The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by gwarrg, 2023-07-04 21:53:16

ลีซู

ลีซู

Keywords: ลีซู

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ก คำนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ อำเภอเชียงดาวและอำเภอเวียงแหง ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 4,893 ตารางกิโลเมตร มีโรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ๑๕๓ โรงเรียน สถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุรกันดาร ห่างไกล ตั้งอยู่บนภูเขาสูง ผู้รับบริการประกอบไปด้วยผู้คน หลากหลายเชื้อชาติทำให้มีความแตกต่างและมีความหลากหลายด้าน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา อาหาร การแต่งกาย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน อีกทั้งการติดต่อระหว่าง สถานศึกษาในเขตพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้ส่งเสริมการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ได้จัดทำโครงการรักถิ่นฐานผูกพัน บ้านเกิด โดยได้คำนึงถึงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนที่มีความตระหนักรู้จักท้องถิ่นของตน สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงหวงแหนวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามที่สืบทอดกันมา จึงจัดทำ องค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น ประกอบไปด้วยข้อมูลด้าน ๒ ด้าน คือด้านที่ ๑ ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑.สภาพทั่วไปของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน ๒.ประวัติความเป็นมาของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ๓.สภาพเศรษฐกิจ ๔.สาธารณูปโภค ๕.แหล่งท่องเที่ยว ๖.แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ๗.หน่วยงาน รัฐ/เอกชน และด้านที่ ๒ ข้อมูลด้านชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑.ชนชาติ/ชาติพันธุ์ ในชุมชน ๒.ศิลปวัฒนธรรม ๓.ภาษา/วรรณกรรม ๔.ภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้าน ๕.ประเพณี/พิธีกรรม/ งานเทศกาล ๖.ศาสนาและความเชื่อ ๗.ดนตรี/นาฏศิลป์/การละเล่นพื้นบ้าน ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ท้องถิ่น คณะกรรมการจัดทำ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่อง องค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ไว้ณ โอกาสนี้และหวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นแนวทางให้สถานศึกษาได้ นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง ตามบริบทของสถานศึกษา ผู้จัดทำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทนำ ค ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป 2 ศิลปวัฒนธรรม 4 ภาษา/วรรณกรรม 19 ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน 23 ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล 31 ศาสนาและความเชื่อ 47 ดนตรี/นาฏศิลป์/การละเล่นพื้นบ้าน 56 บรรณานุกรม 66 ภาคผนวกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 67


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ก บทนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 ระบุไว้ว่า การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของ ตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 7 ระบุว่า กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่ง ปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข รู้จักรักษา และส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ รวมทั้ง ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถใน การประกอบอาชีพ รู้จักตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าภารกิจในการจัดการศึกษา นอกจากต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ยังต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของ ท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคมการดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรัก ความผูกพัน และ มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์ต่อ การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในสังคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ อำเภอเชียงดาวและอำเภอเวียงแหง ครอบคลุม พื้นที่รับผิดชอบ 4,893 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ป่าไม้ และเป็นเขตชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เป็นแนวยาวมีระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร การจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีโรงเรียนที่อยู่ใน ความรับผิดชอบจำนวน 153 โรงเรียน การคมนาคมซับซ้อน และการติดต่อระหว่างสถานศึกษาเป็นไปด้วย ความยากลำบาก เนื่องจากสถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุรกันดาร ห่างไกล ตั้งอยู่บนภูเขาสูง ผู้รับบริการ ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้มีความแตกต่างและมีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา อาหาร การแต่งกาย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน นักเรียนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะเดินทางเข้าตัวเมืองเพื่อศึกษาต่อและประกอบอาชีพ คนวัยทำงานมีการย้ายถิ่นฐานเข้าไปในเมืองใหญ่ เนื่องจากแรงดึง (Pull force) ในด้านค่าตอบแทน ความเจริญในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ จึงได้ เล็งเห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณีทางสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในตนเอง ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สามารถแสวงหาบทบาทใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การคิดค้นหาแนวทางการพัฒนาหรือ แก้ปัญหา ช่วยสร้างพลังผลักดันให้ชุมชนขับเคลื่อนไปในทางที่ดีสอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง ของสังคมในปัจจุบัน โดยหลักสูตรท้องถิ่น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรัก ความหวงแหน และภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ได้คำนึงถึงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอน สามารถนําสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ก เกิดสัมฤทธิ์ผลบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง โดยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักท้องถิ่น ของตน สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงหวงแหนวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมา จึงได้จัดทำโครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด เพื่อสำรวจ รวบรวมและจัดทำ ข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น ประกอบไปด้วยข้อมูลด้าน ๒ ด้าน คือ ด้านที่ ๑ ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป และด้านที่ ๒ ข้อมูลด้านชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑. ชนชาติ/ชาติพันธุ์ในชุมชน ๒.ศิลปวัฒนธรรม ๓.ภาษา/วรรณกรรม ๔.ภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้าน ๕. ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล ๖.ศาสนาและความเชื่อ ๗.ดนตรี/นาฏศิลป์/การละเล่นพื้นบ้าน รวมทั้งสภาพ ปัญหาในชุมชน เพื่อจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่สถานศึกษาสามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ไปจัด ประสบการณ์ในหลักสูตรท้องถิ่นของตนเองตามบริบทของสถานศึกษา โดยครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดทำองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในด้านความหลากหลาย ของชาติพันธุ์ จำนวน 15 ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย ไชยปราการ เชียงดาว และ เวียงแหง โดยได้รวบรวมข้อมูลด้านชาติพันธุ์จากการสำรวจชุมชนของโรงเรียนต่างๆ ในสำนักงานเขต พื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 และตัวแทนครูจากทุกโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 153 โรงเรียน ได้สังเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อเป็นหนังสือองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ของสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยโรงเรียนสามารถเลือก คัดสรร ในการนำองค์ความรู้ไปใช้ใน การจัดการเรียนการสอน และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ต่อไป คณะผู้จัดทำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑ 0 เนื้อหาสาระ ลีซู เกริ่นนำ ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชนเผ่าต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัยมากมายหลายชน เผ่า ซึ่งแต่ละชนเผ่า ต่างมีประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และมีบุคลิก ลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ชนเผ่า ลีซู หรือลีซอ (Lisu) ก็เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งซึ่งได้ อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ ของเมือง เชียงตุง ประเทศสหภาพเมียนมาร์ เข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่ บ้านลีซูห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ลีซอเรียกตนเองว่า “ลีซู” คำว่า “ลี”มาจากคำว่า “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือ วัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน” มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มี ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของ ตนเอง ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต ซึ่งต่อมาได้กระจัดกระจายและ โยกย้ายถิ่นฐานไปตั้ง บ้านเรือนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่ และ จังหวัดสุโขทัย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง และรัก อิสระ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒ การแต่งกายของผู้ชายลีซู การแต่งกายของชาย หญิง ลีซู การแต่งกายของผู้หญิงลีซู 1.ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป ชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูได้ถูกกำหนดและเรียกโดยกลุ่มคนต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ Lihsaw, Li-shaw, Lisaw, Liso, Lu-tzu, Yaoyen, Yaw-yen, Yawin, และ Yeh-jen ชื่อชาติพันธุ์เหล่านี้เป็น ชื่อที่ถูกเรียกจากพื้นที่ที่ชาวลีซูอาศัยอยู่ เช่น ในประเทศจีนมีการเรียกชาวลีซูว่า Liso, Lisaw, Lis-hsaw หรือ Li-shaw สำหรับชาวลีซูที่อาศัยอยู่ทางตอนบนของสาละวิน ก็ถูกเรียกโดยคนจีนเช่นกันว่า Lu-tzu ซึ่งแปลว่าผู้ชายสาละวิน (Salween Men) หรือ Yeh-jen แปลว่า คนป่า ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ชาวลีซูถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยของคะฉิ่น และได้ถูกขนานชื่อชาติพันธุ์จากคนคะฉิ่นว่าเป็น Yawyin, Yaw-yen, และ Yaoyen ส่วนกลุ่มคนที่พูดภาษาไตและอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยเรียกชื่อชาติ พันธุ์ลีซูตามคนจีน คือ Lisaw, หรือ Li-shaw แต่โดยทั่วไปชาวลีซูจะเรียกตนเองว่า “ลีซู” เท่านั้น (Lebar, n.d.: 27) คนลีซูทั่วไปมักจะแนะนำตนเองหรือบอกกับชาติพันธุ์ลีซูคนอื่น ๆ ว่าตนเป็นลีซูด้วยคำว่า "ลีซู" เท่านั้น ตัวอย่างเช่น เวลาที่ไม่แน่ใจว่าคู่สนทนาหรือกลุ่มที่สนทนาด้วยเป็นลีซูหรือไม่ ก็จะตั้งคำถามออกไปว่า “คุณเป็นลีซูหรือเปล่า” หากแต่โดยทั่วไปคนภายนอกมักจะรู้จักและคุ้นเคยกับชื่อ “ลีซอ” มากกว่า “ลีซู” ชาวลีซูอาศัยอยู่บนเนินเขา ความสูงไม่น้อยกว่า 800 เมตร มีน้ำใช้สะดวก มีธารน้ำไหลผ่าน พื้นที่ สูงสุดของหมู่บ้านจะเป็นที่ตั้งของศาลผีประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีผู้เฒ่า ปลูกบ้านคร่อมบนดินเพราะป้องกันความ หนาวได้ดี การจัดที่ในบ้าน จะทำเป็นสัดส่วน กั้นเป็นห้องนอน เป็นที่เก็บเครื่องมือการเกษตร และมีชั้นไม้ใผ่ สำหรับวางเครื่องครัว การแบ่งกลุ่มลีซอแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มลีซูลาย (Florid/Flowery/Variegated Lisu) อาศัยอยู่ในประเทศไทยและอินเดีย กลุ่มลีซูดำ (Black Lisu/Independent Lisu) อาศัยอยู่ในประเทศพม่า และจีน โดยเฉพาะในเขตการปกครองฟูกง (Fugong) และด่งฉาน (Dongshan) มณฑลยูนนาน (Liao Pin, 1989: 122) และบางส่วนในประเทศไทย แต่ก็มีการบันทึกไว้อีกเช่นกันว่ายังมีลีซูอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มลีซูขาว (White Lisu) (อะซามะ ฉินหมี, 2548: 46) ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศจีนเช่นกัน และเนื่องจากลีซูถูก สันนิษฐานว่ามาจากประเทศจีน ชาวลีซูแต่ละกลุ่มจึงถูกเรียกด้วยภาษาจีนดังต่อไปนี้ ลีซูลาย คือ Hua/Hwa ลีซูดำ คือ He/Hei และลีซูขาวคือ Pai/Pe การที่ชาวจีนได้แยกชาวลีซูออกเป็นสามกลุ่มเช่นนี้ เป็นเพราะแต่ ละกลุ่มมีความแตกต่างกันในเรื่องของการแต่งกาย ภาษา และระดับหรือความเข้มข้นของการถูกทำให้ กลายเป็นจีน (Sinicization) )Lebar, n.d.: 27, LeBar, et al. 1964: 77( อย่างไรก็ตาม ลีซูลายจะเรียก ตนเองเป็นภาษาลีซูว่า ลีซูเชเช (Lisu Sha Sha) ลีซูดำจะเรียกตนเองว่า ลีซูโลหวู่ (Lisu Lo Wu) ส่วนลีซูอีก กลุ่มหนึ่งเรียกตนเองว่า ลีซูหลู่ซือ (Lisu Lushi) (Bradley, 2008: 3) ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓ เมื่อ พ.ศ. 2501 ได้สำรวจประชากรลีซู พบว่ามีประมาณ 7,500 คน และมีอัตราเพิ่มขึ้นคิดเป็น 3.6% ต่อปี ตลอดระยะ 25 ปี ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มโดยธรรมชาติ เพราะมีการอพยพเข้ามามากขึ้น ขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2526 นี้มีประชากรลีซูอยู่ในพม่า 250,000 และในจีนราว 500,000 คน มีหลายร้อย ครอบครัวที่เข้ามาอยู่ในทางชายแดนของตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ไม่มีอยู่ในลาว และเวียดนามเลย ส่วนลีซูใน ไทยนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ราว 47% เชียงราย 23 % แม่ฮ่องสอน 19% อีก 11% กระจัดกระจายกัน อยู่ในพะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ลีซูในเมืองไทยปัจจุบันแตกต่างไปจากชนเผ่าในตอนเหนือของพม่ามากมาย อาจเป็นเพราะได้แยก แตกตัวมาจากจีนส่วนใหญ่หลายชั่วคนแล้ว แถมยังมีการสมรสกับจีนฮ่อ จนผสมผสานกันถึงขั้นเรียกตนเองว่า ลีซูจีน ประชากรลีซูจากการสำรวจในปี พ.ศ.2540 ของสถาบันวิจัยชาวเขามี 30,940 คน 151 หมู่บ้าน 5,114 ครัวเรือน คิดเป็น 4.11% ของประชากรชาวเขาทั้งหมดแบ่งเป็น อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 23% จังหวัดเชียงราย 19% จังหวัดแม่ฮ่องสอน 11% และกระจายทั่วไปในจังหวัด พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตระกูลลีซูที่มีอยู่ในประเทศไทย ชนเผ่าลีซูนิยมตั้งบ้านเรือนหรือตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กันกับญาติพี่น้องหรือมีตระกูลเดียวกัน ตระกูลลีซอมีประมาณี 20 ตระกูล มีทั้งสืบเชื้อสายจากจีนและที่เป็นลีซูแท้ๆ ชนเผ่าลีซูแท้ๆ นั้น จะมีน้อยกว่า แซ่สกุลที่สืบเชื้อสายมาจากจีนแต่ละตระกูลเขารู้จักกันดีไม่ว่าจะอยู่ไหนก็มีการเคารพนับถือกันตามลำดับ เมื่อ เป็นตระกูลเดียวกันจะเกี้ยวพาราสีหรือแต่งงานกันไม่ได้ ตระกูลของลีซู ได้แก่ 1. ตามี่ (ต๊ะหมิ) หมายถึง น้ำผึ้ง เบียะตูเบ 2. แซ่ย่าง (หย่าจา) 3 .แซ่ย้าง 4. แสนมี่ (ต๊ะหมิ) หมายถึง น้ำผึ้ง เบียะซื้อวี 5. แซ่เมี่ (ซญ่อหมิ) 6. แซ่ลี้ (หลี่จา) 7. แซ่ลี้(นุหลี่) 8. แซ่จู (จูจา) 9. แมวป่า (วูชือ) 10. สิ้นจ้าง (จญาจา) 11. เลายี่ปา (งั่วะผ่ะ) 12. แสนว่าง (หว่าจา) หมายถึง หมี 13. สีตอน (ตอจา) หมายถึง ไม้ 14. แซ่ยี่ 15. เมี้ยะ 16. สินโล่ 17. โนรี 18. งัวจิโป๊ะ 19. เลาหมี่ 20. เลาหมู่


