 4-6.2 ซม. โดยตัวผู้มีมีหัวโตกว้างอย่างชัดเจน ระยะห่างระหว่างตาพอๆกับความกว้างเปลือกตา แผ่นปิดหูไม่ปรากฏ มีหนังนูนเป็นสันจากหางตาถึงไหล่ ปากกว้าง ขาสั้น มือไม่มีพังผืด ส่วนเท้ามีพังผืดเต็มความยาวนิ้ว ปลายนิ้วเรียว นิ้วมือที่1และ2ยาวเท่ากัน ลำตัวและขาหลังมีตุ่มกระจายทั่วไป

หลังสีน้ำตาลอมแดง หรือสีน้ำตาลอมเทา และมีลายแต้มสีดำจางๆ ระหว่างตามีแถบสีดำ ขามีลายพาดสีน้ำตาล ท้องสีขาวออกเหลือง

ตัวผู้มีเขี้ยวเทียมด้านหน้าของขากรรไกรล่างและมีปุ่มแบน(Nuptial Pad)ใต้นิ้วแรก

เดิมเคยถูกจำแนกเป็นกบห้วยขาปุ่ม(Limnonectes kuhlii) ปัจจุบันถูกแยกออกเป็น 3 ชนิด คือ กบห้วยขาปุ่มใต้(Limnonectes jarujini Matsui, Panha, Khonsue&Kuraishi, 2010) , กบปากกว้าง หรือกบแรด(L. megastomias McLeod,2008) และกบห้วยขาปุ่มเหนือ(L. taylori Matsui, Panha, Khonsue & Kuraishi, 2010)

ชนิดนี้ต่างจากกบห้วยขาปุ่มใต้(L. jarujini) คือ ตุ่มตามขาของกบห้วยขาปุ่มเหนือมีมากและแน่นชิดกว่า รวมทั้งลายบนหัว ข้างตัว และขา ดูชัดกว่ากบห้วยขาปุ่มใต้

ช่วงฤดูผสมพันธุ์ในเดือนสิงหาคมนั้น ตัวผู้จะหาแอ่งน้ำที่ไหลเอื่อยๆและมีกองใบไม้ทับถมกันเพื่อใช้เป็นที่วางไข่ของตัวเมีย ไข่มีลักษณะเป็นสาย แต่ละฟองรูปกลม มีขนาดใหญ่ และมีเมือกหุ้ม ลูกอ๊อดมีขนาดเล็ก กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร

พบตามแหล่งน้ำในป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 650-1,650 เมตร ปัจจุบันมีรายงานการพบที่ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ ดอยเชียงดาว ดอยอ่างขาง ดอยเวียงผา และท่าตอน จเชียงใหม่ , ดอยลังกา จ.เชียงใหม่ – จ.เชียงราย , ปางตอง จ.แม่ฮ่องสอน , ดอยขุนตาล จ.ลำปาง , บ้านนาหมอ จ.น่าน และดอยหัวหมด จ.ตาก

แพร่กระจายในเมียนมาร์ตะวันออก ไทย และลาวตอนเหนือ โดยพบครั้งแรกของโลกที่บ้านขุนกลาง ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,350 เมตร

  1. Thyropygus sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyropygus sp.

วงศ์ : HARPAGOPHORIDAE

Thyropygus sp.

ในเมืองไทยมีรายงานการพบกิ้งกือมากกว่า 500 ชนิด

กิ้งกือส่วนใหญ่ไม่มีตา แต่จะใช้หนวดที่มีอยู่2คู่เป็นตัวแตะสัมผัสรับรู้ มีน้อยชนิดที่มีตา(เดี่ยว) แต่ก็ไม่สมบูรณ์ คือเห็นอะไรได้ไม่ชัดเจน ใช้เพียงแค่ดูว่ายามนี้สว่างหรือมืดเท่านั้น ซึ่งมักชอบอยู่ในที่มืดและชื้นๆตามป่าดงดิบที่ไม่ร้อนนัก

ลำตัวเป็นปล้องๆ แบ่งออกเป็นส่วนหัว อก ท้อง และก้น แต่ละปล้องมีระยางค์ต่อกันเป็นข้อทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ลำตัวมีสารไคตินหุ้มเป็นเปลือกหนา มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบเลือดเป็นแบบเปิด คือ เลือดจะออกจากหัวใจไปตามช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่า“Haemocoel” แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจที่อยู่ด้านบนของลำตัว