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔ ลวดลายตกแต่งผ้าลีซู 2.ศิลปวัฒนธรรม การแต่งกายของชนชาติพันธุ์ลีซู ลีซอได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสันสดใสและหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด มีความกล้า ในการตัดสินใจและมีความเป็นอิสระชนสะท้อน ออกมาให้เห็นจากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงในการเครื่องแต่ง กาย ชาวลีซอเรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ของตนเอง ดังนั้นหากมองในแง่วัฒนธรรมและบุคลิกภาพแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซอ เป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่าน การเลือกสรรและจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยไม่แยกแยะด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซอมีศักยภาพใน การปรับตัวเข้ากับความ เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถธำรงรักษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ เอาไว้ได้เช่นกัน ลักษณะการแต่งกายของหญิงลีซอมีความโดดเด่นมาก ตั้งแต่ผ้าโพกหัว ที่เป็นทรงป้านกลม ตกแต่ง ด้วยลูกปัดและพู่ประดับหลากสี เวลาสวมใส่จะส่งให้ใบหน้าของผู้หญิงดูโดดเด่น สวยงาม เสื้อตัวยาวตัดเย็บ ด้วยผ้าสีสดใสตกแต่งด้วยริ้วผ้าเล็ก ๆ สลับสี สวมทับ กางเกงขายาว ครึ่งน่องสีดำ มีผ้าคาดเอวที่เมื่อคาดแล้ว จะทิ้งชายไปทางด้านหลังเป็นพู่หางม้า ทำจากผ้าหลากสีเย็บเป็นไส้ไก่เส้นเล็ก ๆ จำนวนกว่า 100 เส้นขึ้นไป เมื่อเคลื่อนไหว พู่จะกวัดแกว่งไปด้วยดูน่ารักสวยงามมากและสวมสนับแข้งสีสด หญิงสาวและหญิงสูงอายุแต่งกายคล้ายกันต่างกันเฉพาะการใช้สี ซึ่งในกลุ่มหญิงสูงอายุจะใช้สีขรึมเข้ม กว่า และผ้าโพกหัวก็ใช้ผ้าสีดำโพกพันไว้ ไม่มีลูกปัดและพู่ประดับ ผู้ชายสวมกางเกงสีสด และสาวเสื้อสีดำตกแต่งด้วยเม็ดเงินคาดเอว ประดับด้วยพู่หางม้าทำจากผ้าเย็บ เป็นไส้ไก่สลับสี เวลาคาดเอวจะทิ้งชายลงมาทางด้านหน้า เด็ก ๆ ยังคงสวมใส่ชุดประจำเผ่าให้เห็นโดยทั่วไป เครื่องแต่งกายชายลีซอ สวมกางเกงขากว้างยาวเลยเข่าเล็กน้อยลักษณะ สีที่นิยมคือ สีฟ้า เขียวอ่อน หรือสีอื่น ๆ (ที่เป็นสีโทน เย็น) ส่วนคนสูงอายุนิยมใช้สีดำหรือสีม่วงเข้ม เสื้อคล้ายเสื้อแจ็คเก็ต สีดำทำด้วยผ้าใยกัญชา (ในอดีต) หรือผ้า กำมะหยี่ (ในปัจจุบัน) ประดับด้วยแผ่นโลหะเงินรูปครึ่งวงกลมเย็บติดกับเสื้อเรียงเป็นแถวทั้งข้างหน้าและข้าง ศิลปวัฒนธรรม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๕ หลัง (เสื้อกำมะหยี่นี้จะสวมเฉพาะวันปีใหม่ และวันแต่งงานของตนเองเท่านั้น) อีกทั้งนิยมสวมถุงน่องเป็นผ้าดำ และติดด้วยแถบสีสดใส เครื่องแต่งกายหญิงลีซอ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หญิงสาว หญิงแต่งงานแล้ว หรือคนชรา จะแต่งกายเหมือนกันหมด กางเกงจะเป็นสีดำ ยาวเลยเข่าเล็กน้อย มีเสื้อคลุมยาว นิยมสีฟ้า หรือสีโทนเย็นที่มีสีสดใส ตัวเสื้อตั้งแต่เอวลงมาจะผ่าทั้งสองข้าง แขนยาว ที่ปกคอติดแถบผ้าสีดำ ยาวประมาณ 1 คืบ ช่วงต้นแขนและหน้าอกตกแต่งด้วยผ้าหลากสีเย็บติดกัน เป็นแผ่น คาดเข็มขัดซึ่งเป็นผ้าดำผืนใหญ่ กว้างขนาดฝ่ามือ หญิงนิยมโพกศีรษะ (จะใช้ผ้าโพกศีรษะเฉพาะใน งานสำคัญ เช่น งานแต่งงาน ปีใหม่) ใช้ผ้าพันแข้งด้วยผ้าพื้นสีโทนร้อน (แดง ชมพู ม่วง) ปลายขอบล่างติดแถบ ผ้าหลากสีและมีลายปักที่สวยงาม เมื่อมีพิธีกรรมหรืองานฉลองก็จะสวมเสื้อกั๊กผ้ากำมะหยี่ ซึ่งประดับด้วยแผ่น โลหะเงินรูปครึ่งวงกลม และเหรียญรูปี


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๖ การผลิต หน้าที่ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็นของฝ่ายหญิง เช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ วัสดุที่ใช้ผลิตปัจจุบัน จะ ซื้อผ้าทอและด้ายย้อมสีสำเร็จรูปจากโรงงานที่มีขาย ตามร้านเจ้าประจำ ซึ่งเป็นที่รู้จักดีของลีซอแต่ละหมู่บ้าน ลักษณะการทอผ้าของลีซอ เหมือนกลุ่ม มูเซอคือ เป็นแบบห้างหลัง หรือ สายคาดหลัง (Back strap) การทอผ้าเพื่อเย็บสวมใส่ไม่ มี ปรากฏในชุมชนลีซอของประเทศไทย ปัจจุบันมี เพียงการทอผ้าหน้าแคบขนาดเล็ก ๆ เพื่อน ำมาเย็บ ประกอบเป็นย่ามเท่านั้น การตกแต่ง ลักษณะการตกแต่งเสื้อผ้า ส่วนใหญ่เน้นประดับด้วยแถบริ้วผ้าสลับสี ผ้าตัดปะและเม็ดโลหะเงินมีการ ตกแต่งด้วยลายปักบ้างเล็กน้อย บริเวณช่วงต่อระหว่างผ้าคาดเอวกับพู่ห้อย และด้านข้างสายย่ามช่วงต่อกับพู่ที่ จะทิ้งชายลงมาทั้ง 2 ด้านเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูโดดเด่นขึ้นอีกหลายแบบ เช่น ใช้พู่ ไหมพรมหลากสี กระจุกด้าย ลูกปัด และเครื่องเงิน เครื่องแต่งกายในโอกาสพิเศษจะเห็นได้ว่าผู้ชายเน้นการตกแต่งรอบคอเสื้อด้วยเม็ดเงินส่วนผู้หญิงจะมี เสื้อกั๊กประดับเม็ดเงินทั้งตัวสวมทับอีกชั้นหนึ่งและเน้นให้โดดเด่นขึ้นด้วยผ้าโพกหัวที่ประดับสวยงาม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๗ ลวดลาย ลักษณะลวดลายพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักดีในกลุ่มผู้หญิง และส่วนใหญ่ เป็นลวดลายที่เกิดจากการใช้แถบริ้วผ้า สลับสีผสมผสานกับลายตัดผ้าปะมีดังนี้ คัวะเพียะคว้า (ลายหางธนู) ลายเพียะกุมาคว้า (ลายหน้าอกเสื้อ) อ๊ะหน่ายือ(ลายเขี้ยวหมา)ลายนี้ยิ่งทำเขี้ยวได้เล็ก มากเท่าไหร่แสดงว่าผู้ทำมีฝีมือมากเท่านั้น ฟูยีฉี่ (ลายท้องงู) ลายนะหูเมื่ยซือ (ลายหมวก)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๘ ลายอี๊กือจะย่า(ลายริ้วผ้าสลับสี) ใช้สลับหรือกำหนดลาย ลายอี๊กือจะย่า (ลายริ้วผ้าสลับสี) และอ๊ะหน่ายือ (ลายเขี้ยวหมา) จะใช้ประกอบกับทุกลาย ส่วนลายอื่น ๆ ได้แก่ลายคัวะเพียะคว้า (ลายหางธนู) ลายเพียะกุมาคว้า (ลายหน้าอกเสื้อ) ลายฟูยีฉี่ (ลายท้องงู) และลายนะหูเมี่ยซือ(ลายหมวก)ไม่นิยมนำมารวมกัน จะเลือกใช้เพียง ลายใดลายหนึ่งนำมาเป็นลายหลักแล้วแต่งประกอบด้วยลายอี๊กือจะย่า และลายอ๊ะหน่ายือ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ ตกแต่งแขนเสื้อ เข็มขัด และหมวกเด็ก


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๙ การเย็บผ้าเป็นไส้ไก่ “ซะยือคือแม่แล่” ลีซอมีความเชี่ยวชาญในการเย็บผ้าเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 8 – 12 เซนติเมตร สีสันสดใส เพื่อนำมามัดรวมกัน ติดปลายแต่ละเส้นด้วยกระจุด้ายเล็ก ๆ สวยงาม เพื่อใช้เป็นพู่ประดับผ้าคาดเอว ทั้งชาย หญิงและหมวกผู้หญิง เพื่อสวมใส่ในโอกาสสำคัญ จำนวนไส้ไก่มัดหนึ่งๆ ต้องมากกว่า 200 เส้น มิฉะนั้นพู่ ประดับจะแกว่งไกวไม่สวยเวลาเคลื่อนไหวเต้นรำ ชุดลีซูโบราณ ชุดลีซูปัจจุบัน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๐ พวงปลา เครื่องประดับ กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู เครื่องประดับโลหะเงินสวมผู้ชายสวมคอด้านหน้าผู้หญิงคอด้านหลัง ทำเป็นสร้อยสี่เสา ประดับจี้และ ตุ้งติ้งขนาดใหญ่ห้อยยาวจนถึงกลางลำตัว แบ่งเป็น ๓ แถว แถวบนประกอบด้วย จี้ทรงกลม (คล้ายดอก เบญจมาศ) ห้อยกระพวน และตุ้งติ้งรูปน้ำเต้า แถวกลางเป็นจี้รูปผีเสื้อห้อยกระพวน ตุ้งติ้งรูปปลาและตุ้งติ้งรูป น้ำเต้าแถวล่างทำเป็นจี้รูปปลาห้อยกระพวน ตุ้งติ้งรูปปลาและตุ้งติ้งรูปน้ำเต้า การสื่อความหมายในเครื่องประดับ - ดอกเบญจมาศ (จวี๋ฮวา) แทนคำว่าซิ่วหมายถึงความยั่งยืน - ผีเสื้อ สื่อถึง ความงดงามและอุดมสมบูรณ์ - ปลาถือเป็นสัตว์มงคลสำหรับชาวจีน ความหมายส่วนใหญ่จะเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง การมี เงินทองล้นหลาม ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ - น้ำเต้า สื่อถึง ความเชื่อ เก่าแก่ ที่เชื่อว่า คน ถือกำเนิดมาจากน้ำเต้า เครื่องประดับโลหะเงินสวมผู้ชายสวมคอด้านหน้า ผู้หญิงคอด้านหลัง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๑ อาหารของชนชาติพันธุ์ลีซู ชนเผ่าลีซู(ลีซอ) ทำอาหารกันอย่าง ง่าย ๆ ชอบรสจืด ๆ ไม่มีรสเผ็ด ขนบธรรมเนียมในการับประทาน ไม่ต่างอะไรกับจีน เขาตักอาหารใส่ถ้วยวางไว้บนถาดหวายกลมแบบสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า “ ฮางเตีย ” คดเอาข้าวเจ้านึ่งซึ่งมีเมล็ดกลม ๆ สั้น ๆ ใส่ในกระบะไม้ไผ่มีรูปร่างคล้ายชามก้นลึกวางไว้กลางถาด ตักแกงใส่ถ้วยสังกะสีวางไว้ตรงข้างถาดข้าว วางตะเกียบตามจำนวนคน ใช้ถ้วยสำหรับตักข้าวขนาดถ้วยแกง ธรรมดา เสร็จแล้วยกไปตั้งกลางพื้นดิน เลื่อนเอาตั่งหวายเตี้ย ๆ วางไว้ให้นั่ง สุราข้าวโพดอย่างดี ถ้วยสุรา ถ้วน น้ำชาและกาน้ำร้อนวางไว้พร้อม การรับประทานจะต้องนั่งที่ตั่งหวายชันเข่า หยิบถ้วยขึ้นใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวลง ใส่ถ้วยนั้นแล้วข้าวใส่ปากอย่างชาวจีนรับ ประทานอาหาร อาหารของเขาไม่มีอะไรมาก มีแต่แกงผักกาดอย่าง เดียว เพราะขนบธรรมเนียมของชาวลีซอถึงจะมั่งมีแต่การรับประทานอาหารประหยัดที่สุด ไม่รับประทาน ฟุ่มเฟือยหลายอย่าง ไม่ใช้น้ำปลา ใช้เกลือ ๒ - ๓ เม็ดแทน ชาวลีซู (ลีซอ) แทบทุกคนชอบเคี้ยวหมาก เขา เคี้ยวหมากภายหลังจากรับประทานอาหารผ่านไปแล้วสักครึ่งชั่วโมง เครื่องประกอบของหมากไม่ได้ปลูกหรือ จัดทำขึ้นเองในหมู่บ้าน แต่หาซื้อเอามาจากหมู่บ้านชาวล้านนาซึ่งอยู่ตีนเขา นอกจากเคี้ยวหมากแล้วยังชอบสูบ บ้องยา บางคนสูบฝิ่นอีกด้วย อาหารที่นิยมรับประทานกันในท้องถิ่นมีดังนี้ ต้มผัก ต้มมันฝรั่ง ผัดถั่ว


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๒ อาหารที่จะประกอบในเทศกาลหรือเวลามีพิธีกรรม ชนชาติพันธุ์ลีซูจะมีการประกอบที่อาหารจะใช้ในงานเทศกาลหรืองานพิธีกรรม 3 อย่าง คือ ๑. มาหวู่จ๊าจ๊า (ต้มหน่อไม้กับกระดูกหมู) ยำแตง ยำผักส้ม ไก่ต้ม น้ำพริก ลาบ ไส้อั่ว


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๓ ๒. ขว่ากีกือ (ลาบหมู) ๓. ขว่าลูๆ (ทอดหมู)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๔ ๔. ป่าปา (ข้าวปุก) ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งสุกนำมาตำกับงาขาวแล้วปั้นเป็นแผ่น มักทำในช่วงเทศกาลปีใหม่ลีซู ชนชาติพันธุ์ลีซูมีอาหารที่ขึ้นชื่ออีก คือ ๑. จ้า สู่ แปะ แปะ หรือ ยำมะเขือเทศ เป็นอาหารที่จะต้องมีเพื่อไปทำไร่ทำสวน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๕ ๒. ลาจึติ๊ติ๊ลุลุ (น้ำพริกคั่ว) ลาจึติ๊ติ๊ลุลุ (น้ำพริกคั่ว) เป็นอาหารที่ชาวลีซู ทำเป็นประจำโดยใช้พริก กระเทียม และเกลือ มาโขลก เข้าด้วยกัน คั่วด้วยไฟกลางให้พริกหอมและแยกชั้นจากน้ำมันก็เป็นอันเสร็จ โดยตามหลักโภชนาการแล้ว พริก มีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยในเรื่องการย่อยอาหาร ขับลม ลดระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ทั้งยังขับเหงื่อและมีสารต้านอนุมูลอิสระ กระเทียม ช่วยขับลมและย่อยอาหาร ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลด การอักเสบ เหนี่ยวนำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์บำรุงระบบประสาท ป้องกันการอุดตันในหลอดเลือด ชนชาติพันธุ์ลีซูยังมีการถนอมอาหารเพื่อที่จะสามารถเก็บไว้กินในยามแล้ง ได้แก่ ๑. ผักกาดดอง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๖ ๒. ผักกาดตากแห้ง ๓. ไส้กรอก


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๗ ๔. หมูน้ำค้าง ๕. รากหอมชูดอง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๘ ๖. หมูเค็มตากแดด


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๙ นิทานเรือ่ง จกัจัน่(เบจ)ุภาษา ชือ่ภาพ เรื่อง จักจั่น (เบจุ) 3.ภาษา/วรรณกรรม ชาวลีซูจัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ลีซูมีภาษาพูดเป็นของตนเอง ไม่มีภาษาเขียนของ ตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือศาสนาคริสต์ จะใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่า นิทาน ตำนาน และสุภาษิต ลีซูมีนิทาน มากมาย มีทั้งนิทานตลกขบขัน นิทานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มักจะมีการเล่านิทาน ตำนาน หรือสุภาษิตให้กับลูกหลานได้ฟังก่อนนอน ลีซอ อยู่กลุ่ม เดียวกับ มูเซอ และอาข่า เรียกว่าโลโล กลุ่มโลโลมีความสัมพันธ์กับภาษาพม่ามีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับ ลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน ได้ ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าการตั้งชื่อ นับตามลำดับเลขที่ 1 – 2 – 3 ผู้ชาย ลงท้าย ด้วย ยะ เช่นอะเบยะ ผู้หญิง ลงท้ายด้วย มะ ภาษาที่มีตัวเขียน ภาษาเขียนในคัมภีร์ในศาสนาคริสต์ของชาติพันธุ์ลีซูที่ดัดแปลงมาจากอักษรโรมัน ภาษา/วรรณกรรม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๐ ภาษาที่ไม่มีตัวเขียน สรรพนามแทนตัว ฉัน - งัว เธอ - นู (นา) เขา - ยี้ คูมา - ครูผู้หญิงมา คูผะ - ครูผู้ชาย สรรพนามเรียกเครือญาติ พ่อ - บ๊ะ บ่า (อา บ่า) แม่ - มะ มา (อา มา) ลุง - อู๊ ผะ ป้า - อู๊ มา ปู่ ตา - อา ปา ย่า - อาผ่อ ยาย - อาผ่อ (โผ่) พี่ชาย - กู๊ กู พี่สาว - จี๊ จิ (อาจิ) ตามด้วยชื่อ น้องชาย - งึสะ น้องสาว - งึ มา หลานชาย - ลี๊ ป๊า หลานสาว - ลี๊ มา ลูกเขย - มู้ (ว) ลูกสะใภ้ ลูกสะใภ้ - สึ มา ภาษาสำหรับเด็กที่กำลังฝึกพูด และใช้สื่อสารกับคนรอบข้างมีอยู่ 4 หมวด 1) หมวดกิริยา ภาษาลีซู ความหมาย อ๊ะคลือ การทักทายของเด็ก เป็นคำแรกที่เด็กพูดได้ อ๊ะบลู่แบ การแบกเด็กขึ้นหลัง เด็กจะพูดตอนที่เด็กขอขี่หลัง ด่าด๋า การยืน โต่โต๋ การนั่ง เอ่เอ๋ ถ่ายอุจจาระ แนะแนะอ่ำ การกิน แอะแอ สิ่งสกปรก อ่ามิแบ การนอนหลับ ป่าตี้ หล่นลงมาหรือตกลงมา ด่าด๋าสู่ว การหัดเดิน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๑ 2) หมวดนาม ภาษาลีซู ความหมาย อ่าอ๋า เนื้อ จุ๊จุ๊ น้ำ เบี่ยเบียะ ขนม หม่าหมา กิน ก๊ะก๊ะ ไม้ โอ่โอ๋ ผลไม้ วี่วี ดอกไม้ 3) หมวดเครือญาติ ภาษาลีซู ความหมาย อ๊ะบา พ่อ อ๊ะมา แม่ จี้จิ พี่สาว โก้โก พี่ชาย อาปา อาหย๋า ปู่ ย่า อาปา อาผู่ ่ตา ยาย 4) หมวดเรียกสัตว์เลี้ยง ภาษาลีซู ความหมาย จิ๊จิ๊ ลูกไก่ อ๊ะแหวะนินิ ลูกหมู อ๊ะหน่าบิ๊บิ๊ ลูกหมา ที่มา http://www.openbase.in.th/node/1419