เกือบทุกปล้องของลำตัว ยกเว้นก้น มีขาสั้น2คู่หรือ4ขา(โดยแต่ละปล้องมีขาด้านขวา2ขา และด้านซ้าย2ขา) ยกเว้นปล้องสุดท้ายบริเวณก้นที่ไม่มีขา แต่มีหน้าที่ถ่ายของเสีย แม้ว่ามันจะมีขาจำนวนมากมาย แต่ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับการเคลื่อนที่ กลับมีการประสานงานพลิ้วไหวเป็นระลอกคลื่นดูสวยงาม ลองสังเกตให้ถี่ถ้วนแล้วจะเห็นว่าขณะมันเดินนั้น ส่วนหัวก็สอดส่องหาอาหาร ปากก็กินอาหารไป ลำตัวก็เอี้ยวไปเอี้ยวมาตามทิศทางหาอาหาร พร้อมกับบริเวณก้นก็ถ่ายออกมาตลอดเวลา จะเรียกว่า“กินไป ขี้ไป”ก็ไม่ผิด

การเดินของกิ้งกือที่ดูแล้วเหมือนคลื่นขึ้นลงนั้น เพราะขาทุกข้างของกิ้งกือจะขยับพร้อมกัน และมีจังหวะต่อเนื่องกัน นั่นคือในแต่ละปล้อง..เมื่อขาคู่หน้าที่ยกขึ้นวางลงกับพื้นและกำลังลากไปข้างหลัง ขาคู่หลังก็กำลังยกขึ้นไปข้างหน้า โดยเหลื่อมล้ำหรือต่างจังหวะกันเล็กน้อย

ครั้นเวลาผสมพันธุ์จะมีลักษณะเช่นเดียวกับงู คือ ใช้ตัวรัดกันไปมา โดยตัวผู้จะหงายเอาส่วนท้องขึ้นไปติดกับส่วนท้องของตัวเมีย ซึ่งใช้เวลานานมากกว่าจะผสมพันธุ์เรียบร้อย จากนั้นตัวเมียจะขุดดินเป็นโพรงหลุม แล้ววางไข่ ซึ่งกิ้งกือแต่ละชนิดมีความสามารถในการวางไข่เป็นจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น กิ้งกือCommon Small Millepede วางไข่ครั้งละ 60-100 ฟอง , กิ้งกือป้อมวางไข่เพียง 3-5 ฟอง เป็นต้น

ลูกกิ้งกือที่ฟักออกจากไข่นั้นมีปล้องอยู่ราว 6 ปล้อง ต่อเมื่อเติบโตขึ้นจึงมีปล้องหลายสิบปล้องเช่นเดียวกับพ่อแม่ โดยจะค่อยๆงอกเพิ่มขึ้นระหว่างปล้องที่5และปล้องที่6 ซึ่งระหว่างที่งอกปล้องเพิ่มขึ้นก็จะมีการลอกคราบเปลือกเก่าทิ้งไปเช่นเดียวกับงู

ศัตรูของกิ้งกือ คือ สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยเฉพาะสัตว์กินเนื้อ อย่างนี้กิ้งกือก็สูญพันธุ์หมดซิ เพราะธรรมชาติไม่ได้สร้างกระดองให้มันหดตัวหลบภัยเข้ากระดองได้เช่นเดียวกับเต่า หรือสร้างขนหนามแหลมคมปกคลุมตัวเช่นเดียวกับเม่น หรือสร้างให้มีปีกไว้บินหนีเมื่อมีภัยคุกคาม แต่จะเพราะด้วยความเอื้ออาทรของธรรมชาติที่ต้องการให้มีสัตว์น่าขยะแขยงยังคงอยู่คู่โลกใบนี้หรือไรก็ไม่รู้ จึงได้สร้างให้ภูมิป้องกันให้แก่กิ้งกือ โดยมีต่อมน้ำพิษจำพวกน้ำกรดอยู่ตามข้างลำตัว เมื่อถูกสัตว์ใดเข้ามาทำร้ายก็จะปล่อยออกมา ทำให้สัตว์นั้นๆไม่กล้าเข้ามาตอแยอีกเลย

กิ้งกือเกือบทุกชนิดกินพืชจำพวกลูกไม้ ใบไม้ หรือเปลือกไม้ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร(ไม่เหมือนกับตะขาบที่กินเนื้อสัตว์อื่นๆเป็นอาหาร เช่น แมลง ไส้เดือน ฯลฯ) แต่มีกิ้งกือบางชนิดกินไส้เดือนขนาดเล็กและเนื้อสัตว์เน่าเปื่อยเป็นอาหาร จึงอาจกล่าวได้ว่า“กิ้งกือมีหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายแห่งป่า(เช่นเดียวกับ“ปลวก”) ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าพนักงานเทศบาลอย่างมนุษย์ ตรงที่มันทั้งกวาดเก็บ แล้วกิน ก่อนถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยให้แก่พืชพรรณไม้”

  1. หอยห่อเปลือกใหญ่สยาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Megaustenia siamensis (Haines, 1858)

วงศ์ : HELICARIONIDAE

หอยห่อเปลือกใหญ่สยาม

เป็นพวกหอยทากลดเปลือก ลักษณะเปลือกเป็นรูปไข่ บางใส เนื่องจากมีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบน้อย เปลือกวงสุดท้ายมีขนาดใหญ่ ปากเปลือกกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. มีวงเปลือกเพียง 2-3 ชั้น ผิวเปลือกเรียบเป็นมันวาว มีสีน้ำตาลอมเหลืองจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวมีสีน้ำตาลเทา ผิวหนังเป้นตุ่มหรือขรุขระ หรืออาจมีจุดสีดำหรือสีขาวกระจายทั่วตัว โดยปกติหอยชนิดนี้จะยื่นส่วนของเนื้อที่เรียกวา“Mantle Lapped” ลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆ ผิวขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆจำนวนมากออกมาคลุมเปลือกจนมิด แต่เมื่อหอยถูกรบกวน เนื้อเยื่อส่วนนี้สามารถหดเข้าไปในเปลือกได้ หอยพวกนี้มีเมือกเหนียวมาก แต่ไม่เป็นอันตราย

หอยห่อเปลือกใหญ่สยาม

หอยห่อเปลือกใหญ่สยาม

ส่วนมากกินซากใบไม้ ใบไม้สด และเห็ดราเป็นอาหาร แต่ไม่เป็นศัตรูทางการเกษตร

มักพบอาศัยอยู่ตามป่าที่มีความชุ่มชื้น โดยเกาะอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ขนาดใหญ่ ในฤดูแล้งจะหลบซ่อนอยู่ใต้เปลือกไม้ โพรงไม้ หรือซอกหิน ทั่วทุกภาคขงไทย

  1. เขียดงูหัวแหลม

ชื่อสามัญ : Elongate-headed Caecilian ; Pointed-snouted Caecilian

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ichthyophis acuminatus Taylor, 1960

วงศ์ : ICHTHYOPHIIDAE

เขียดงูหัวแหลม

ลำตัวยาวคล้ายงู มีความยาวจากหัวถึงก้นได้ถึง 30 ซม. หัวยาว ส่วนปลายของหัวแหลม ตาขนาดเล็ก ขอบปากสีจาง ไม่มีขา ลำตัวสีน้ำตาลเทาอมม่วง ท้องสีอ่อนกว่าด้านบน บริเวณคอ ใต้คาง และก้นไม่มีสีเหลืองหรือสีครีม และไม่มีลายแถบกว้างตามสีข้าง ผิวหนังบริเวณลำตัวเป็นปล้องรอบลำตัวราว 315 ปล้อง หางสั้นมาก ปลายหางแหลม

พบอาศัยอยู่ใตดินในป่าดิบที่ค่อนข้างชื้น ปัจจุบันมีรายงานการพบที่ อ.แม่วัง และดอยเวียงผา อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

6. นกจับแมลงสีฟ้า

ชื่อสามัญ : Verditer Flycatcher

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eumyias thalassina Swainson, 1838

วงศ์ : MUSCICAPIDAE

นกจับแมลงสีฟ้า ตัวผู้

เป็นนกประจำถิ่น และนกอพยพในฤดูหนาว มีขนาด 15-17 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด) ตัวผู้มีปากสั้นราว 1.5-1.6 ซม. หัวตาและแถบตาสั้นๆ สีดำ หัวและลำตัวสีฟ้าแกมเขียวเข้ม จนถึงสีน้ำเงินแกมเขียว ส่วนตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่สีจะจางและออกเป็นสีเทามากกว่า โดยเฉพาะลำตัวด้านล่าง หัวตาและแถบตาสีเทา ไม่ชัดเจนเหมือนตัวผู้ ขนปีกด้านล่างสีเทาแกมสีเนื้อ และมีลายแต้มสีน้ำเงิน

นกจับแมลงสีฟ้าตัวเมียมีลักษณะคล้ายนกจับแมลงสีฟ้าอ่อนตัวผู้(Pale Blue Flycatcher) แต่แตกต่างกันตรงที่มีปากสั้นกว่า ก้นสีฟ้าและมีลายสีขาว

นกวัยอ่อนนั้น ลำตัวด้านบนมีสีเทาแกมน้ำตาล มีลายแต้มสีออกเขียว มีลายจุดสีเนื้อเข้ม และลายเกล็ด ลำตัวด้านล่างสีเทา มีลายจุดสีเนื้อเข้ม และลายเกล็ดสีเข้ม

มักพบโดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ อาจพบอยู่รวมกับนกจับแมลงชนิดอื่น ชอบเกาะในลักษณะตัวตั้ง หางชี้ลงพื้น และอาจยกหรือสั่นหางในบางครั้ง ชอบโฉบจับแมลงระหว่างยอดไม้หรือไม้พุ่ม เมื่อโฉบล่าเหยื่อแล้วมักจะไม่กลับมาเกาะที่เดิม แต่จะโฉบจับแล้วเกาะกิ่งไม้อื่นไปเรื่อยๆ บางครั้งก็โฉบจับแมลงหรือซากสัตว์ตามพื้น หรือบินคล้ายกับนิ่งอยู่กับที่เหนือดอกไม้ที่มีแมลงมาตอม

ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน อาจจะวางไข่มากกว่า 1 ครั้ง/ปี รังเป็นรูปถ้วยแบนๆ ด้านข้างหนา วางรังตามฝั่งลำห้วย ซอกหิน โพรงกำแพง ชายคาสิ่งก่อสร้าง หรือซอกระหว่างต้นไม้กับกอเฟินที่อิงอาศัยบนต้นไม้ วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยมอสส์ผสมกับวัสดุบางอย่าง ภายในรังรองพื้นด้วยรากฝอยหรือหญ้าแห้ง ออกไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง หายากที่มี 5 ฟอง ไข่สีชมพูแกมสีครีมอ่อนหรือสีขาว มีลายดอกดวงเล็กๆสีออกแดงเป็นวงรอบไข่ด้านป้าน ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังและฟักไข่ แต่ตัวเมียจะทำหน้าที่มากกว่า และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน

นกจับแมลงสีฟ้า ตัวเมีย

ชื่อชนิดเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ thalassinus(thalass,=a,-i,-o) แปลว่า ทะเล หรือสีฟ้า และ –ina เป็นคำลงท้าย แปลว่า เหมือน) แปลว่า สีน้ำทะเล ความหมายก็คือนกที่มีสีฟ้าหรือสีน้ำทะเล โดยพบนกชนิดนี้ครั้งแรกของโลกในประเทศอินเดีย

ทั่วโลกพบ 2 ชนิดย่อย ในเมืองไทยพบทั้ง 2 ชนิดย่อย ได้แก่

  1. thalassina thalassina Swainson ชนิดย่อยนี้พบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
  2. thalassina thalassoides Cabanis พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกของโลกบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในเมืองไทยพบเฉพาะภาคใต้

พบอาศัยตามชายป่า และป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 2,565 เมตร ในช่วงฤดูกาลที่มีนกอพยพอาจสวนผลไม้ สวนสาธารณะ ป่าชายเลน และป่าโปร่ง

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546

แพร่กระจายในอินเดียจนถึงจีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

7. นกยอดหญ้าสีเทา

ชื่อสามัญ : Grey Buschat

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saxicola ferrea Gray, 1846

วงศ์ : MUSCICAPIDAE

นกยอดหญ้าสีเทา ตัวผู้

เป็นนกประจำถิ่น และนกอพยพในฤดูหนาว มีขนาด 14.5-16 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด) ตัวผู้มีหัวสีเทาเข้ม หน้าสีดำ มีคิ้วยาวสีขาวหรือแกมเทา เห็นได้ชัดเจน คอสีขาว ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำเงินและมีลายขีดสีเข้มบนหลัง ปีกมีแถบสีขาว อกและสีข้างแกมเทาอ่อน ลำตัวด้านล่างสีขาว บางฤดูส่วนที่เป็นสีเทาและสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดูคล้ายตัวเมีย

ส่วนตัวเมียมีหัวและลำตัวด้านบนสีน้ำตาล คิ้วยาวสีขาวออกเหลืองหรือแกมน้ำตาลจางๆ แถบหน้าสีน้ำตาลเข้ม คอสีขาว ลำตัวด้านล่างแกมน้ำตาล

นกไม่เต็มวัยหรือวัยอ่อนมีลักษณะคล้ายนกไม่เต็มวัยของนกยอดหญ้าหัวดำ(Siberion Stonechat) แต่ต่างกันที่คอ อก และสีข้างมีลายเกล็ดสีน้ำตาล

มักพบโดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็กๆ มักพบเกาะตามยอดไม้พุ่ม หรือบางครั้งก็เกาะตามสายไฟฟ้า ลงมาจับแมลงซึ่งเป็นอาหารหลักตามพื้นอยู่บ่อยๆ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศใกล้กับที่เกาะ นอกจากนี้ยังกินเมล็ดพืชบางชนิดด้วย

ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน คือในราวเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม วางรังตามพื้นดินใต้กอหญ้า โพรงดินตามช่วงไหล่เขา หรือซอกหิน รังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยใบหญ้าที่ฉีกละเอียด รองพื้นด้วยรากฝอย ขนนก และขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง หายากที่มี 6 ฟอง ไข่สีน้ำเงิน และมีลายคล้ายลายแตกสีออกแดง โดยเฉพาะบริเวณไข่ด้านป้าน ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังและเลี้ยงดูลูกอ่อน แต่ตัวเมียเท่านั้นที่ฟักไข่