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๒ วรรณกรรมพื้นบ้าน ชาวลีซูมีนิทานเป็นจํานวนมาก มีทั้งนิทานตลกขบขัน นิทานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การวางตัว ตํานานหรือสุภาษิต เช่น นิทานลีซูเรื่องกวะตะซาผะ (คนเจ้าเล่ห์) ส่วนใหญ่ก่อนนอนคุณพ่อ คุณแม่ คุณย่า คุณ ยายจะมีการเล่านิทาน ตํานาน หรือสุภาษิตให้กับลูกหลานได้ฟังก่อนนอน ประเภทนิทาน คติเตือนใจ เรื่อง จักจั่น (เบจุ) กาลครั้งนานมาแล้ว ยุคสมัยนั้นมีสัตว์กับพืชผลสามารถพูดได้ อยู่มาวันหนึ่ง มีกวางตัวหนึ่งกำลังกิน หญ้าอยู่ในป่าใหญ่อย่างเพลิดเพลิน ขณะนั้นมีจักจั่นตัวหนึ่งร้องเพลง ออกมาอย่างสุดเสียง ทำให้กวางตัวนั้น ตกใจ กวางก็วิ่งหนีสุดแรงขาก็เลยไปเหยียบรูหนู หนูก็ตกใจก็วิ่งออกมากัดขั้วฟักทอง ฟักทองก็กลิ้งลงไปทับต้น กล้วยที่เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวจนล้ม ค้างคาวก็ตกใจบินเข้าไปงวงช้าง ช้างก็ตกใจที่ค้างคาวบินเข้างวง ตัวเอง ก็เลยไปพังวังของพระราชา พระราชาก็ตกใจจึงถามช้างว่า เจ้าพังวังของข้าทำไม ช้างก็ตอบว่าค้างคาว เข้ามาอยู่ในงวงข้าทำไม พระราชาก็ไปถามค้างคาวว่าเจ้าเข้าไปอยู่งวงช้างทำไม ค้างคาวก็ตอบว่า ฟักทองกลิ้ง มาทับบ้านข้าทำไม พระราชาก็ไปถามฟักทองต่อว่าเพราะอะไรเจ้าจึงไปกลิ้งทับบ้านค้างคาว ฟักทองก็ตอบว่า หนูทำไมต้องกัดขั้วข้าทำไม พระราชาก็ไปถามหนูว่า นี่หนูเพราะอะไรเจ้าจึงไปกัดขั้วฟักทอง หนูตอบว่ากวาง มาเหยียบบ้าน (รู) ข้าทำไม แล้วพระราชาก็ไปถามกวางว่า ทำไมเจ้าไปเหยียบบ้าน (รู) ของหนู กวางก็ตอบว่า จักจั่นร้องเพลงเสียงดังทำไม พระราชาจึงไปถามจักจั่น เจ้าทำไมต้องร้องเพลงเสียงดังด้วย จักจั่นตอบว่า ที่ข้า ร้องเพราะข้ามีความสุขจึงร้องออกไป ถ้าหากพระราชาไม่ยอมก็ให้ผ่าเอา ตับ ไต ไส้ พุงของข้าไปกิน ตั้งแต่นั้น มาจักจั่นก็มีชีวิตอยู่โดยไม่มี ตับ ไต ไส้ พุงมาจนถึงทุกวันนี้ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จะทำอะไรควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดี ๆ https://citly.me/9shlt


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๓ เครือ่งเงิน การท าไม้กวาด ตีมีด 4.ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญา ชาวลีซูเป็นชนเผ่าที่ใช้ชีวิตอยู่บนภูเขาสูงสลับซับซ้อนอาศัยป่า และใช้ทรัพยกรธรรมชาติเป็นเครื่อง หล่อเลี้ยงชีวิต เริ่มตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ทวด มีอาชีพทำไร่ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือทำมาหากิน อุปกรณ์เหล่านี้ เป็นเครื่องมือของชาวลีซู ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอุปกรณ์ที่ทำขึ้นเหล่านี้มีแนวคิดใน การจัดทำเป็นของชาวลีซูเอง. ซึ่งถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ โดยมีดังนี้ 1.ภูมิปัญญาลีซูกับการจัดการทรัพยากรป่า ชาวลีซูให้นิยามคำว่า “ป่า” อันหมายถึงพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ไม่มีใครถือครองและเป็นเจ้าของ แต่จะมี เทพเจ้าแห่งป่า “อิ๊ด่ามา” สถิตอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่เป็นเทพที่ พระเจ้าวูซาให้มาดูแลรักษา และในพื้นที่ป่านั้นทุก คนมีส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน เพียงแต่ ทุกคนที่เข้าไปเอาประโยชน์จากป่าจะต้องแจ้งให้ “อิ๊ด่า มา” ทราบก่อน ความเชื่อเกี่ยวกับการจัดการป่า ชาวเผ่าลีซูเชื่อว่าป่าทุกผืน จะมีเทพอิ๊ด่ามาเป็นผู้ปกป้อง คุ้มครองและรักษา ในขณะเดียวกันป่า ซึ่งประกอบด้วยต้นไม้นานาชนิดก็จะมีเทพ “สือดู่สื่อผ่า สื่อดู่สื่อมา” เป็นเจ้าของต้นไม้หากมีการทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตป่าจะต้องขอขมาและจะต้องแจ้งให้เทพแห่งป่าได้รับทราบ ก่อน ไม่เช่นนั้นจะได้รับภัยพิบัติ การจัดประเภทป่าของชนเผ่าลีซู สามารถจัดแบ่งประเภท ป่าได้ 2 วิธีคือ 1. การจำแนกป่าตามสภาพภูมิประเทศ แบ่งเป็น 1.1 ป่าเขตเย็น (อาจญาหมู่ว) เป็นป่าที่สำคัญยิ่งสำหรับการ ดำเนินชีวิตซึ่งชนเผ่าลีซู ถือว่า ป่าเย็นเป็นป่าที่น้ำออกหรือมีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีคำกล่าวของชนเผ่าลีซูว่า “น้ำแห้ง อย่าลงล่าง แต่ให้ ขึ้น บน” สื่อความว่า ถ้าหากน้ำในลำห้วยแห้งอย่าลงไปหาน้ำในพื้นที่ ที่ต่ำ เพราะเราจะอดน้ำเสียก่อน แต่ให้เดิน ขึ้นข้างบนหรือพื้นที่สูงกว่าแล้วจะได้พบน้ำ จากคำสอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ป่าเขตเย็นจะเป็นต้นกำเนิดของน้ำ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มีพืชพรรณนานาชนิด เช่น หวาย เฟิร์น ไม้ก่อ นอกจากนี้แล้วยังเป็นเขต ป่าสมุนไพรมี สมุนไพรมากมายในบริเวณนี้ ชนเผ่าลีซูจะไม่นิยมทำกิจกรรมการเกษตรที่เข้มข้น เนื่องจากว่าเป็นป่าเขตอุดม สมบูรณ์ แต่จะทำกิจกรรมหาของป่าเป็นหลัก ในอดีตจะทำไร่ฝิ่น ซึ่งไร่ฝิ่นจะปลูกพืช แบบผสมผสาน ดังนั้นใน ไร่ฝิ่นและป่าในเขตเย็นถือได้ว่าเป็นคลัง อาหารของชุมชน ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๔ 1.2 ป่าเขตร้อน (ลุย์หมู่ว) เป็นบริเวณป่าที่ชุมชนชนเผ่าลีซูนิยมทำการเกษตร ปลูกพืชจำพวก พืชไร่และนิยมเก็บหาไม้มาใช้ในการสร้างบ้านเรือน ต้นไม้ในป่าเขตร้อนเป็นป่าไม้พลัดใบ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อ แข็งที่เหมาะการใช้ประโยชน์เช่น ไผ่ ไม้สัก ไม้สน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น ไก่ป่า หมู ป่า กระรอก และนกนานาชนิด เนื่องจากป่าบริเวณนี้มีอาหารอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของพันธุ์พืช ที่เติบโตอย่างหนาแน่น จึงเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ป่า 1.3 ป่ากึ่งร้อนกึ่งเย็น (หม่าลูย์หม่าจา) เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากมีความ หลากหลายทางพันธุ์พืช ชนเผ่า ลีซูนิยมใช้พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งชุมชน ปลูกข้าว ปลูกพืชผักและพืชไร่อื่น ๆ ใช้ไม้ใน การสร้างบ้านเรือน ตลอดจนเป็นแหล่งหาอาหารป่า 2. การจำแนกประเภทป่าตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 2.1 ป่ารับแสงอาทิตย์ (ตาหยา) ป่าบริเวณนี้เป็นป่าที่ได้รับ แสงอาทิตย์มาก มีอากาศถ่ายเท ได้ดี ชนเผ่าลีซูนิยมปลูกพืชสายพันธุ์ ที่ต้องการแสงมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าการทำการเกษตรในบริเวณนี้ส่วน ใหญ่จะได้ผลผลิตสูง ส่วนพืชผักจะไม่นิยมปลูกมาก เพราะมีช่วงอายุของการเก็บกินผักสดสั้น เนื่องจากมีแสง มาก มีความชื้นต่ำผักจะตายเร็ว ป่าในบริเวณนี้จะมีสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่อาศัยอยู่และ หากินในเวลาช่วงเช้าและค่ำ 2.2 ป่าลับแสงอาทิตย์ (ฉู่วยี) คือสภาพป่าที่ได้รับแสงอาทิตย์น้อยหรือมีช่วงเวลาในการ รับแสงอาทิตย์ต่ำทำให้มีความชื้นสูง ชาวลีซูจะนิยมปลูกพืชที่ต้องการแสงแดดน้อย ป่าบริเวณนี้มีความ หลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์และพืช แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสัตว์จะนิยมมา อาศัยและหากินในช่วงบ่าย หากชนเผ่าลีซูจะล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารของครอบครัวก็จะ นิยมล่าในช่วงบ่ายและ เช้า โดยดูจากลักษณะการหากินของสัตว์แต่ละช่วงเวลาเป็นอันดับแรก ป่าในบริเวณนี้ยังมีพืชจำพวกหวายขึ้น เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นป่าต้นกำเนิดของสายน้ำด้วย 3. การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่า ป่าเพื่อการประกอบพิธีกรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ของชนเผ่าลีซูเป็นอันดับต้น ๆ ตาม ประวัติศาสตร์ชุมชน มีชาว ลีซูมากมายไม่อาจตั้งชุมชนอยู่ได้ เนื่องมาจากการละเมิดกฎป่า พิธีกรรม ซึ่งป่าที่ใช้ ในการประกอบพิธีกรรมมีดังนี้ 3.1 ป่าอาปาโหม่ฮีคือ ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นเทพที่ คอยปกป้องคุ้มครองชุมชนและ มีความสำคัญอย่างมากในชุมชนของชนเผ่าลีซู เนื่องจากชุมชนจะอาศัยอยู่ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ “ป่าอา ปา โหม่” ซึ่งป่าบริเวณนี้จะมีผู้ดูแลที่เป็นตัวแทนของเทพหนึ่งองค์ต่อหนึ่งชุมชนเรียกว่า “หมือมือ” ทำหน้าที่ดูแล ความเรียบร้อยของชุมชน และบริเวณป่าอาปาโหม่ฮีนี้จะมีกิจกรรมที่เป็นการทำลายไม่ได้ เช่น ห้ามล่าสัตว์ หรือหาพืชพันธุ์ต่าง ๆ ดังนั้นบริเวณป่าอาปาโหม่ฮีจะมีพืชและสัตว์จำนวนมาก 3.2 ป่าอิ๊ด่ามา เป็นป่าที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณที่มีการทำพิธีกรรมป่าอิ๊ด่ามาจะตั้งอยู่ไกลจากชุมชนอย่าง น้อย 2 กิโลเมตร นิยมตั้งไว้บนสันเขาใหญ่เหนือหมู่บ้าน มีต้นไม้นานาชนิด ชนเผ่า ลีซูจะทำพิธีกรรมอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง มีผู้ดูแลศาลเจ้า 1 คน เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองพฤติกรรมของชาวลีซู หากมีการละเมิดกฎในขั้นแรก ผู้ดูแล (มือหมือ) จะทำโทษเอง แต่ถ้าหากมากไปกว่านี้จะทำ พิธีกรรมให้เทพเป็นผู้ลงโทษต่อไป ป่าในบริเวณ นี้ห้ามใครเข้าไป ทำลายต้นไม้และล่าสัตว์ ดังนั้นในบริเวณป่านี้จะมีความหลากหลาย ทางชีวภาพอยู่ พอสมควร


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๕ 3.3 ป่าบริเวณฝังศพ (หลี่จูว) ชนเผ่าลีซูไม่ฝังศพบริเวณ สถานที่เดียวกัน อันเนื่องมาความ พึงพอใจของญาติพี่น้องและการเลือกพื้นที่ของผู้ตายเอง ดังนั้นเวลาฝังศพคนตายจะมีการเสี่ยงทาย หาสถานที่ เพื่อฝังศพโดยการโยนไข่ ถ้าไข่แตกบริเวณใดก็หมายความว่าผู้ตายมีความพึงพอใจในที่นั้น ๆ อย่างไรก็ตามใน บริเวณที่มีการฝังศพจำนวน 3 ศพขึ้นไป สังคมลีซูจะไม่นิยมไปรบกวนป่าบริเวณนั้น จึงเป็นพื้นที่มีความอุดม สมบูรณ์มาก มีพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่าชุกชุม 3.4 ป่าอนุรักษ์หรือป่าหวงห้าม (อาจาอู้ดูว์) ส่วนใหญ่จะ เป็นป่าต้นน้ำและมีความสูงชัน เนื่องจากชาวลีซูเชื่อว่าป่าในบริเวณ ดังกล่าวจะมีเทพอาศัยอยู่ป่าในบริเวณนี้จะห้ามเฉพาะการทำลายป่า เท่านั้น เนื่องจากจะทำให้เทพโกรธเคืองและจะทำโทษด้วยการทำให้เจ็บป่วย แต่สามารถทำกิจกรรม อื่น ๆ เช่น หาอาหารป่าและ ยาสมุนไพรได้ 3.5 ป่าเพื่อการเกษตร (มู่ว์ยีกู) ป่าในบริเวณนี้จะสามารถแบ่งได้ทั้งพื้นที่เขตเย็น–ร้อน หรือกึ่ง ร้อนกึ่งเย็นก็ได้เพียงแต่ป่าบริเวณที่ทำการเกษตรจะต้องไม่ชันจนเกินไปและจะต้องไม่อยู่ในป่าต้น-น้ำ ป่าทำ การเกษตรของชาวลีซูส่วนใหญ่จะเป็นป่าไผ่สำหรับปลูกข้าวและพริก 3.6 ป่าเพื่อหาอาหารและสมุนไพร ในชุมชนลีซูจะหาอาหารและยาสมุนไพรได้ทุกพื้นที่ แต่ถ้า เป็นสัตว์จะไม่นิยมหาในบริเวณที่เป็นป่าพิธีกรรม การหาอาหารและยาสมุนไพรของชนเผ่าลีซูจะมีการกำหนด รัศมีการหาอาหารที่แตกต่างกันระหว่างชายกับหญิง 3.7 ป่าเพื่อการใช้สอยในวิถีชีวิต เผ่าลีซูจะมีกฎเกณฑ์ในการใช้ไม้และการเลือกใช้ต้นไม้ ชาวลีซูจะไม่นิยมใช้ต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่าและต้นไม้ที่เคยถูกทำพิธีกรรมมาก่อน ชาวลีซูนิยมใช้ไม้ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเลือกใช้ 4. กฎข้อห้ามในการเข้าป่า เวลาเข้าป่าเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มีกฎข้อห้ามคือ ไม่ให้ใช้หม้อตักน้ำและเก็บฝืน ห้ามขนลาก ฟืน เป็นต้น กฎเกณฑ์เหล่า นี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาวลีซูว่า ในป่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น ต้องให้ความ เคารพต่อป่า ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลป่า พิธีกรรม อิ๊ด่ามาหลั๊ะ เป็นพิธีกรรมคืนผืนป่าให้ เทพเจ้า อีกนัยหนึ่งคือการ สะท้อนถึงทัศนะในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติให้มีการเอื้อ อาทรต่อกันอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเป็นการฟื้นฟูและสืบทอดภูมิปัญญาชนเผ่าลีซูในการจัดการดิน น้ำ ป่า อย่างมีส่วนร่วมและให้ เกิดความ ยั่งยืน 2) เพื่อเป็นเวทีเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาของชนเผ่าลีซูในการ จัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า 3) เพื่อเป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการดูแลรักษาผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้เพื่อชุมชนและ สังคม 4) เพื่อเป็นจุดร่วมของสังคมในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และแก้ปัญหาการอยู่ร่วมในสังคมของชน เผ่า 5) เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในการจัดการ ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า อย่างมีส่วนร่วม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๖ 2.ภูมิปัญญาด้านการจักรสาน ในอดีตชาวลีซูในหมู่บ้านแม่อ้อในประดิษฐ์เครื่องจักสานสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมานำมาขายให้กับ ชุมชนอื่น เพื่อเพิ่มรายได้ในครอบครัว โดยการทำเครื่องจักรสานของชาวลีซูนั้น จะต้องเข้าป่าไปตัดไม้ ไผ่ เพื่อนำมาทำตอกแล้วทำเครื่องจักสานชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ตะกร้า ไม้กวาดกระบุง การทำไม้กวาด 3.ภูมิปัญญาด้านตีเหล็ก ชาวลีซูในอดีตจะมีช่างตีเหล็กประจำหมู่บ้านอย่างน้อยหมู่บ้านละหนึ่งคน โดยเป็นคนที่จะคอย ประดิษฐ์ และซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น มีด จอบ เสียม มีทั้งอาวุธที่ใช้ในการล่าสัตว์ ทำให้ชาวลีซู คุ้นเคยกับเครื่องมือเครื่องใช้โลหะเป็นอย่างดีแต่ในปัจจุบันช่างตีเหล็กของชาวลีซูในหมู่บ้านแม่อ้อในที่ชำนาญ ในการตีเหล็กมีน้อยลง ชาวลีซูจึงนิยมซื้อเครื่องใช้ต่าง ๆ จากภายนอกชุมชนมากกว่าผลิตใช้เอง แต่ยังมีให้เห็น ในหมู่บ้าน การตีมีดของชาวลีซู มีด ลีซูเรียกว่า อ๊ะถะ เป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญใช้ในการเกษตรและทำกับข้าว