ชื่อชนิดเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน ferr,-o แปลว่า เหล็ก ความหมายก็คือมีสีเทาคล้ายกับสีของเหล็ก โดยพบนกชนิดนี้ครั้งแรกของโลกในประเทศเนปาล

พบอาศัยตามป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า ชายป่า ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,220-2,565 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก บางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางแห่งในภาคกลาง หากพบในระดับต่ำจะเป็นนกอพยพ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546

แพร่กระจายในปากีสถาน อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน ไต้หวัน เมียนมาร์ และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

  1. นกขมิ้นปากเรียว

ชื่อสามัญ : Slender-billed Oriole

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oriolus tenuirostris Blyth, 1846

วงศ์ : ORIOLIDAE

นกขมิ้นปากเรียว

เป็นนกประจำถิ่น และนกอพยพในฤดูหนาว มีขนาด 23-27 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด) ตัวผู้นั้น หลังสีเหลืองแกมเขียวจนถึงสีเขียวคล้ำคล้ายนกขมิ้นท้ายทอยดำตัวเมีย(Black-naped Oriole) แต่ปากเรียวกว่า โดยปากยาว 3-3.3 ซม. แถบสีดำจากโคนปากทั้งสองลากผ่านตาไปจรดกันที่ท้านทอยจะแคบกว่า และขนปลายปีกและขนหางเส้นบนเป็นสีดำ ส่วนตัวเมียมีสีสันคล้ายตัวผู้ แต่มีสีเหลืองอ่อนกว่า ไม่สดใสเท่าตัวผู้ ส่วนบนของลำตัวมักออกแกมเขียวมากกว่า ท้องมีลายขีดจางๆ

นกวัยอ่อนมีลักษณะคล้ายนกวัยอ่อนของนกขมิ้นท้ายทอยดำมาก แต่ปากยาวเรียวกว่าและสีคล้ำกว่า หน้าอกจะเป็นสีค่อนข้างขาวและมีลายขีดสีคล้ำๆ ไม่มีแถบสีดำพาดผ่านตา แต่พออายุมากขึ้นจะเริ่มปรากฏให้เห็นแถบดังกล่าว ลายขีดที่หน้าอกก็จะจางหาย

เสียงร้องเล็กแหบดังว่า“แคร่..” คล้ายนกขมิ้นท้ายทอยดำ

ชื่อชนิดเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ tenu,-i หรือ tenuis แปลว่า เรียว และคำว่า rostr,=um หรือ rostris แปลว่า ปาก ความหมายก็คือนกที่มีปากเรียว โดยพบนกชนิดนี้ครั้งแรกของโลกที่รัฐอัสสัม ทางตอนเหนือประเทศอินเดีย

บางตำรา เช่น Howard and Moore 1980 ก็จัดนกขมิ้นปากเรียวเป็นชนิดย่อยหนึ่งของนกขมิ้นท้ายทอยดำ โดยเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oriolus chinensis tenuirostris Blyth แต่หลายตำรา เช่น Sibley and Monroe (1990) และ Inskipp,et. al. 1996 จัดให้นกขมิ้นปากเรียวเป็นนกอีกชนิดหนึ่ง และไม่มีชนิดย่อย

พบอาศัยตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-1,500 เมตร ชนิดที่เป็นนกอพยพจะพบทางภาคเหนือด้านตะวันตก และภาคตะวันตกตอนบน ส่วนชนิดที่เป็นนกประจำถิ่นมีรายงานการพบที่เขตรักษาพันธุ์ฯภูเขียว จ.ชัยภูมิ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546

แพร่กระจายในเนปาล จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เมียนมาร์ ไทย และลาว

9. นกหัวขวานจิ๋วท้องลาย

ชื่อสามัญ : Speckled Piculet

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Picumnus innominatus Burton, 1836

วงศ์ : PICIDAE

นกหัวขวานจิ๋วท้องลาย

เป็นนกประจำถิ่น มีขนาด 9-10.5 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด) ตัวผู้มีหน้าผากและกหระหม่อมตอนหน้าสีดำและสีส้มออกแดง มีแถบสีขาว2แถบที่ด้านข้างของหัว โดยมีแถบสีดำคั่นกลางพาดผ่านตา แถบหนวดสีดำ บริเวณไหล่และหลังสีเขียวแกมเหลือง ลำตัวด้านล่างสีขาวแกมเหลืองและมีลายจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วโดยเฉพาะบริเวณอก ท้องด้านล่างเป็นลายขวาง หางสั้นกลมสีดำและมีแถบสีขาว ขนหางอ่อนนุ่ม โคนขาเป็นลายพาด