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๗ เสียม ลีซูเรียก ตู๊ฉะ เป็นอุปกรณ์ใช้ในการปลูกข้าว โดยไม้ไผ่ยาวๆมาเสียบกับเสียม 4.ภูมิปัญญาด้านตีเครื่องเงิน ในอดีตชาวลีซูนิยมตีเครื่องเงินไว้สวมใส่เอง และสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในปัจจุบันชาวลีซูได้ทำ เครื่องเงินน้อยมาก ที่สวมใส่ในปัจจุบันนี้ได้รับการตกทอด แต่ยังพบเห็นการตีเครื่องเงินอยู่บ้าง ซึ่งชาวลีซูใน หมู่บ้านแม่อ้อในนั้น ยังมีการตีเครื่องเงินอยู่แต่น้อยมาก ซึ่งชาวลีซูนิยมซื้อเครื่องเงินจากภายนอกมาใช้ เครื่องเงินที่ชาวลีซูในหมู่บ้านแม่อ้อในยังทำอยู่ ได้แก่ แผ่นโลหะเงินรูปครึ่งวงกลม เครื่องประดับ แผ่นโลหะเงินรูปครึ่งวงกลม เครื่องเงินของชาวลีซู 5.ภูมิปัญญาด้านการเย็บผ้า ชาวลีซูได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยมักตัดเย็บกันภายในครอบครัว ญาติพี่น้อง ชาวลีซูมักนิยมตักเย็บเสื้อผ้าชนเผ่าเมื่อใกล้เทศกาลปีใหม่ ชาวลีซูมีความชำนาญการตัดเย็บเสื้อผ้า กระเป๋า ย่าม และแถบผ้าต่าง ๆ การตัดเย็บเสื้อผ้าของชาวลีซู


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๘ กระเป๋า และย่าม ของชาวลีซู 6.ภูมิปัญญาด้านยารักษาโรค ชาวลีซูในหมู่บ้านแม่อ้อในยังมีความเชื่อแบบดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมากจึงนิยมรักษาโรคต่าง โดยหาได้ จากธรรมชาติซึ่งหาได้ตามป่า ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปหาสมุนไพรได้นั้นจะต้องมีความชำนาญ รู้จักลักษณะของสมุนไพร และทิศทางในป่า ซึ่งในป่ามีทั้งยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณที่ดีและเป็นโทษ ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นโทษนั้น เมื่อทานแล้วสามารถทำให้เสียชีวิต โดยที่ไม่รู้สาเหตุ ทั้งยาทำให้ เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ แต่ยังมีการนำสมุนไพรที่เป็นโทษมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การนำสมุนไพรที่มีพิษ นำไปจับสัตว์เพื่อนำไปประกอบอาหาร ยาสมุนไพรที่นำมารักษาโรคต่าง ๆ นั้น มีทั้งที่นำมาต้มรับประทาน และนำมาประคบ หรือพอก บาดแผลภายนอก ยาสมุนไพรที่นำมารับประทานนั้น ส่วนใหญ่เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ ความดัน เบาหวาน แก้ริดสีดวง ทั้งยังมีการนำสมุนไพรมาดองเหล้าทำเป็นเหล้าดองยา การเจ็บป่วยภายนอก เช่น เอ็นพลิก หรือกระดูกหัก จะใช้ไม้ท่อนช่วยในการด้ามส่วนที่กระดูกหัก แล้วนำยาสมุนไพรมาประคบส่วน ส่วนที่ได้รับการเจ็บป่วย สูตรยาสมุนไพร และวิธีการรักษา ๑. เพียะหว่าหล่า หลูขว่าแน มีสรรพคุณ ใช้แก้ลม เป็นยารักษาอาการชัก วิธีการรักษา โดยนำยามา ต้มแล้วรับประทานร้อน ๆ ๒. นาฉึสุ่ยส่ย มีสรรพคุณ ใช้แก้ร้อนใน นำยามาต้มแล้วทิ้งไว้จนเย็น ค่อยรับประทาน ๓. อ๊าวุ้ย มีสรรพคุณ ใช้แก้หวัด สำหรับเด็ก นำสมุนไพรมาเสียบที่หมวกของเด็กทารก แล้วให้เด็ก สวมไว้ ๔. กึ่งหนึ่งคัว มีสรรพคุณ ใช้แก้ช้ำใน แก้ปวดเมื่อย ปวดตามข้อต่าง ๆ ดองกับเหล้าแล้วดื่ม หรือทา ตรงบริเวณที่ปวดเมื่อยและทาบริเวณที่ แมลงสัตว์กัดต่อย (ยาสมุนไพรชนิดนี้ หากดื่มมากเกินไปอาจถึงตาย ได้) ๕. ยาเบอเรอ มีสรรพคุณ ใช้แก้ท้องเสีย โดยมาต้มแล้วดื่มตอนร้อน ๆ ๖. แกะหญ้า มีสรรพคุณ ใช้แก้อาหารเป็นพิษนำมาต้มดื่ม ๗. อิ้น่านาฉึ ป้าฟุนาฉึ นาฉึสุ่ยสุ่ย มีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย เลือด น้ำนม นำมาต้มดื่ม ๘. ขิง ตะไคร้ มีสรรพคุณ ใช้แก้เจ็บคอ หรือไอ นำมาต้มดื่ม ๙. ตี้ต่ายูอี้นำมานาฉึอาก้าจึงโต มีสรรพคุณ ขับเลือด ขับเหงื่อ และของเสียในร่างกายของมารดาที่ อยู่รอบไฟ ๑๐. น้ำปัสสาวะ มีสรรพคุณ แก้ช้ำใน กรณีเด็กหกล้มหรือตกจากที่สูง นำน้ำปัสสาวะมาให้ดื่ม ๑๑. ขี้เถ้า มีสรรพคุณ รักษากลากเกลื้อน นำเอาขี้เถ้าอุ่น ๆมาถูบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๙ ๑๒. หม่าสุโกจึงกับเกลือ มีสรรพคุณ รักษาโรคน้ำกัดเท้า นำหม่าสุโกจึงกับเกลือมาต้มให้เดือด แล้ว มาล้างบริเวณที่เป็นน้ำกัดเท้า ๑๓. น้ำมูก มีสรรพคุณ รักษาส้นเท้าแตก เอาขี้มูกมาทาที่บริเวณสั้นเท้าที่แตก ๑๔. ซางซึง มีสรรพคุณ รักษาฝี นำซางซึงมาห่อที่ฝี (ฝีที่ยังไม่เป็นหัว) ๑๕. จินาเพียะ กับไอข้าว มีสรรพคุณ รักษาโรคตาแดง นำมาต้มแล้วมาอบที่ตา สำหรับไอข้าวนั้นนำ ข้าวที่ต้มสุกตักใส่ถ้วย แล้วเอาผ้าบาง ๆ มาปิดที่ปากถ้วยแล้วนำมาประคบที่ตา เพื่อให้ไอข้าวนั้นเข้าไปในตา ยาสมุนไพรในการรักษาโรคของชาวบ้านลีซู 7.ภูมิปัญญาด้านการจัดการน้ำ ปัจจุบันหมู่บ้านชาวลีซูได้ใช้ระบบน้ำประปาภูเขาเพื่อความสะดวกในการอุปโภคภายในบ้านเรือน แต่ ในอดีตชาวบ้านลีซูได้ทำรางไม้ไผ่ส่งน้ำจากต้นน้ำเข้ามาใช้ในหมู่บ้าน และกระจายน้ำไปยังบ้านหลังอื่น ๆ มีการ ใช้ตุ่มน้ำ และโอ่งน้ำในการเก็บน้ำไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็น รางไม้ไผ่ส่งน้ำในอดีตของชาวลีซู ปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น ในปัจจุบันชาวลีซูยังมีการนับถือศาสนาคริสต์ และผีบรรพบุรุษ ผีป่า ทำให้ชาวลีซูมีการรักษาอาการ เจ็บป่วย ด้วยการรักษาสมัยใหม่ควบคู่กับการรักษามความเชื่อของชนเผ่าโดยปราชญ์ชาวบ้านของชาวลีซู กลุ่ม ชาวลีซูที่นับถือผีบรรพบุรุษนั้น เมื่อเกิดการเจ็บป่วยจะเดินทางไปหาปราชญ์ชาวบ้านของชุมชน หรือเรียกว่า หมอผี หรือ หนี่ผะ ซึ่งใช้การทำพิธีกรรมต่าง ๆ ในการรักษาอาการบาดเจ็บป่วย โดยการเป่ามนต์คาถา พร้อม ทั้งใช้สมุนไพรที่หาได้ตามธรรมชาติในการรักษา ตามความเชื่อของชาวลีซูเมื่อเกิดการเจ็บป่วยร่าง จะมีการเป่า