ส่วนตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่กระหม่อมทั้งหมดสีเขียวแกมเหลือง

เสียงร้องใสดังว่า“ท-ซิก”

มักพบโดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ แต่อาจพบอยู่ร่วมกับนกขนาดเล็กชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะพวกนกกระจ้อย และนกไต่ไม้ มักหากินตามกิ่งก้านของพุ่มไม้ หรือต้นไม้ขนาดเล็ก บงางครั้งก็อยู่เกือบชิดติดพื้นดิน ลักษณะการเกาะและการเคลื่อนที่คล้ายนกไต่ไม้ โดยมักจะกระโดดไปมาตามส่วนต่างๆของกิ่งไม้ สามารถเกาะได้ทุกๆแนว รวมทั้งด้านล่างของกิ่งไม้ แต่ก็สามารถเกาะในลักษณะเช่นเดียวกับพวกนกจับคอนทั่วๆไป บินได้ดี บางครั้งก็พบบินกระพือปีกอยู่บริเวณยอดไม้เพื่อจับแมลงอันเป็นลักษณะเดียวกับพวกนกกินปลี อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ไข่มด ตัวหนอน และแมลงต่างๆ

ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือในราวเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงของไม้ไผ่ หวาย หรือลำต้นของต้นไม้ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 5 เมตร มักจะเจาะโพรงทำรังเอง และอาจใช้โพรงเดิมในปีต่อๆไป ขนาดปากโพรงกว้างประมาณ 2.5 ซม. ลึกประมาณ 15 ซม. โพรงด้านในสุดกว้าง 6-7 ซม. ยกเว้นโพรงในลำไผ่และหวาย ซึ่งจะกว้างเท่ากับลำไผ่หรือลำหวาย วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ไข่สีขาวทั้งสองเพศช่วยกันขุดโพรงทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 11 วัน เมื่อลูกนกแข็งแรงและบินได้แล้วก็จะแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง

ชื่อชนิด innominatus เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่า ไม่มีชื่อ(in แปลว่า ไม่ , nom,-en,-in แปลว่า ชื่อ และ –tus เป็นคำลงท้าย) ความหมายก็คือไม่มีชื่อ หรือนกชนิดใหม่ที่ไม่มีชื่อมาก่อน โดยพบนกชนิดนี้ครั้งแรกของโลกที่เทือกเขาหิมาลัย

ทั่วโลกพบ 5 ชนิดย่อย ในเมืองไทยพบเพียงชนิดย่อยเดียว ได้แก่ P. innominatus malayorum Hartert ชื่อชนิดย่อยนี้เป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ โดยพบนกชนิดย่อยนี้ครั้งแรกของโลกที่ประเทศมาเลเซีย

พบอาศัยตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,800 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บางแห่งในภาคตะวันตก และบางแห่งในภาคใต้ตอนล่าง

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546

แพร่กระจายในเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

  1. จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ

ชื่อสามัญ : Common Forest Skink , Maculated Forest Skink , Spotted Forest Skink ; Streamside Forest Skink
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphenomorphus maculatus Blyth, 1853
วงศ์ย่อย : LYGOSOMINAE

วงศ์ : SCINCIDAE

จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ

                ความยาวจากปลายปากถึงรูก้น 5.3-6 ซม. หางยาวราว 9.5 ซม. หรือประมาณ 2 เท่าของความยาวลำตัว ลำตัวเรียวยาว หัวแบน ส่วนหัวกว้างกว่าลำคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวมน ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมและพื้นผิวเกล็ดเรียบเป็นมัน เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เปลือกตาล่างมีเกล็ดปกคลุมและแผ่นเกล็ดโปร่งใส เกล็ดปลายจมูกบุ๋ม เกล็ดบนหลังและทางด้านบนของหางมีขนาดใหญ่ เกล็ดด้านข้างลำตัวมีขนาดเล็ก เกล็ดด้านท้องใหญ่กว่าเกล็ดด้านข้างลำตัวเล็กน้อย เกล็ดใต้หางขยายกว้าง เกล็ดรอบลำตัวในตำแหน่งกึ่งกลางตัวมีจำนวน 44 เกล็ด