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๐ มนต์คาถาบริเวณที่เจ็บป่วย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรือบางอาการจะมีการใช้สมุนไพรช่วยในการรักษา เช่น เมื่อเกิดอาการปวดท้อง ปวดหัว ปวดตามร่างกาย เส้นเอ็นพลิก หนี่ผะ จะทำการเป่ามนมนต์คาถาบริเวณ ที่เจ็บป่วย ถ้าเกิดบาดแผลจะมีการเป่ามนต์คาถาบริเวณที่เกิดบาดแผลให้เลือดหยุดไหล 1. ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน นายตะกาย วาเจ๊ะ อายุ 73 ปี บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 5ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2. ด้านหมอพื้นบ้าน, สมุนไพร นายสมบูรณ์ เลาหมี่ อายุ 61 บ้านเลขที่ 143 หมู่ที่ 5ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ 3. ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น นายเลาหลู่ หลี่จ๊ะ อายุ 48 ปี ตำแหน่ง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านเลขที่ 144 หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๑ ประเพณีปี ใหม่ ประเพณีปี ใหม่ กลุ่มชาติพันธุ ์ลีซู 5.ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล มีค่อนข้างหลากหลาย เช่น ประเพณี การฉลองปีใหม่ การฉลองพืชผล (กินข้าวโพดใหม่) การกินข้าว ใหม่ การไหว้ผีหลวง การไหว้ผีไร่ ผีนา การไหว้ผีบรรพบุรุษ ดนตรีเพลงชนเผ่า และการเต้นรำ เครื่องดนตรีชน เผ่ามีไม่มากชิ้น ได้แก่ แคนน้ำเต้า และซึง ใช้เล่นประกอบการเต้นรำในงานต่างๆ เพลงลีซอมีหลายประเภท เพลงที่นิยมคือเพลงเกี้ยวสาว ซึ่งชาย-หญิงร้องโต้ตอบกัน ประเพณีปีใหม่ “โข่เซยี่ย” จัดขึ้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของเดือนลีซู ซึ่งลีซูเรียกเดือนนี้ว่า “โข่เซยี่ยอาบา” เป็นวันที่มีความสำคัญ มากสำหรับชาวลีซู เพราะเชื่อว่าเป็นวันที่เริ่มต้นสำหรับชีวิต และสิ่งใหม่ ให้สิ่งเก่า ๆ ที่ไม่ดีหมดไปพร้อมกับปี เก่า จึงต้องมีการเฉลิมฉลองด้วยการทำพิธีกรรม และจัดงานรื่นเริง เช่น การทำบุญศาลเจ้า และเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวลีซู การขอศีลพรจากเทพเจ้า และผู้อาวุโส การร้องเพลง การเล่นดนตรี และการเต้นรำ เป็นต้น ก่อนวันปีใหม่ 1 วัน หรือวันสุดท้ายของเดือน “หลายี” ( เดือน 12) จะมีการตำข้าวปุ๊ก หรือเรียกว่า “ป่าปา เตี๊ยะ” สำหรับกิจกรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ทำในวันนี้คือ นึ่งข้าวเหนียว เพื่อตำข้าวปุ๊กในตอนเช้า เมื่อข้าวสุกแล้วก็นำข้าวเหนียวไปตำใน “ลูทูว” จนนุ่ม และโรยแป้งหรืองา เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวติดมือ และปั้นเป็นก้อนพอประมาณ ใส่ลงไปในใบตองที่เตรียมไว้ โดย ทบไปตองไปมา หน้าละ 2 ก้อน จนกระทั่งใบตองหมดแผ่น จึงทำแผ่นใหม่เรื่อย ๆ จนหมด ก่อนวัน “ป่าปา เตี๊ยะ” 1 วัน ตอนเย็นวันนั้น “มือหมือ” จะต้องเป็นคนแช่ข้าวเหนียวก่อน และจุดประทัดเป็นสัญญาณบอก จากนั้นชาวบ้านอื่น ๆ จึงจะแช่ข้าวเหนียวได้ - ช่วงเย็นต้องเตรียมต้นไม้ “โข่เซยี่ยและจึว” ซึ่งจะเลือกเอาจาก ต้นไม้ที่มีลักษณะงาม ลำต้นเรียวยาว สูงประมาณ 1.5 เมตร โดยนำต้นไม้มาปักกลางลานบริเวณบ้าน จากนั้น นำ “ป่าปา” และเนื้อหมูหั่นยาวประมาณ 6-7 นิ้ว “ซาซือ” แขวนที่เสา และจุดธูป 2 ดอก และมีการเตรียม ไข่ต้ม และเส้นด้ายยาวขนาดที่จะมัดที่คอหรือข้อมือได้ เท่ากับจำนวนสมาชิกในบ้าน ผู้อาวุโสในบ้าน (จะเป็น ผู้ชาย) เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ “โชวฮาคูว” โดยการเอาไข่ต้มทั้งหมด และเส้นด้ายที่จะใช้มัดวางขนถ้วยที่ใส่ข้าว สุกที่วางบนผ้าอีกชั้นหนึ่ง ไปยืนเรียกขวัญที่หน้าประตูบ้านเมื่อทำพิธีเสร็จ จึงทำการผูกด้ายสายสิญจน์ และให้ ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๒ ไข่ต้มแก่สมาชิกคนละใบ เพื่อให้ขวัญที่อาจหลุดลอยไปจากร่างกายของเจ้าของได้กลับเข้าร่างของตน สำหรับการตั้ง “โข่เซยี่ยและจึว” นั้น เพื่อเป็นการอันเชิญให้เทพผู้หญิงลงมาประทับ ซึ่งจะให้ศีลและพรแก่ เจ้าของบ้าน และจะลงมาเยี่ยมเยียนปีละครั้งในตอนเช้าของวัน “อาพูวที่งี” (วันแรกของวันปีใหม่) ดังนั้นจึง ต้องทำความสะอาดบ้าน ก่อนที่เทพองค์นี้จะลงมา เชื่อว่าหากบ้านไหนสกปรกจะไม่ให้พร นอกจากนี้ยังใช้ สำหรับเป็นจุดศูนย์กลางในการเต้นรำรอบ ๆ ต้นอีกด้วย เพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ และขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจาก บริเวณบ้านเมื่อตั้ง “โข่เซยี่ยและจึว” แล้วก็เตรียมทำเทียนโดยเอาก้อนขี้ผึ้งไปรนไฟให้อ่อน แล้วปั้นเป็นก้อน และไปรูดกับด้ายที่ขึงเตรียมไว้จนหมดด้าย แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณสำหรับใช้ทำพิธีบูชาสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ และวิญญาณบรรพบุรุษ กลางคืนจะมีการเต้นรำรอบ ๆ “โข่เซยี่ยและจึว” ของทุก ๆ บ้านตลอดคืน โดยจะมีการเวียนจนครบทุกบ้าน เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งเลวร้ายไปให้หมด พร้อมกับปีเก่า และต้อนรับสำหรับปี ใหม่ ซึ่งชาวลีซูเรียกว่า “โข่เบ่จั๊วะ” เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรำ ได้แก่ ซึง “ชือบือ” แคนน้ำเต้า “ฟู่วหลูว” มีหลายประเภท มีทั้งแคน สั้น และแคนยาว และขลุ่ย “จู่วหลู่ว” เป็นต้น อาพูวที่งี คือ วันแรกสำหรับของการปีใหม่ ในวันนี้ ทุกบ้านจะต้องตื่นแต่เช้า เพื่อเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และเทพ “อาปาโหม่ว” เช่น ปิ้ง “ป่าปา” ต้ม “ซาซือ” เป็นต้น รวมทั้งการตักน้ำ ในเช้านี้เชื่อว่าจะนำมาซึ่งโชคลาภ และเงินทองที่ไหลมาตามน้ำ นอกจากนี้จะไม่นำเศษขยะที่ กวาดทิ้งภายในบ้านไปทิ้งนอกบ้านเด็ดขาด จนกว่าพิธีปีใหม่จะเสร็จสิ้น จะนำเศษขยะไปเก็บไว้ในถังขยะ ภายในบ้านก่อน เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้ว ก็เดินทางไปศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน “อาปาโหม่วฮี” โดยทุกบ้าน ต้องส่งตัวแทนไปร่วม 1 คน ซึ่งต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น อุปกรณ์ที่นำไป ได้แก่ ป่าปา 1 คู่ เหล้า 1 ขวด และซาซือ 1 อัน เพื่อนำไปขอศีลพรจากเทพ “อาปาโหม่ว” ซึ่งเป็นเทพที่ปกป้องดูแลคนภายในหมู่บ้าน โดยมี “มือหมือ” เป็นผู้นำพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็กลับมาพร้อมกับพรต่าง ๆ ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ก็รอที่บ้าน เมื่อได้ยินเสียง ประทัดดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าพิธีขอพรจากเทพ “อาปาโหม่ว” เสร็จสิ้นลงแล้ว จะมีการเรียกหมู เรียกไก่ หรืออื่น ๆ ตามแต่ที่แต่ละคนอยากได้ เพราะ เชื่อกันว่าเช้านี้ “อาปาโหม่ว” จะให้พรแก่ทุกคนตามต้องการ จากนั้นจึงจัดเตรียมของเซ่นไหว้บรรพบุรุษในบ้าน และเซ่นไหว้ และในเช้ามืดวันนี้ห้ามผู้หญิงออกนอกบ้าน จนกว่าพระอาทิตย์จะขึ้น หากเข้าไปบ้านของผู้อื่นจะโดนราดด้วยน้ำสกปรก เพราะเชื่อว่าจะนำความชั่วร้ายมา สู่คนในครอบครัวนั้น จึงต้องขับไล่ออกไป ส่วนผู้ชายสามารถไปบ้านของคนอื่นได้ โดยที่ผู้ชายคนแรกที่เข้าบ้าน เรียกว่า “ฉะหมื่อ” คนในครอบครัวนั้นจะให้ของต่าง ๆ เช่น ขนม เงิน หรือของใช้ต่าง ๆ ตามแต่เจ้าของบ้าน จะให้ เพราะเชื่อว่าเขาจะนำความโชคดีมาให้ และในวันนี้เป็นวันศีลจะไม่มีการฆ่าสัตว์ใด ๆ พอสายก็เตรียม อุปกรณ์เพื่อไปร่วมพิธีดำหัว “มือหมือ” ซึ่งเรียกว่า “มือหมือไป๊” อุปกรณ์ที่เตรียมไป ได้แก่ ป่าปา ซาซือ ดอกไม้ ธูปเทียน และเหล้า สำหรับพิธีนี้ เป็นการแสดงความขอบคุณ “มือหมือ” ซึ่งเป็นผู้นำพิธีกรรมต่าง ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา และขอศีลพรจาก “มือหมือ” อีกด้วย จากนั้นจะมีการเต้นรำ ร้องเพลง โดยหนุ่มสาวจะแต่ง กายด้วยชุดชนเผ่า และสวมเครื่องประทับอย่างสวยงามมาเต้นรำอย่างสนุกสนาน ผู้ใหญ่ก็จะร้องเพลง พูดคุย กัน จนกระทั่งดึก ก็จะมีการเต้นรำเวียนรอบบ้านทุกบ้าน ซึ่งเรียกว่า “โข่เซยี่ยจั๊วะ” เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๓ และต้อนรับปีใหม่ ตลอดจนเพื่อให้พร และสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านต่าง ๆ โดยเจ้าบ้านจะคอยต้อนรับด้วย การนำขนม น้ำชา และเหล้ามาเลี้ยงขอบคุณ อาพูวงี่งคือวันที่สองสำหรับงานปีใหม่ ในวันนี้ชาวบ้านจะมาทำพิธีดำหัวผู้นำชุมชน “ฆั่วทูวไป๊” เพื่อ ขอบคุณผู้นำชุมชนที่ดูแล และปกครองคนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดปี ซึ่งพิธีกรรมและกิจกรรมเหมือน การดำหัว “มือหมือ” แต่จะไม่มีการ “โข่เซยี่ยจั๊วะ” จะร่วมกิจกรรม และเต้นรำตลอดวัน และตลอดคืนที่นี่ อาพูวส่างี คือวันที่สามสำหรับงานปีใหม่ ในวันนี้ช่วงเช้าจะไปยังบริเวณศาลเจ้า “อิ๊ด่ามอ” หรือ “มึ๊ว กวูกัว” เพื่อขอศีลขอพรจากเทพ “อิ๊ด่ามอ” ซึ่งเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกป้องดูแลไม่ให้เกิดสิ่งชั่วร้ายสำหรับคน แม้แต่จะ อยู่นอกเขตหมู่บ้านก็ตาม จะปกป้องทั่วทุกทิศ สำหรับเครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ ซาซือ ป่าปา และเหล้า และต้องมี หนุ่มสาวที่บริสุทธิ์ ความประพฤติดี จำนวน 4 คน ประกอบด้วย หญิงสาว 2 คน และชายหนุ่ม 2 คน เพราะ เทพ “อิ๊ด่ามอ” เป็นเทพแห่งความบริสุทธิ์ (หนุ่มสาวที่ไปร่วมพิธี 2 คู่ ไม่ได้นำไปประหัดประหารแต่ประการใด เพียงแค่เป็นหนึ่งในเครื่องเซ่น ไปร่วมพิธีเท่านั้น) นอกจากนั้นก็จะมีบุคคลอื่น ๆ ไปร่วมได้ เมื่อทำพิธีขอพรแล้ว ก็เต้นรำ ร้องเพลง จากนั้นจะมีการดำหัวผู้นำคนอื่น ๆ ตามแต่ชาวบ้านจะเห็นสมควร และอยากทำพิธีดำหัว เช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น หมายเหตุ: พิธีสำคัญในงานปีใหม่จะมีเพียง 3 วันเท่านั้น นอกจากนั้นจะสามารถจัดงานรื่นเริง เต้นรำ ร้องเพลง ได้เรื่อย ๆ ประมาณ 3- 7 วัน หรือตามแต่คนในชุมชนอยากจะจัด การเกิดของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : ประเพณีการเกิด “ฉาจัวเดื๋อ” เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อให้กับเด็กแรกเกิด พิธีกรรมนี้จะถูกจัดขึ้นภายใน 7 วัน (บางแหล่งระบุ 3 วัน) หลังการคลอด และในวันเดียวกันจะมีผู้สูงอายุของหมู่บ้านหรือต่างหมู่บ้านมาดู หน้าเด็กและทำการเสี่ยงทายชื่อของเด็กกับเหรียญเงินเพื่อจะทำการตั้งชื่อให้กับเด็ก (เป็นชื่อเล่นหรือฉายาลีซู) การเสี่ยงทายด้วยเหรียญนี้เรียกว่าพิธี “หลี่บูดั๋ว” ทั้งนี้ การตั้งชื่อจะดูจากรูปพรรณสัณฐาน บุคลิกและหน้าตา ของเด็ก ต้นตระกูล และที่สำคัญคือชื่อที่ได้จากการทำพิธี ชาวลีซูเชื่อว่า หากไม่รีบทำพิธีกรรมดังกล่าว เสือจะ เอาชื่อของเด็กไป ได้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพิธีกรรมนี้ว่า


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๔ “สมัยเมื่อร้อยปีก่อนนั้น มีชายคนหนึ่งออกไปล่าสัตว์ โดยพักแรม 4-5 คืนโดยทิ้งภรรยาที่ใกล้คลอด ไว้ที่บ้าน มีอยู่คืนหนึ่งชายคนนี้มาขอนอนกับหลุมศพ พอนอนได้สักพักยังไม่ทันหลับ มีผีตนหนึ่งมาบอกกับ เจ้าของผีหลุมศพว่า “ท่านจะไปกับข้าไหม ที่หมู่บ้านมีเด็กชายเกิดมาหนึ่งคน ข้ากำลังจะไปทำพิธีกรรมมาขอ เป็นลูกข้า” ผีเจ้าของหลุมศพก็บอกกับเพื่อนว่า “เจ้าไปเถอะ วันนี้ข้ามีแขก ไปไม่ได้ ให้พวกเจ้าไปกันเถอะ” ผีตนนี้ก็ไปทันที พอสักพักก็กลับมา ผีเจ้าของหลุมนั้นก็ถามว่า “เป็นอย่างไรบ้างทำได้หรือเปล่า” ผีตนนี้ก็บอก ว่า “ทำไม่ได้ เสือมันดักหน้าทำไปก่อนแล้ว” เจ้าของหลุมก็ถามอีกว่า “เสือนั้นนัดเวลาเด็กให้ไปอยู่กับเสือนั้น เวลาไหน” ผีตนนั้นก็บอกว่า “เสือนัดเวลาไว้ตอนเด็กคนนี้ตัดฟืนเป็น” พอรุ่งเช้าชายคนนี้ก็เดินทางกลับบ้าน พอเดินทางมาถึงหมู่บ้านชายคนนี้ก็ถามชาวบ้านว่ามีเด็กเกิดใหม่หรือเปล่า ชาวบอกก็ตอบว่า “มี ก็ภรรยาเจ้า นั่นแหละเกิดได้ 4 วันแล้ว แต่เจ้าไม่อยู่ ภรรยาเจ้าก็ยังไม่ได้ทำพิธี “ฉาจัวเดื๋อ” ด้วย” เมื่อได้ยินชาวบ้านบอก อย่างนี้ชายคนนี้คิดในใจเลยว่าเด็กที่ผีสองตัวนั้นพูดถึงต้องเป็นลูกของเขาแน่นอน พอกลับไปถึงบ้านชายคนนี้ก็ ทำพิธีกรรม“ฉาจัวเดื๋อ” ให้ลูกชายและก็เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งโตเป็นหนุ่ม อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายแกก็ออกไปผ่าฟืนในป่าคนเดียวแกก็ให้ไป แต่ตัวแกได้สะกดรอยตามลูกชายไป ห่าง ๆ โดยไม่ให้ลูกชายรู้ตัวและนำปืนไปด้วย (ถ่าป๊ะโป) ฝ่ายลูกชายเมื่อไปถึงในป่าก็เริ่มผ่าฟืน สักพักชายคนนี้ เห็นเสือโคร่งแอบอยู่ข้าง ๆ ลูกชายแก แกสังเกตเห็นว่าลูกชายแกผ่าฟืนหนึ่งครั้งเสือตัวนี้ก็ทำท่าจะตะครุบ แต่ จังหวะไม่ดีก็หลบและจะตะครุบใหม่อีก ชายคนนี้เห็นท่าไม่ดีก็เลยเอาปืน (ถ่าป๊ะโป) ยิงเสือตัวนั้นจนตาย ส่วนลูกชายพอรู้ว่าพ่อของตนยิงเสือตาย ก็ดีใจและวิ่งไปหาเสือ แล้วจับหนวดเสือเล่น ทันใดนั้น หนวดเสือก็บาดมือลูกชายแก ลูกชายก็เลยตายตามเสือตัวนั้นไป ทำให้ชายคนนี้เสียใจมาก ตั้งแต่นั้นมาก็มีการบอกเล่าต่อกันมาว่าให้ทำพิธีกรรม “ฉาจัวเดื๋อ” ก่อนครบ 3 วัน หากไม่ได้ทำก็ให้ ทาหมิ่นหม้อ (เขม่าที่ก้นหม้อ) ที่หน้าผากของเด็กเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเด็กคนนี้เป็นของเรา ห้ามใครมาทำ พิธีกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น หากว่าสัตว์ต่าง ๆ มาทำพิธีไปแล้วมาแก้ไขทีหลังนั้นไม่ได้ ตั้งแต่นั้นมา คนสมัยก่อนจึงต้อง ทำพิธี “ฉาจัวเดื๋อ” และห้ามไม่ให้คนไปจับหนวดเสือ” (โครงการพัฒนาสื่อภูมิปัญญาชนเผ่าลีซู, 2545: 33- 34) นอกจากพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ในกรณีที่เด็กร้องไห้บ่อยผิดปกติหรือมีอาการที่แปลกไปจากเด็กทั่วไป เช่น ท้องร่วงบ่อย เจ็บป่วยบ่อย งอแงมากเกินไป พ่อและแม่ของเด็กจะนำเด็กไปหาหมอผีเพื่อที่จะทำพิธี “อ่ะแบะแมะเจื้อ” ถ้าหากอาการของเด็กดีขึ้น พ่อและแม่ของเด็กจะนำเครื่องเซ่นไหว้ไปขอบคุณกับหมอผี และเมื่อใดที่เด็กโตขึ้น เขาจะต้องไปหาหมอผีท่านนี้ในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลกินข้าวโพดใหม่ เพื่อไป ขอพรและเสริมสร้างพลังในการชีวิตให้กับเด็กคนนี้ การแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : ชายลีซูไม่ว่าคนใดจะต้องไม่แต่งงานกับสตรีที่เขาเรียกว่า “จิจิ” หรือญาติ นั้นคือ พี่สาว หรือน้องสาว ร่วมตระกูล หรือแม้แต่ลูกของน้าก็แต่งไม่ได้แต่งได้กับลูกสาวของอา และไม่ใช่ตระกูลเดียวกัน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๕ การเลือกคู่ หนุ่มสาวลีซูหาคู่กันรอบ ๆ ครกตำข้าวนั้นเอง ยามค่ำสาว ๆ จะชุมนุมกันตำข้าวไว้หุง ในวันรุ่งขึ้น เป็นโอกาสให้หนุ่ม ๆ ไปอาสาช่วยตำ แล้วปากต่อปากคำ หยอกเย้าเกี้ยวพา พอสาวหยุดพักหนุ่มก็พาคนที่ ถูกใจไปนั่งพร่ำพรอดกัน โดยบางคู่ก็ถึงขั้นแลกกำไล หรือสัญลักษณ์เสน่หาอื่น ๆ ซึ่งต่างฝ่ายก็จะพกติดตัวไว้ใน กระเป๋าเสื้อแนบในหัวใจ บ่อยครั้งการเกี้ยวพาจะทำกันอย่างครึกครื้นเมื่อถึงเวลาทำงานในนา หรือในไร่ สาว จะส่งข่าวไปนัดหมายหนุ่มๆ ว่าวันนี้จะไปนาไหนแล้วทั้งสาว ทั้งหนุ่มก็แต่งตัวชุดใหญ่ไป “เล่นเพลง” กันนั่นคือ แม่เพลงว่าบาทแรก แล้วลูกคู่ก็ร้องรับกันทั้งหมู่จนจบบท แล้วพ่อเพลงก็ตอบบาทแรกให้ลูกคู่ก็รับจนจบบท โต้ กันไปโต้กันมาด้วยความหมายเกี้ยวพา ทั้งลูกล่อลูกชน เป็นต้น ด้วยเพลง “เดือนหกฝนตกแค่พรำ ๆ พอเดือน เก้าฟ้าจะล่มเสียให้ได้ เมื่อเดือนหกอกพี่ก็แค่เสียว ๆ ตกเดือนเก้าราวกับเคียวกรีดหัวใจ...” ฝ่ายใดติด หรือจน ให้อีกฝ่ายเอาไปต่อเองได้ เป็นอันว่าแพ้เด็ดขาดจบเกมในวันนั้น ข่าวก็จะแพร่สะพัดไปทั้งหมู่บ้านทำให้ฝ่ายแพ้ เสียหน้าไปไม่น้อย ครอบครัวของทั้งสองฝ่ายมักจะรู้อยู่ว่าลูกชาย ลูกสาวชอบกันถึงเวลาคราวมีคู่ได้แล้ว ลีซู เปรียบเทียบชายเหมือนลำต้น และกิ่งไม้ ส่วนผู้หญิงเหมือนใบ เมื่อลำต้นรู้สึกว่าใบกำลังจะถูกแย่งชิงไปก็ จำเป็นจะต้องป้องกัน พิธีแต่งงาน ชนเผ่าลีซูนั้นจะเข้าพิธีแต่งงาน โดยค่าสินสอดของหญิงสาว และค่าน้ำนมจะมอบให้กับพ่อแม่ของฝ่าย หญิงฝ่ายเดียว ค่าตัวสาวลีซูจะค่อนข้างแพง อาจแพงกว่าสาวบางเผ่า ค่าตัวสาวลีซู ประมาณ 30,000 บาท ขึ้นไป สาเหตุที่ค่าตัวหญิงสาวค่อนข้างแพงนั้น เพราะว่าเมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะต้องไปอยู่กับทางฝ่ายชาย และจะต้องช่วยทำงานทุกสิ่ง ทำทุกอย่างทั้งในบ้าน และนอกบ้าน ทำงานค่อนข้างจะหนัก สำหรับเงินค่าตัว ของฝ่ายหญิงนั้น ทางพ่อแม่ของฝ่ายชายจะเป็นคนออกให้ทั้งหมด วิธีการสู่ขอมีหลายขั้นตอน ซึ่งทางฝ่ายชายที่ จะมาขอต่อรองราคาสินสอดให้ลดลงบ้างนั่นเอง โดยเริ่มต้นด้วยหนุ่มสาวตกลงปลงใจ ว่าจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน อย่างแน่นอน ถ้าเป็นต่างหมู่บ้านฝ่ายชายจะนัดวันที่จะพาหญิงสาวหนี เมื่อถึงวันกำหนดนัดก็มารับตัวคนรัก ของตนไป โดยเอาตัวหญิงสาวไปแอบซ่อนไว้ที่บ้านของญาติไว้ก่อน วันรุ่งเช้า ฝ่ายญาติของเจ้าบ่าว ซึ่งอาจจะ เป็นลุง หรืออา พร้อมกับกลุ่มพ่อสื่ออีกสองสามคน ยกขบวนมายังหมู่บ้านของฝ่ายหญิง พร้อม ทั้งญาติมิตร พอมาถึงบ้านฝ่ายหญิงก็เปิดฉากให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงได้รู้เรื่องราวของลูกสาว ที่หายตัวไปบอก ให้พ่อแม่ของฝ่าย หญิงว่าไม่ต้องห่วงที่หายตัวไป เพราะปลอดภัยทุกประการ และมีความสุขดี ที่ได้ยกบวนกันมาในวันนี้ก็ด้วย ปรารถนาอยากจะเป็นทองแผ่นเดียวกันกับคนของ ในบ้านนี้ เมื่อการเจรจาสู่ขอเรียบร้อยตกลงกันได้แล้ว กรณี การสู่ขอ ทางฝ่ายชายวางเงินของค่าตัวให้พ่อแม่ของฝ่ายหญิงเอาไว้ก่อน ส่วนที่เหลือก็ชำระให้วันหลัง แต่ว่าพ่อ แม่ฝ่ายหญิงเป็นนัดเวลาว่าให้ชำระในวันไหน และเดือนไหน เมื่อถึงเวลาแล้วต้องจ่ายให้หมด ถ้าจ่ายไม่หมด ต้องเอาลูกสาวของตนเองกลับคืนมา ถ้าหากฝ่ายชายมีฐานะค่อนข้างดีก็จะจ่ายค่าสินสอดให้หมดเมื่อมาถึงการ นัดวัน และเดือนของพิธีแต่งงาน พ่อแม่ของฝ่ายหญิงเป็นคนนัดเองว่าให้แต่งเดือนไหน และวันไหน ส่วนพิธีจะ จัดขึ้นที่บ้านของฝ่ายหญิง ซึ่งก็จะเชิญแขก และญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายมากันพร้อมหน้าพร้อมตา ทั้งสองฝ่าย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๖ ต้องช่วยกันเตรียมของ เช่น สุรา อาหาร พร้อมทั้งเครื่องเล่นต่าง ๆ ให้พร้อมเพรียง เวลาที่แต่งนั้นจะอยู่ในช่วง สาย ๆ ก่อนเที่ยง โดยจะจัดขึ้นที่หน้าหิ้งผีบรรพบุรุษภายในบ้าน ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวมานั่งคุกเข่าคู่กันที่บนพื้นปู เสื่อไว้ จากนั้นผู้อาวุโสชายซึ่งเป็นผู้ประกอบพิธีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ด้วยหัวหมู ข้าว เหล้า น้ำ ธูป พร้อมทั้ง บอกกล่าวให้ได้ทราบถึงสมาชิกคนไหม่ที่จะมาเป็นลูกเขยของบ้านหลังนี้ จากนั้นนำน้ำในถ้วยบนหิ้งให้คู่บ่าว สาวได้ดื่มกัน เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นพรจากบรรพบุรุษ พิธีคำนับผีบรรบุรุษพ่อแม่ และญาติผู้อาวุโส ของทั้ง 2 ฝ่าย การคำนับนั้น ทั้งคู่จะนั่งคุกเข่าวางมือทั้งสองแตะลงบนพื้นด้านหน้า แล้วก้มศีรษะให้หน้าผาก แตะพื้นคนละ 3 ครั้ง ผู้อาวุโสกำลังให้ศีลให้พรเจ้าสาว ก้มหน้าอยู่กับพื้น ส่วนเจ้าบ่าวจะคำนับ ด้วยการกางมือ ทั้งสองข้างออก แล้ววางแตะพื้นข้างหน้า จึงก้มศีรษะให้หน้าผากแตะพื้นคล้าย ๆ กับลักษณะการไหว้ครูของ นักมวยไทย เสร็จพิธีแล้วผู้อาวุโสที่ประกอบพิธี จะนำเงินทั้งหมดที่แขกผู้มาร่วมในพิธีแต่งงาน มอบให้กับ เจ้าบ่าวเจ้าสาว แล้วจัดใส่ในขันน้ำใส่น้ำจากนั้นให้เจ้าบ่าวได้ดื่ม 3 อึก เพื่อให้มีแต่ความร่ำรวยด้วยทรัพย์สิน เงินทองตลอดไป แล้วจึงเทเงินในขันทั้งหมดใส่ในมือของเจ้าบ่าวที่คอยรับอยู่แล้ว เจ้าบ่าวก็จะเทเงินทั้งหมดให้ กับเจ้าสาวที่ชายผ้าโพกศีรษะของเธอคอยประคองรับอยู่แล้วเช่นกัน จากนั้นก็เชิญญาติพี่น้อง และแขกที่มา ร่วมงานร่วมวงรับประทานอาหารด้วยกัน ทุกคนจะดื่ม จะกินอย่างสนุกสนานอย่างเต็มที่ เจ้าภาพจะทยอยมา บริการอย่างไม่ขาดสาย พอตกกลางคืนก็มาถึงรายการของความสนุกสนานนั้นคือ จับกลุ่มเต้นรำกันหน้าบ้าน ของเจ้าภาพ เป็นการจับมือต่อ ๆ กันไปเป็นวงกลม ทั้งเด็ก และหนุ่มสาว ทั้งผู้ใหญ่ก็มาเต้นด้วยกันมีทั้งจังหวะ ช้า และเร็ว นอกจากนั้นก็มีการร้องเพลงกัน เพลงที่ร้องก็มี 2 แบบ เช่น เพลงใหญ่ หมายถึง การร้องในบ้าน หน้าหิ้งบรรพบุรุษ ส่วนเพลงที่สอง เพลงเล็ก หมายถึง การร้องแบบโต้กลับไป โต้กลับมา จะมี 2 ฝ่าย ฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง การแต่งงานเมื่อสมัยก่อนจะเริ่มขึ้นเมื่อหญิงสาวและชายหนุ่มมีอายุ 16 ปีขึ้นไป เป็นการแต่งงานที่ ฝ่ายหญิงจะออกเรือนไปอยู่กับฝ่ายชาย โดยจะมีพิธีหมั้นหมายหรือ “ซึฉา” ก่อน และหลังจากนั้นประมาณ 3-4 เดือน (ผู้ที่มีฐานะ) จึงจัดงานแต่งงาน งานหมั้นและงานแต่งงานจะถูกจัดขึ้น ณ บ้านของฝ่ายหญิง ทั้งนี้ พิธีกรรมสำคัญของการออกเรือนที่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องปฏิบัติคือ ฝ่ายชายจะต้องทำพิธีแนะนำ ภรรยาให้กับวิญญาณบรรพบุรุษของฝ่ายชายหรือที่เรียกว่า “หนี่เบื๋อเป๊าะ” และฝ่ายหญิงจะต้องทำพิธีขอออก จากการเป็นสมาชิกวิญญาณบรรพบุรุษของตน เรียกว่าพิธี “เป๊าะดูหลา” ในกรณีที่ลูกคนเล็กเป็นลูกสาว มีหน้าที่ต้องดูแลพ่อแม่และไม่สามารถออกเรือนไปอยู่กับฝ่ายชายได้ จำเป็นต้องรับฝ่ายชายเข้ามาอยู่ในบ้านฝ่ายหญิงและจะต้องทำพิธีแนะนำสามีให้รู้จักกับวิญญาณบรรพบุรุษของ ฝ่ายหญิง แต่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุลตามฝ่ายหญิง แต่หากกรณีที่ลูกเขยไม่ดีหรือไม่สามารถอยู่กับ ครอบครัวฝ่ายหญิงได้ พ่อแม่ของฝ่ายหญิงอาจต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง ในปัจจุบัน การแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะชายชาวลีซูที่แต่งงานกับชาติ พันธุ์ลาหู่หรืออาข่า การจัดทำพิธีแต่งงานขึ้นอยู่กับความเชื่อในศาสนาของทั้งสอง เช่น การนับถือศาสนาคริสต์ พิธีกรรมต่าง ๆ จะถูกปรับเป็นธรรมเนียมคริสต์ทั้งหมด หรือหากเป็นการแต่งงานกับหญิงหรือชายชาติพันธุ์อื่น ๆ จะต้องทำพิธีแต่งงานตามธรรมเนียมของแต่ละชาติพันธุ์ ช่วงอายุของการแต่งงานในปัจจุบันขึ้นอยู่กับบริบท สังคมและชีวิตของแต่ละคน มีชาติพันธุ์ลีซูหลายคนที่อาศัยอยู่ในเมืองและเลือกวิถีชีวิตแบบคนพื้นราบ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๗ การทำงาน การศึกษาและโอกาสต่าง ๆ ที่แต่ละคนได้รับในแต่ละช่วงอายุทำให้พวกเขาต้องปรับความสมดุลใน การดำเนินชีวิตประจำวัน ช่วงอายุการแต่งงานสำหรับกลุ่มที่อยู่ในเมืองจึงอยู่ที่ระหว่าง 20-25 ขึ้นไป การตายและการทำศพของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : การตายและพิธีเก็บศพ ลีซูมีความเชื่อในเรื่องความตาย เมื่อมีการตายในลักษณะนี้เกิดขึ้น ลำดับแรก ลูกหลานและญาติพี่ น้องจะจัดการอาบน้ำชำระศพคนตายจนสะอาดเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชุดใหม่ ให้กับคนตาย จากนั้นจึงห่อด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง และจึงนำร่างเข้าบรรจุในโรงศพ ตั้งไว้บริเวณหน้าหิ้งผีบรรพ บุรุษภายในบ้าน ที่หน้าศพจะตั้งเครื่องบูชา และเครื่องเซ่นไว้ตลอด เครื่องบูชานั้นจะเป็นตะเกียงน้ำมันก๊าดดวง เล็ก ๆ 1 ดวง และธูป ซึ่งจะต้องจุดไฟตะเกียงตั้งไว้ตลอดเวลา พร้อมทั้งธูปจุดไปปักไว้ในกระถาง และจะต้อง คอยเติมน้ำมันตะเกียง และจุดธูปต่อ ๆ ไป มิให้ขาดต่อตลอดยะระเวลาที่ตั้งศพไว้ในบ้าน ส่วนเครื่องเซ่นนั้น จะเซ่นกันวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็นโดยช่วงเช้าจะเป็นไก่ 1 ตัว หรือหมูก็ได้ ข้าวสารหรือข้าวสุก น้ำ เหล้า ช่วงเย็นก็เหมือนกัน ส่วนช่วงกลางคืนนั้น ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงสว่าง ตลอดระยะเวลาที่ตั้งศพไว้ในบ้าน มีกลุ่มหนึ่งจะทำพิธีสวดกล่อมร้องเพลง ให้วิญญาณผู้ตายที่หน้าโรงศพ จะกล่าวให้ผู้ตายได้รู้ว่าบัดนี้เขาได้ไปอยู่ที่ บนสวรรค์แล้ว ขอให้อย่าห่วงใยกับลูกหลายอีกเลย และมีพิธีสวดส่ง วิญญาณผู้ตายให้ขึ้นไปอยู่ที่บนสวรรค์ ในคืนสุดท้ายก่อนที่จะนำศพไปฝัง ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ส่วนบรรดาแขกทั้งหลายที่มาช่วยงานกันอย่างเต็มที่กับการงาน ช่วง กลางคืนจนถึงสว่าง ตลอดระยะเวลาที่ตั้งศพอยู่ในบ้าน มีการเล่นไพ่ ไฮโล บ้านของเจ้าภาพอย่างสนุกสนาน ทั้งชาย และหญิงได้มีโอกาสเข้าร่วมวงเสี่ยงโชคกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา การเล่นทั้งหลายที่มีขึ้นในงานศพ นั้น เพื่อเป็นการปลุกปลอบใจบรรดาลูกหลาน และญาติมิตรของผู้ตาย มิให้โศกเศร้าในการจากไปของผู้ตาย นั่นเอง พิธีจะไว้ศพมีทั้งหมด 3 วัน 3 คืน หรือจะไว้ 7วัน 7 คืน ก็ได้แล้วแต่ลูก ๆ ทั้งหลาย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๘ พิธีฝังศพ ลีซูไม่มีป่าช้าสำหรับการฝังศพ แต่จะเลือกสถานที่คิดว่าเหมาะสม ลักษณะเดียวกับฮวงจุ้ยของคน จีน ถ้าหากหาสถานที่ฝังศพของผู้ตายถูกลักษณะของฮวงจุ้ยได้ วิญญาณของผู้ตายก็จะอยู่อย่างสงบสุข และจะ แผ่บารมีให้กับลูกหลานและญาติมิตร ทำมาหาค้าขายขึ้นมีทรัพย์สินเงินทอง ถ้าหากหาสถานที่ฝังศพไม่เหมาะ และไม่ถูกลักษณะของฮวงจุ้ย วิญญาณผู้ตายย่อมจะไม่สงบสุขจะกลับมาหาลูกหลาน และจะทำให้ลูกหลาน เป็นพิษเป็นภัย และทำมาหากินก็ไม่ขึ้น เมื่อมาถึงสถานที่ฝังแล้วมีการโยนไข่เสี่ยงทาย เพื่อถามวิญญาณผู้ตาย ว่าพอใจสถานที่ที่เลือกให้แห่งนี้หรือเปล่า โดยจุดธูปบอกกล่าวกับวิญญาณผู้ตายเสียก่อน แล้วโยนไข่ดิบ โยนไข่ ด้านหน้าไปข้ามหลังให้ตกลงบริเวณที่จะขุดหลุมฝังศพ หากไข่แตกเป็นอันว่าวิญญาณผู้ตายพอใจ หากไข่ไม่ แตกเป็นอันว่าวิญญาณผู้ตายไม่พอใจ ต้องโยนช้ำอีกจนครบ 3 ครั้งหากยังไม่แตกอีก ต้องเปลี่ยนมาโยนข้าม หลังไปด้านหน้า หากครั้งแรกยังไม่แตกก็โยนช้ำจนครบ 3 ครั้งแล้งยังไม่แตกแสดงว่าเจ้าของผู้ตายไม่พอใจที่จะ ให้ฝังร่างของตนในที่แห่งนี้ ต้องไปหาที่อื่นและต้องเสียทายโยนไข่ดิบ ถามต่อไปจนกว่าไข่แตกแล้ว เมื่อหาได้ สถานที่ที่พอใจจึงลงมือขุดหลุมศพ ขุดหลุมเสร็จวางโรงศพลงไปแล้วถมดินลงไปจนเสร็จ สวดให้วิญญาณผู้ตาย ให้อยู่อย่างสงบสุข หลังจากทำพิธีเสร็จแล้ว ดวงวิญญาณของผู้ตายจะไปแจ้งให้กับศาลเจ้า (อาปาโหม่ฮี) ให้ ทราบว่าตอนนี้ตนได้ตายไปแล้ว หลังจากแจ้งการตายให้อาปาโหม่ฮีแล้ว ดวงวิญญาณของผู้ตายก็จะกลับไปรอ ของส่วนบุญจากลูกหลาน ที่มาทำบุญให้ในวันเช็งเม้งที่หลุมศพของผู้ตายครบ 3 ครั้ง แล้วกลับมารายงานตัว กับอาปาโหม่ฮีอีกครั้ง เพื่อขอไปเกิดใหม่หรือขึ้นสวรรค์หรือลงนรก แล้วแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ทำความดี หรือ ทำบาปไว้มากเพียงใด สำหรับผู้สืบสกุลก็จะมาประจำอยู่ที่แท่นบูชาประจำบ้านของผู้สืบสกุลของตนเอง ซื้อที่ดินหว่านเมล็ดพันธุ์พืชและซื้อน้ำซื้อฟืนให้กับผู้ตาย ลีซูมีความเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วแต่ก็ต้องการทำมาหากินและต้องการที่ดิน ต้องการเมล็ดพันธุ์ พืช ซื้อที่ดินให้ผู้ตาย กรณีหมอผีจะซื้อที่ดินให้รอบ ๆ บริเวณหลุมศพ จากผีป่าผีดอย เจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินบริเวณนี้ เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายได้ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำมาหากิน โดยจะใช้เงินเหรียญโยนไป ทั้ง 4 ทิศรอบ ๆ บริเวณหลุมศพเป็นค่าที่ดิน จากนั้นจะทำพิธีหว่านพันธุ์ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดพันธุ์ผัก พืชผล ต่าง ๆ อีกหลายชนิดลงบนพื้นดินที่ซื้อให้ผู้ตาย เพื่อให้ผู้ตายได้ใช้พืชผลเหล่านี้ทำมาหากินในโลกของผู้ตาย ต่อไป เสร็จจากการหว่านเมล็ดพืชพันธุ์ผักแล้ว โยนเงินเหรียญไปทางด้านฝั่งซ้ายของหลุมศพ ซื้อฟืนจากเจ้าที่ เจ้าทางให้ผู้ตายได้ใช้หุงอาหาร โยนเงินเหรียญไปทางด้านฝั่งขวาของหลุมศพ ซื้อน้ำให้กับผู้ตายได้ใช้ได้อาบ และได้ดื่มกินตลอดไป หมอผี"หนี่ผะ" จะสวดบอกกล่าวให้กับวิญญาณผู้ตายว่า ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด ก็ขอให้ทำ มาหากินบริเวณนี้ อย่าได้ร่อนเร่ไปที่ไหนเป็นอันขาด