ลำตัวด้านหลังสีเขียวมะกอก สีน้ำตาล สีน้ำตาลอมเทา หรือสีน้ำตาลบรอนซ์ หัวสีคล้ำกว่าลำตัวและหาง บนหลังของบางตัวอาจเป็นสีน้ำตาลและไม่มีลวดลาย แต่บางตัวมีจุดกลมสีดำเรียงตัวคล้ายกับเป็นแถว 2 แถวในแนวกลางตัวที่ส่วนต้นของลำตัว แล้วเหลือเพียงแถวเดียวทางส่วนท้ายของลำตัว ด้านข้างของหัวมีเส้นสีดำพาดยาวจากส่วนปลายของปากผ่านตา แล้วขยายเป็นแถบกว้างทางด้านท้ายของตาผ่านไปทางด้านบนของช่องเปิดหูและทางด้านข้างลำตัวกับทางด้านข้างของหางจนถึงปลายหาง บางตัวอาจมีจุดสีครีมกระจายทั่วในแถบสีดำ ขอบของแถบสีด้ำที่ด้านข้างลำตัวเป็นเส้นค่อนข้างตรง แต่ที่ด้านข้างของหางเป็นเส้นหยัก ด้านล่างของแถบสีดำเป็นแถบสีขาวพาดยาวจากทางด้านท้ายของตาผ่านช่องเปิดหูและต่อไปทางด้านข้างลำตัวจนถึงส่วนต้นของหาง และทางด้านล่างของแถบสีขาวเป็นประสีดำจากส่วนปลายของปากไปถึงซอกขาหนีบ บริเวณคาง ท้องสีเหลืองอ่อนอมน้ำตาล หรือสีขาวอมเหลือง ใต้หางมีสีขาว หรือสีขาวอมเหลือง ขาหน้าและขาหลังสีน้ำตาลและมีลายเลอะสีเข้ม นิ้วตีนยาว มีสีน้ำตาลเข้มกับจางพาดขวางเป็นปล้อง ปลายนิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บ

ออกหากินเวลากลางวัน มักหากินอยู่บนพื้นดินใกล้ลำห้วย/คลองหรือบนลานหินที่กระจายอยู่ข้างลำหวย/คลอง แต่ในฤดูฝนที่พื้นดินมีความชุ่มชื้นจะเคลื่อนย้ายไปหากินอยู่ตามพื้นล่างของป่า เดินและวิ่งหากินและหยุดพักเป็นระยะ ในช่วงที่หยุดนิ่งมักยกหัวสูงขึ้นมาจากพื้นดิน เมื่อถูกรบกวนจะวิ่งหลบหนีเข้าซอกหินที่อยู่ใกล้ที่สุด หรือวิ่งเข้าไปใต้กองใบไม้ที่อยู่ตามพื้นล่างของป่า อันเป็นลักษณะเดียวกับแย้ธรรมดา

อาหารหลัก ได้แก่ หนอน จิ้งหรีด แมงมุม ผีเสื้อ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ

ช่วงฤดูผสมพันธุ์ในราวเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ บริเวณท้องจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และใต้หางเป็นสีเหลืองอมส้ม วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง

พบใกล้ลำธาร ตามก้อนหิน พื้นทราย ใต้กองใบไม้ ขอนไม้ ทั้งพื้นราบ และบนภูเขาในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ทั่วทุกภาค

ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

                แพร่กระจายในอินเดีย เนปาล ภูฏาน ทิเบต จีน เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย นิวกินี และเกาะซุนด

  1. นกกระเบื้องผา

ชื่อสามัญ : Blue Rock-Thrus

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monticola solitaries Linnaeus, 1758

วงศ์ : TURDINAE

นกกระเบื้องผา ตัวเมีย

เป็นนกประจำถิ่น และนกอพยพในฤดูหนาว(ราวเดือนตุลาคม) มีขนาด 21-23 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด)

ลักษณะภายนอกและพฤติกรรมบางอย่างของนกกลุ่มนี้จะคล้ายนกเดินดงมากแล้ว สีสันของนกกระเบื้องทุกชนิดที่เป็นตัวเมียยังมีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัวเหมือนนกเดินดงในสกุล Zoothera มากๆ แต่จริงๆแล้วมีเชื้อสายใกล้ชิดกับนกยอดหญ้า(Chat) และนกเขนในกลุ่ม Redstart ที่มักหากินด้วยการเกาะในที่โล่งเพื่อมองหาแมลงและสัตว์เล็กๆตามพื้น มีนิสัยคล้ายนกกระเบื้องตรงที่ชอบกระดกหางและคลี่ขนหางออกยามตกใจ

นกกระเบื้องผาทั้ง2เพศมีสีสันแตกต่างกัน ตัวผู้มีสีสันสวยกว่า โดยมีขนทั่วทั้งตัวเป็นสีฟ้าแกมเทา จนถึงสีน้ำเงินเข้ม เส้นขนแต่ละเส้นมีขอบขาว ทำให้เห็นลายเกล็ดสีขาวและสีดำทั่วทั้งตัว และมีแถบคาดตาสีดำ