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๙ พิธีทำบุญ “หลี่ฮีฉัว" จัดขึ้นในวันที่ 3 ของเดือน “ซาฮา” (เดือน 3 ของลีซู) พิธีนี้เป็นการทำบุญให้กับวิญญาณบรรพบุรุษ ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าลูกหลานใส่ใจและทำบุญให้ ตลอดจนดูแลบริเวณหลุมฝังศพให้เป็นอย่างดี จะทำให้ลูกหลานมีความเจริญรุ่งเรือง มีทรัพย์สิน เงินทอง การทำบุญให้วิญญาณบรรพบุรุษ จะทำบริเวณหลุม ฝังศพ พิธีเซ่นไหว้ เช่น ไก่ หมู จากนั้นจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมหลุมฝังศพและบริเวณรอบ ๆ ซึ่งการทำพิธี “หลี่ฮีฉัว” อย่างน้อยต้องทำ 3 ปีต่อวิญญาณ 1 ดวง หากลูกหลานมีทรัพย์ก็อาจจะทำให้ทุกปี แต่คนไม่พร้อม หรือไม่มีเงินที่จะทำก็ไม่เป็นไร มีเมื่อไหร่ค่อยทำก็ได้ ชาติพันธุ์ลีซูมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการตายและการทำศพที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน คือข้อปฏิบัติใน การหยอดเม็ดเงิน 9 เม็ดลงในปากของผู้ชายที่กำลังจะเสียชีวิต และ 7 เม็ดในปากของผู้หญิงที่กำลังจะเสียชีวิต ทั้งนี้ เม็ดเงิน 9 เม็ดเป็นเม็ดเงินที่แสดงถึงขวัญของผู้ชาย และ 7 เม็ดเงินเป็นขวัญของผู้หญิง ในส่วนของการ ทำศพนั้น โดยปรกติจะตั้งศพประมาณ 3 วันเช่นเดียวกันกับคนพื้นราบ อย่างไรก็ตาม การฝังศพ หรือเผาศพ นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเสียชีวิตหรือสถานะทางสังคมของผู้เสียชีวิต กล่าวคือ การฝังศพจะกระทำได้ต่อเมื่อ สาเหตุของการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการเจ็บป่วย ส่วนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุนั้นจะทำการเผาก่อนแล้วจึงจะนำ กระดูกไปฝัง และกรณีสุดท้ายคือการเสียชีวิตของเด็กและวัยหนุ่มสาว จะไม่มีการทำพิธีกรรมใด ๆ เนื่องจาก ขวัญของพวกเขาเหล่านั้นอ่อนแอเกินไป หลุมฝังศพในปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีต โดยเฉพาะการล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่ เหตุผลที่ต้องล้อมรั้ว เนื่องจากสมัยก่อนมีสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปก่อกวนและทำลายหลุมฝังศพ แต่ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องล้อมรั้วเนื่องจาก สัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยงเช่น วัว ควาย ไม่เป็นที่นิยมดังเช่นอดีต ประเพณีเซ่นไหว้บรรพชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : ประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาติพันธุ์เรียกว่า “หลี่ฮีฉา” หรือ “เช็งเม้ง” ในภาษาจีน เป็น ประเพณีที่ปฏิบัติมานาน โดยประเพณีนี้จะจัดขึ้นราวเดือนเมษายนของทุกปี ประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็น ประเพณีที่ชาวลีซูเชื่อว่าจะนำมาซึ่งโชคลาภให้แก่ครอบครัวและลูกหลาน ประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษยังเป็น ประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูของลูกหลานด้วย ประเพณีนี้ หากตัดสินใจจะเซ่นไหว้แล้วจะต้องกระทำ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน แต่หากอยู่ต่างประเทศและไม่สามารถกระทำพิธีอย่างต่อเนื่องได้ก็ สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องมีการแจ้งให้กับผีในวันที่ทำพิธี ได้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเพณีนี้จากลีซูท่านหนึ่งว่า “ผีบรรพบุรุษจะดีใจมากเวลาที่พวกเขารู้ว่า ประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกำลังจะมาถึง พวกเขาดีใจที่จะได้บ้านใหม่และสะอาด มีความสุขที่จะได้ทาน อาหารใหม่ ๆ ได้ดื่มเหล้าข้าวโพด ได้นั่งทานอาหารกับครอบครัว ได้เห็นหน้าลูก ๆ หลาน ๆ ที่มาทำพิธีให้กับ พวกเขา” พิธีกรรมนี้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตระกูล “แมวป่า” ว่า ลูกชายของตระกูลแมวป่าไม่สามารถทำพิธีเซ่น ไหว้บรรพบุรุษได้ แต่หากลูกชายให้กำเนิดลูกชายหรือลูกสาว พวกเขาสามารถกระทำพิธีกรรมนี้ได้ อย่างไรก็ ตาม ในปัจจุบัน ชาวลีซูตระกูล “แมวป่า” บางคนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเล่าเหล่านี้เท่าไรนัก ยังคงทำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๐ พิธีกรรมดังกล่าวให้กับมารดาผู้ล่วงลับและได้พบกับความโชคดีในหลายๆ ด้านหลังจากที่ได้ทำพิธีกรรมนี้ ให้กับมารดาของตน ศาสนาและความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : ศาสนาและความเชื่อที่ชาวลีซูในประเทศไทยนับถือคือ ศาสนาผีหรือการเคารพวิญญาณบรรพบุรุษ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : ผู้หญิงหรือผู้ชายลีซู รวมถึงคนอื่น ๆ ที่สนใจสวมใส่กางเกงลีซู ไม่ควรสวมใส่สีกางเกงสลับเพศ ผู้หญิงและผู้ชายหรือภรรยาไม่ควรพูดเรื่องเหล่านี้ต่อหน้าบิดาหรือสามี เช่น เรื่องประจำเดือน การคลอดลูก หรือการพูดเล่นซึ่งมีลักษณะลามก ฯลฯ ไม่ควรมองข้ามความสำคัญในการนับญาติ เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติกับฝ่ายที่ถูกเรียก เช่น น้าชาย ไม่ควรเรียกว่า คุณอา หรือคุณป้าไม่ควรถูกเรียกว่า คุณน้า หรือเรียกคุณลุงไม่ควรถูกเรียกว่า คุณอา ฯลฯ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ต่อหน้าบิดา ผู้นำพิธี/ผู้ประกอบพิธีของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : ผู้นำพิธีในกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูจะมีอยู่ด้วย 3 คนคือ “เหมอเมอผะ” หรือหมอเมือง และ “หนี่ผะ” หรือ หมอผี และหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นชาย พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่ยังคงนับถือศาสนาดั้งเดิมหรือการให้ความเคารพแก่บรรพ บุรุษนั้นประกอบด้วยพื้นที่ดังต่อไปนี้ - ศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน หรือ อาปาโหม่ฮี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนเข้าไปใน บริเวณศาลเจ้า - ศาลเทพเจ้าแห่งขุนเขาหรือ “อิด่ะมอฮี” - บริเวณหลุมฝังศพ หลังจากที่ทำพิธีเซงเม้งในแต่ละปีเสร็จแล้ว จะไม่สามารถเข้าใกล้หรือหยิบสิ่งของใด ๆ ออกจากบริเวณหลุมฝังศพ - หิ้งบรรพบุรุษของแต่ละครัวเรือน พื้นที่นี้สามารถจับต้องได้หรือทำความสะอาดได้เฉพาะในโอกาสพิเศษ เท่านั้น เช่น โอกาสปีใหม่ หรือกินข้าวโพดใหม่ และทุกวันศีลซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำที่หิ้งฯ ข้อสำคัญเวลาที่ ต้องการพักบ้านลีซู โดยเฉพาะสามีภรรยา คือไม่ควรหลับนอนด้วยกันในบริเวณหน้าหิ้งบรรพบุรุษ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๑ พิธีเรียกขวัญชนเผ่าลีซู พิธีเรียกขวัญข้ามสะพาน “กู่จียูกั๊วะ” ลีซูมีความเชื่อกันว่า โลกของวิญญาณกับโลกของมนุษย์นั้นอยู่กับคนละภพ พิธีกรรมนี้นิยมทำกับคน ขวัญอ่อน และคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง สุขภาพจิตไม่ค่อยดี เช่น ฝันร้ายบ่อย ๆ มีความเชื่อกันว่าขวัญ (โชฮา) ไม่ อยู่กับร่างของเจ้าของ ผีกำลังจะเอาดวงวิญญาณไป ทำให้สุขภาพและจิตใจไม่ค่อยสงบ พิธีนี้จะทำที่หน้าบ้าน ตรงบริเวณทางเข้าบ้าน การจะเตรียมสะพานไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้รู้หรือหัวหน้าครอบครัว (บิดา) ไปตัดไม้มาผ่า ครึ่งแล้วนำมาวางคู่กันที่พื้นทางเข้าบ้าน ที่หัวสะพานจะเสียบต้นไม้เล็กๆหรือกิ่งไม้ ข้างละ 1 ต้น แล้วนำใบไม้ มาทำเป็นกรวย 2 อัน นำข้าวสุกมาใส่ข้างละ 1 ถ้วย และเอาน้ำมาใส่ข้างละ 1 จอก ส่วนธูปนั้นจุดหัวสะพาน ข้างละ 1 คู่ ผู้รู้หรือบิดาของครอบครัวที่มีการทำพิธี จะยกเครื่องเซ่นไหว้ที่เตรียมไว้ไปตั้งที่หัวสะพาน การเรียก ขวัญจะมีการบอกให้ดวงวิญญาณของผู้ป่วยให้กลับมาร่างของผู้ป่วย เมื่อบอกดวงวิญญาณ เสร็จแล้วแบ่งตับไก่ กับข้าวสุก และน้ำใส่ในกรวยใบไม้ทั้ง 2 อัน อย่างละนิด เชิญขวัญกลับมากินเครื่องเซ่นไหว้พร้อมกับเข้าบ้าน และ เชิญให้ขวัญกลับเข้าบ้านด้วย แล้วผู้ป่วยต้องนั่งคุกเข่าให้ผู้ทำประกอบพิธีสวดช่วยมัดมือหรือมัดคอให้ อัน เป็นพิธีเรียกขวัญ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๒ พิธีเรียกขวัญใหญ่“โชฮาคูว” พิธีในครั้งนี้จะทำขึ้นเพื่อเรียกขวัญให้กลับคืนมาร่างของตนเอง ผู้ที่ขวัญอ่อนและผู้ที่ขวัญล่องลอยออก จากร่าง จนทำให้ร่างกายไม่สบาย มีความเชื่อกันว่า ขวัญผู้หญิงจะมี 7 ดวงส่วนขวัญผู้ชายจะมี 9 ดวง หาก หายไปดวงใดดวงหนึ่ง จะทำให้ไม่สบายได้ พิธีกรรมนี้จะทำขึ้นภายในบ้านของผู้ป่วย อุปกรณ์และเครื่องเซ่นก็ จะมี เช่น เงินเหรียญ ข้าวสุก หัวหมู ไก่ น้ำ เหล้าข้าวโพด ธูป ด้ายสายสิญจน์ และ(ฟูบ่ะ)เงินห้อยคอ เครื่องประดับของผู้ป่วยชุดหนึ่ง จะวางบนกองเสื้อผ้าของผู้ป่วยแล้วก็จะวางบนขันโตกอีกที และตั้งไว้ข้างๆ ประตูทางขวามือ 2 ชุด และ ซ้ายมือ 1 ชุด ใช้วางเคื่องเซ่น ไหว้ที่จะเซ่นสังเวย โดยหักกิ่ง ไม้เล็กๆ 4 กิ่ง นำมาเสียบปัก ไว้บนโตกเพื่อสร้างบรรยากาศ ให้เหมือนกับป่านอกหมู่บ้านที่ ผีร้ายอาศัยอยู่ แล้วเอาน้ำ เหล้า ข้าว ธูป และไข่ 1 ฟอง เริ่มพิธีโดยหมอผี (หนี่ผะ) จะ สวดมนตร์ภาวนาให้ผีร้ายที่กัก ขวัญของผู้ป่วยนั้น ให้ปล่อย ขวัญกลับมาสู่ร่างกายของ ผู้ป่วย เสร็จแล้วหมอผีออกไป ยืนที่ประตูบ้านในมือถือไข่ และด้ายสายสิญจน์สวดมนต์ ให้ผีบรรพบุรุษมากินอาหารที่ เตรียมเอาไว้ให้ แล้วหมอผีเข้า มาในบ้านทำพิธีมัดคอมัด ข้อมือของผู้ป่วย ด้วยด้ายสายสิญจน์เป็นการรับขวัญที่กลับมาสู่ร่างกายรียบร้อยแล้ว เป็นอันจบพิธี พิธีเรียกขวัญที่อาปาโหม่ฮีของประจำหมู่บ้าน พิธีจะขึ้นที่อาปาโหม่ฮี"อาปาโหม่ฮีชือหญ่าดี่ชัว" กรรมนี้นิยมทำกับคนทั่วไป โดยไม่ได้เจาะจงว่าจะต้อง เป็นหญิงมีครรภ์เท่านั้น อาปาโหม่ฮีเป็นศาลเจ้าประจำหมู่บ้านของชนเผ่าลีซู ลีซูที่นับถือบรรพบุรุษหรื่อนับถือผี จะต้องให้ความเคารพอาปาโหม่ฮี ถ้าใครเจ็บป่วยหรือไม่สบายก็จะทำพิธีขอพร ขอให้อาปาโหม่ฮีช่วยคุ้มครอง และให้ปลอดภัยจากโรคภัยตลอดจนสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ จากนั้นก็เสกบทคาถาลงในด้ายสายสิญจน์ แล้วนำกลับมา ให้กับคนที่ไม่สบายผูกที่คอหรือที่ข้อมือ ส่วนอุปกรณ์ในการทำพิธีก็จะมี ไก่ต้มสุก 1 ตัว ธูป 2 คู่ ด้ายสายสิญจน์ ข้าวสุก 2 ถ้วย น้ำ 2 จอก ถาดใส่ 1 อัน แล้วนำไก่ต้มมาจัดใส่ถาดที่เตรียมไว้ เอาข้าวสุก 2 ถ้วย มาวางข้างๆ ไก่ข้างละ 1 ถ้วย แล้วเอาน้ำที่ใส่น้ำไว้มาวางกับถ้วยข้าวสุกข้างละ 1 จอก จุดธูป 2 คู่ มาวางข้างไก่คู่ละข้าง แล้วนำด้ายมาวางบนถาด ผู้ที่ทำพิธีกรรมเหล่านี้ต้องไปสวดขอพรที่อาปาโหม่ฮี ลีซูมีความเชื่อกันว่า อาปาโหม่ฮี เป็นหัวหน้าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าอาปาโหม่ฮีดูแลเราอยู่พวกภัยร้ายก็ไม่กล้ามารังควาญได้ สถานที่ตั้ง อาปาโหม่ฮีต้องอยู่เหนือหมู่บ้าน ลีซูเองก็ไม่นิยมที่จะสร้างบ้านให้อยู่ในบริเวณเหนือกว่าอาปาโหม่ฮี เพราะถือ ว่าอาปาโหมฮี่จะต้องอยู่เหนือกว่าลูกหลาน (คนในหมู่บ้าน) กรณีที่จะมีการเดินทางไกลหรือเดินทางไปค้างแรง ในป่า จะมีการภาวนาหรืออธิฐานให้อาปาโหมฮี่ ช่วยคุ้มครองให้ตนเองไม่ให้เกิดอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๓ พิธีกรรมสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู : 1. พิธีกรรม “ต๊ะเฉาะ” จะกระทำเมื่อรู้สึกไม่สบายหรือทานอาหารไม่อร่อย หรือเมื่อหมอผีได้ทำการ สวดภาวนาแล้วพบว่าควรทำพิธีกรรมดังกล่าว พิธีกรรมนี้โดยปกติจะทำร่วมกันกับพิธี “ซะละฉา” หรือสร้าง ศาลา แต่หากต้องการทำพิธีนี้อย่างเดียวโดยไม่ต้องทำพิธีทานศาลาก็ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ ความถี่ของการทำ พิธีกรรมนี้ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ในเครื่องเซ่นไหว้ การจะทำพิธีให้ได้ผลและเพื่อให้หายจากอาการต่าง ๆ ต้อง ทำพิธีให้สุดและให้ศักดิ์สิทธิ์ หากเครื่องเซ่นไม่สมบูรณ์หรือที่ชาวลีซูเรียกว่า “ อิหลี่กือหม่าเป” (อิหลี่ หมายถึง ธรรมเนียมหรือพิธี, กือ หมายถึง วาง, หม่าเป หมายถึง ไม่ถึง) ก็จะต้องมีการทำพิธีกรรมนี้บ่อยมากขึ้น แต่ถ้า ทำพิธีครบ ไม่ขาดสิ่งของเซ่นไหว้ใด ๆ จะทำให้ผู้ที่มีอาการดังกล่าวหายเป็นปกติ พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับ บุคคล การเข้าร่วมของสมาชิกในครอบครัวสามารถยืดหยุ่นได้ ตามความสะดวกของสมาชิกแต่ละคน 2. พิธีกรรม “ซะละฉา” หรือการสร้างศาลา (บางครั้งเรียกทานศาลา) นี้จะกระทำเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงหรือให้หมอผีทำพิธีสวดและฟังผลการสวดว่าเป็นเพราะอะไร พิธีกรรมนี้ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้อาวุโส เนื่องจากเป็นพิธีกรรมที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นอายุยืน โดยจะกระทำทุก ๆ 3-4 ปี ในส่วนของสถานที่ที่ เหมาะสมสำหรับทำพิธีกรรมนี้คือบริเวณที่มีคนนั่งพักบ่อย ๆ เช่นบริเวณแยกต่าง ๆ เวลาที่มีคนเดินทางไปไร่ ก็ จะนั่งพักศาลานี้และเวลาที่ผู้คนนั่งพักแล้วประทับใจ จะพูดความรู้สึกที่ดีออกมา และคำพูดดังกล่าวจะส่งผลให้ เจ้าของศาลารู้สึกสบายใจและมีแรงมากขึ้น พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับบุคคล การเข้าร่วมของสมาชิกใน ครอบครัวสามารถยืดหยุ่นได้ ตามความสะดวกของสมาชิกแต่ละคน 3 พิธีกรรม “คุ๊สัว” นี้จะกระทำหลังปีใหม่ อาจเป็นช่วงเดือนไหนก็ได้แต่ไม่ควรรอนานเกินไปเพราะผี “คุสัว” นี้เป็นผีที่ดุร้ายที่สุดในบรรดาผีทั้งหมด หากล่าช้าเกินไปอาจทำให้มีเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ เช่น การ เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ฯลฯ เหตุผลที่ต้องกระทำพิธีกรรมดังกล่าวเพราะต้องการนำเอาสิ่งไม่ดีออกจาก บ้าน ให้ความโชคร้ายในปีที่ผ่านมาหายไปกับสิ่งของที่เซ่นไหว้ในพิธี โดยสิ่งของเซ่นไหว้เพื่อทำพิธีกรรมนี้ ประกอบไปด้วยเกลือ พริก ขิง เมล็ดฟักทอง ข้าวโพด 1 ฝัก ขวดแก้วเปล่า ของมีคม ถ้วยชามที่ไม่ดี เทียนไข 1 คู่ (สมัยก่อนไม่มีเทียนไข ชาวลีซูใช้น้ำมันหมูแทน) ธูป 1 คู่ ลำกล้วยสั้น 1 ลำ (พร้อมกับแต่งตัวให้กับลำ กล้วยด้วยการใส่หมวก ใส่เสื้อผ้า หากมีกางเกงเด็กก็สวมกางเกงเด็กให้กับลำกล้วยด้วย) กระดาษที่ตัดออกมา เป็นรูปภาพคน 3 แผ่น เสื้อผ้าเก่า ผ้าเช็ดตัว รองเท้า ตุ๊กตา ไผ่สาน อาหารแต่ละประเภท เช่น ผักกาด ผักชี หรือผักอะไรก็ตามที่มีอยู่ในบ้าน เป็นต้น เครื่องเซ่นไหว้เหล่านี้จะสามารถพบได้ตามท้ายหมู่บ้านของชาวลีซู พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับครัวเรือน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในครอบครัวจะต้องเข้าร่วมพิธี แต่ สถานการณ์ปัจจุบันทำให้สมาชิกในครัวเรือนแต่ละคนต้องแยกย้ายและห่างเหินกันออกไปเนื่องจากการศึกษา การงานและวิถีชีวิตแบบใหม่ในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ไม่สะดวกเข้าร่วมพิธีได้ ความจำเป็นในการปรับ ความเชื่อและการปฏิบัติต่อพิธีกรรมต่าง ๆ จึงปรับเปลี่ยนและต้องยอมรับกับสถานการณ์เหล่านี้ 4. พิธีกรรม “ชือ แป๊ะ กั๊วะ” หรือพิธีกินข้าวโพดใหม่ พิธีกรรมนี้จะเริ่มขึ้นในเดือน 7 ของลีซู ซึ่งตรง กับเดือนมิถุนายนของไทย พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมที่จะต้องทำในแต่ละปีโดยการเอาพืชผักที่เราปลูกหรือพืช ต่าง ๆ มาเซ่นไหว้ให้กับวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นพิธีกรรมที่ส่งผลให้วิญญาณบรรพบุรุษได้ทานสิ่งของเซ่นไหว้ และขอขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยดูแลพืชผลตลอดปีที่ผ่านมา สิ่งของต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาทำพิธีประกอบไป


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๔ ด้วย ดอกไม้แต่ละประเภท รวมถึงดอกแตงกวา อ้อย ข้าวโพดฝักอ่อน (ที่ยังมีดอกข้าวโพดติดอยู่) ข้าวโพดฝัก แก่ (ไม่มีดอกข้าวโพด) สัปปะรด และผลไม้ต่าง ๆ จำนวนการสักการะของพืชผักนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนบรรพบุรุษ ได้มีชาวลีซูเล่าให้ฟังเกี่ยวกับพิธีกรรมนี้ว่า ตระกูลที่เชื่อว่า “เป็นลีซูจริง ๆ” คือตระกูล “แมวป่า” จะ ไม่ทำพิธีกรรมนี้ และมีเรื่องเล่าอีกเช่นกันว่า เป็นเพราะตระกูลนี้ไม่ได้ทำพิธีดังกล่าว วิญญาณบรรพบุรุษของ ตระกูลแมวป่าจึงถูกจ้างให้ช่วยแบกสิ่งของเซ่นไหว้จากวิญญาณบรรพบุรุษของตระกูลอื่น ๆ โดยในวันที่ทำ พิธีกรรม วิญญาณบรรพบุรุษของตระกูลแมวป่า จะบ่นว่าไม่มีแตงกิน ไม่มีผักกิน วิญญาณบรรพบุรุษจาก ตระกูลอื่นจึงบอกกับพวกเขาไปว่า “ไม่เป็นไร มาช่วยแบกของให้ข้า ข้าจะจ้างพวกเจ้า และจะเอาเงินให้พวก เจ้าด้วย” พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับครัวเรือน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในครอบครัวจะต้องเข้าร่วม พิธี แต่สถานการณ์ปัจจุบันทำให้สมาชิกในครัวเรือนแต่ละคนต้องแยกย้ายและห่างเหินกันออกไปเนื่องจาก การศึกษา การงานและวิถีชีวิตแบบใหม่ในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ไม่สะดวกเข้าร่วมพิธีได้ ความจำเป็น ในการปรับความเชื่อและการปฏิบัติต่อพิธีกรรมต่าง ๆ จึงปรับเปลี่ยนและต้องยอมรับกับสถานการณ์เหล่านี้ 5. พิธีกรรม “ฉะลั๊วะ” พิธีกรรมนี้กระทำเมื่อคนในตระกูลใดตระกูลหนึ่งฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง พิธีกรรม นี้กระทำได้ทุกตระกูล สถานที่สำหรับจัดทำพิธีนี้คือบริเวณที่มีลำธารเล็ก ๆ เพื่อเดินข้ามเวลาที่ทำพิธี ทั้งนี้ มี ความเชื่อว่า เวลาที่ลอดใต้อุโมงค์ใบไม้แล้ว วิญญาณร้ายจะไหลไปกับลำธาร ข้อสำคัญระหว่างปฏิบัติพิธีกรรมนี้ คือ ห้ามหันหลังให้กับคนอื่นซึ่งอยู่ระหว่างการลอดใต้อุโมงค์ใบไม้เช่นกัน มิเช่นนั้นวิญญาณร้ายจะตามมาด้วย พิธีกรรมนี้มีอยู่ 2 แบบ แบบใหญ่เรียกว่า “ฉะแน” หรือ “ฉะสีดำ” และ “ฉะซัว” หรือ “ฉะเล็ก” ทั้ง สองสิ่งนี้ต่างกันที่สัตว์บูชา สุนัขและไก่ ที่ไม่นิยมทำแบบใหญ่ในปัจจุบันเพราะอัตราการฆ่าตัวตายยังไม่สูง เกินไป พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับตระกูล มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในครอบครัวจะต้องเข้าร่วมพิธี แต่สถานการณ์ปัจจุบันทำให้สมาชิกในครัวเรือนแต่ละคนต้องแยกย้ายและห่างเหินกันออกไปเนื่องจาก การศึกษา การงานและวิถีชีวิตแบบใหม่ในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ไม่สะดวกเข้าร่วมพิธีได้ ความจำเป็น ในการปรับความเชื่อและการปฏิบัติต่อพิธีกรรมต่างๆ จึงปรับเปลี่ยนและต้องยอมรับกับสถานการณ์เหล่านี้ 6. พิธีกรรมเรียกขวัญ หรือ “โชฮาคู” จะถูกจัดขึ้นเมื่อมีอาการดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น อารมณ์ แปรปรวน หงุดหงิดง่ายเมื่อได้ยินคนอื่นพูด (แม้คนอื่นจะพูดดีด้วย แต่ฟังอย่างไรก็ไม่รู้สึกสบอารมณ์) จิตใจไม่ สงบ สับสนวุ่นวาย บางครั้งรู้สึกเหมือนมีเสียงออกมาจากหูหรือหูอื้อซึ่งแสดงให้เห็นว่าขวัญหาย นอนละเมอ และถูกผีอำบ่อย (แสดงว่าขวัญอยู่กับผี) หรือฝันไม่ดีบ่อยครั้ง เช่น ฝันว่ามีลูก ฝันถึงผีร้าย ฯลฯ ด้วยอาการที่ กล่าวมาข้างต้น ทำให้ต้องมีพิธีกรรมนี้เพื่อเรียกขวัญกลับมาสู่โลกมนุษย์ ผู้ที่มีขวัญอ่อนจะต้องรับประทานหัวใจไก่หรือหมู (แล้วแต่ว่าจะเลือกสัตว์ประเภทใดในการพิธีกรรมนี้) หลังจากที่หมอเมืองทำพิธีเสร็จสิ้น โดยมีความเชื่อว่า ระหว่างที่หมอเมืองได้ทำพิธีอยู่นั้น ขวัญได้กลับมานั่งอยู่ ในหัวใจของหมูหรือไก่แล้ว ผู้ที่ขวัญอ่อนจะต้องทานหัวใจสัตว์และข้าวสวยที่อยู่ในถ้วยอย่างน้อย 3 คำ และที่ เหลือสามารถแบ่งให้คนอื่นทานได้เช่นกัน ชาวลีซูเชื่อว่าบุคคลคนหนึ่งไม่ควรใช้ชีวิตโดยปราศจากการทำ พิธีกรรมนี้นานเกินไป เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ เช่น การเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม พิธี เรียกขวัญนี้จะได้ผลดียิ่งถ้ามีคนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เพราะพวกเขาจะนำขวัญที่แข็งแรงของพวกเขาแบ่ง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๕ ให้กับคนที่ขวัญอ่อนในวันนั้น ทั้งการให้พรและการผูกสายสิญจน์จากพวกเขาจะช่วยเติมพลังให้ขวัญแข็งแรง ยิ่งขึ้น พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับบุคคล การเข้าร่วมของสมาชิกในครอบครัวสามารถยืดหยุ่นได้ ตามความ สะดวกของสมาชิกแต่ละคน 7. พิธีกรรม “อิ๊ดามาลัว” เป็นพิธีกรรมที่เริ่มทำช่วงหลังปีใหม่ ก่อนที่จะลงมือทำการเกษตรใด ๆ พิธีขอขมากับ “อิด่ะมา” จะต้องเริ่มต้นก่อนเพื่อให้ความคุ้มครองกับเจ้าของที่จะทำไร่ พิธีกรรมนี้จะถูกจัดที่ ศาลเทพเจ้าแห่งขุนเขา โดยศาลนี้จะตั้งอยู่เหนือบริเวณศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน หรือ "อาปาโหม่ฮี" สถานที่ จัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปข้างในศาลได้ พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับ ครัวเรือน การเข้าร่วมของสมาชิกในครอบครัวสามารถยืดหยุ่นได้ ตามความสะดวกของสมาชิกแต่ละคน 8. พิธีกรรม “ชูฮาเกี๊ยะ” เป็นพิธีกรรมที่จัดทำหลังการเสียชีวิต 7 วันของสมาชิกในครอบครัว เหตุผล ที่ต้องจัดทำพิธีกรรมนี้เพราะต้องการทราบถึงสาเหตุของการเสียชีวิต โดยหมอผีจะทำหน้าที่สื่อสารกับวิญญาณ ของผู้เสียชีวิต บ่อยครั้งที่พิธีกรรมนี้ได้นำมาซึ่งความเศร้าหมองและหมอผีอาจจะร้องไห้ระหว่างทำพิธีด้วย เช่นกัน (ผู้เสียชีวิตอยู่ในร่างหมอผี) เนื่องจากผู้เสียชีวิตบางคนได้ฝากข้อความหรือเล่าถึงชีวิตตนเองผ่านหมอผี ถึงสาเหตุการเสียชีวิต ตัวอย่างเช่น ยังไม่ถึงเวลาก็ได้จากทุกคนไปแล้ว หรือมีชีวิตอยู่ก็ไม่สบาย ตายเสียจะได้ หมดทุกข์ แต่ในกรณีคนชราเสียชีวิต มักจะมีข้อความฝากถึงสมาชิกในครอบครัวว่า แก่แล้ว ถึงเวลาที่ต้องไปอยู่ กับบรรพบุรุษแล้ว พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมระดับบุคคลและระดับครัวเรือน การเข้าร่วมของสมาชิกในครอบครัว สามารถยืดหยุ่นได้ ตามความสะดวกของสมาชิกแต่ละคน เทศกาล (วันขึ้นปีใหม่) วันขึ้นปีใหม่ ลีซูตรงกับช่วงเทศกาลวันตรุษจีน บางหมู่บ้านอาจช้าหรือบางหมู่บ้านจะเร็วกว่า เทศกาลวัน ตรุษจีนก็ได้ เนื่องจากการนับวันของผู้นำศาสนาของหมู่บ้าน (มือหมือผะ) อาจจะคลาดเคลื่อน วัน ปีใหม่มีวันสำคัญ 1-3 วัน ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จะมีการฆ่าหมู ฆ่าไก่ ตำข้าวปุ๊ก และเตรียมงานสำหรับปี ใหม่ ส่วนพิธีกรรมก็มีการเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษในบ้านเรือน และศาลประจำหมู่บ้าน ก็คือ“อาปาโหม่วฮี” และมีการกินเลี้ยงฉลองเต้นรำ เต้นรำรอบๆ ต้นไม้ปีใหม่ของทุกหลังคาเรือน เอ้อยี่ป๋า จะมีขึ้นหลังจากปีใหม่ผ่านไปประมาณเดือนกว่าๆ พิธีนี้มีเพียง 1 วัน 1 คืนเท่านั้นจะมีการเซ่นไหว้บูชา บรรพบุรุษในบ้านและผีบรรพบุรุษประจำหมู่บ้าน ตอนกลางคืนก็จะมีการเต้นรำกัน หน้าบ้านของผู้นำศาสนา (มือหมือผะ) จะไม่มีต้นไม้ปีใหม่ พิธีกรรมนี้ก็สำคัญมากสำหรับชาวลีซูเช่นกัน วันศิล เรียกว่า“จื้อ” วันศิลหรือวันอยู่กรรมของลีซู จะมีขึ้นทุกๆ 15 วันในรอบการนับวันของลีซู ซึ่งการนับวันเดือนปีของ ลีซูนั้นนับตามปฏิทินจีน และวันศิลของลีซู คือวันที่พระจันทร์เต็มดวงและพระจันทร์มืดมิด จึงเป็นวันศีล เป็น หน้าที่ของผู้นำศาสนา ประจำหมู่บ้าน (มือหมือผะ) ที่จะประกาศให้ชาวบ้านทราบล่วงหน้า 1 วันว่า วันรุ่งขึ้น จะเป็นวันศิล บอกให้ชาวว่าห้ามใช้ของมีคม เช่น มีด ขวาน จอบ เสียม ห้ามทำงานไร่,สวน นอกจากนั้นก็ห้าม ฆ่าหมู ไก่หรือสัตว์ทุกชนิดที่มีชีวิต วันศิลจะหยุดงาน 1 วัน อยู่ที่บ้านอยู่กับครอบครัว ส่วนผู้หญิงก็เย็บผ้าปัก ผ้า ส่วนผู้ชายทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆที่บ้าน


Click to View FlipBook Version