ส่วนตัวเมียมีขนลำตัวด้านบนสีน้ำตาลปนเทาคล้ำๆ เส้นขนแต่ละเส้นมีขอบขาว ทำให้เห็นเป็นลายเกล็ด ส่วนขนด้านล่างของลำตัวเป็นสีครีม เส้นขนแต่ละเส้นมีแต้มสีดำ ทำให้เห็นเป็นลายทั่วทั้งส่วนล่างของลำตัว

หลังผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะไปหาทำเลทำรังตามซอกหรือโพรงหน้าผาหิน หรือตามตึกสูง โดยตัวเมียจะคาบหญ้าแห้งและมอสส์ทำเป็นรังรูปถ้วยในโพรง วางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง ไข่มีสีฟ้าจางๆ ตัวเมียทำหน้าที่กกไข่แต่เพียงตัวเดียว ส่วนตัวผู้จะคอยดูแลและป้องกันอาณาเขตรอบๆรัง ระยะฟักไข่ 12-13 วัน

เสียงร้องแหบว่า“แทค-แทค”หรือ“ทัค” บ้างส่งเสียงแหลมสูงเป็นท่วงทำนองเพลงหลายแบบว่า“ชู-ชี้-ชู-ตรี้-ตรี้”

เป็นนกที่ชอบอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มักเกาะโชว์ตัวเด่นๆตามก้อนหิน ชะง่อนหิน ตอไม้ ยอดไม้แห้ง หลังคาบ้าน หรือหลังคาตึก เพื่อให้มองเห็นเหยื่อได้ง่าย โดยจะเกาะในลักษณะตัวตั้ง หางชี้ลงพื้น แตกต่างจากนกทั่วๆไปที่ทั้งลำตัวและหางมักจะขนานหรือเกือบขนานกับพื้นราบเสมอ เป็นนกที่มักอาศัยและหากินในแหล่งเดิมๆเสมอ แม้แต่นกที่อพยพมาก็จะไม่ค่อยเปลี่ยนสถานที่

หากินส่วนใหญ่ตามพื้นดิน อาหารได้แก่ หนอน แมลง แมงมุม หอยทาก ผลไม้ป่า รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่อยู่ตามพื้นหรือซอกหิน บางครั้งก็พบโฉบจับแมลงกลางอากาศใกล้ๆกับที่เกาะ

ชื่อชนิด solitari หรือ solitaries เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่า โดดเดี่ยว ความหมายก็คือนกที่มักพบโดดเดี่ยว โดยพบนกชนิดนี้ครั้งแรกของโลกที่ประเทศอิตาลี

ทั่วโลกพบ 5 ชนิดย่อย ในเมืองไทยพบเพียง 3 ชนิดย่อย ได้แก่

  1. solitarius subsp. affinis Blyth ชื่อชนิดย่อย affini หรือ affinis เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่า เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กับ ความหมายก็คือลักษณะไม่แตกต่างจากชนิดย่อยอื่นมากนัก โดยพบนกชนิดย่อยนี้ครั้งแรกของโลกที่ประเทศเมียนมาร์ ในเมืองไทยพบทั่วทุกภาค เป็นนกอพยพ

Monticola solitarius subsp. madoci Chasen, 1940 ชื่อชนิดย่อยนี้เป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล โดยพบนกชนิดย่อยนี้ครั้งแรกของโลกที่ประเทศมาเลเซีย มีสีสันเหมือนชนิดย่อย pandoo แต่สีเข้มกว่า ในเมืองไทยพบทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เป็นนกประจำถิ่น

Monticola solitarius subsp. philippensis Statius Muller, 1776 ชื่อชนิดย่อยนี้เป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ คือ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้เป็นครั้งแรกของโลก ชนิดย่อยนี้ตัวผู้บริเวณส่วนบนของลำตัว ใต้คอ และอกส่วนบนจะมีสีน้ำเงินสดใส อกส่วนล่างลงไปถึงใต้หางมีสีน้ำตาลแดง ดูคล้ายตัวผู้ของนกกระเบื้องท้องแดง(Chestnut-bellied Rock-Thrus) แต่ชนิดนี้มีลายเกล็ดที่ข้างลำตัว ส่วนตัวเมียมีลำตัวสีน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลเข้มที่ด้านล่างของลำตัว และด้านบนเป็นสีน้ำตาลอมฟ้า แต่ในชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ทั้งสองเพศจะมีลายเกล็ดสีขาวดำประปรายทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณใต้ท้อง ในเมืองไทยพบทั่วทุกภาค เป็นนกอพยพ

พบอาศัยทั่วไปตามพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เปิดโล่ง ตามอาคารหรือตึกสูงในเมือง ทุ่งโล่ง ป่าโปร่ง เขาหินปูน ป่าดิบ ตลอดจนบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,830 เมตร ทั่วทุกภาค

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546

แพร่กระจายไปในหลายทวีป ได้แก่ ทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………