Shino-Tibet Languese : Tibeto-Burman languages

            ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พุดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฎาน อินเดีย และปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคคเสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนเป็นกลุ่มย่อยแทน..
            - ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยุ่ในตระกูลภาษาโดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่าและเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และประเทศอินเดีย ประเทศบังคลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพรามมี
             ภาษาถิ่นและสำเนียง ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง ภาษาถิ่นในเขตยะไข่หรือารกั ยังมีเสียง/ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียงระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและเพื่อ พระภิกษุชาวพม่ามักพุดกันเองด้วยภาษาบาลีซึ่งได้รับอิทธพิบจากพุทธศาสนา
             ภาษาพม่าไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน คำหลายคำสะกดต่างจากที่ออกเสียง เช่น คำว่า พระพุทธเจ้า ออกเสียงว่า pha-ya แต่เขียนว่า bu-ya การถอดภาษาพม่าเป็นอักษรโรมันจึงทำได้ยากแต่พอจะใช้การถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาบาลีมาเทียบเคียงได้ หรือบางที่อาจใช้ระบบ MLCTS
            การเรียงคำเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ยกเว้นคำว่า ga (เป็น) ซึ่งจะวางต่อจากประธาน คำสรรพนามเปลี่ยนตามเพศและสภานะของผุ้ฟัง เป็นภาษาพยางค์เดียว แต่มีรากศัพท์และการเติมคำอุปสรรค การเรียงคำในประโยคไม่มีบุพบท สันธานแต่ใช้การเติมปัจจัย
            คำคุณศัพท์ มาก่อนคำนาม เช่น chuo-de- lu (สวยงาม+ de+คน= คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย) การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค a- คำคุณศัพท์-ปัจจัย zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม
             รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่งน้อย 1 ตัว เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน ตัวอย่างเช่น คำกริยา sa (กิน) เป็น
           sá-dè = กิน ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจัุบันกาล หรือใช้เน้นย้ำ เป็นต้น
     คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกอ) กาจใช้ปัจจัย myà ทีแปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่งเช่น nwá = วัว nwá- dei = วัวหลายตัว จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็กห้าคน ใช้คำว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน)
     ภาษาพม่ามีลักษณะนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามลายู คำลักษณะนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่
   
 ba ใช้กับคน (เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชีป
      hli ใช้กับสิ่งของเป็นชิ้น เช่น ขนมปัง
      kaung ใช้กับสัตว์
      ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป เป็นต้น
    คำสรรพนาม ที่เป็นรูปประธานฝช้ขึ้นต้นประโยค รูปกรรมจะมีปัจจัย-go ต่อท้าย ตัวอย่งเช่น ฉันเป็นทางการ ผุ้ชายใช้ kyaw-naw ผู้หญิงใช้ kyaw-mya ไม่เป็นทางการใช้ nga พูดับพระสงฆ์ใช้ da-ga หรือ da-be-daw (หมายถึง นักเรียน) เป็นต้น
    คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาตระกูลทิเบต -พม่า ศัพท์เกี่ยวกับศาสนา การศึกษา ปรัชญา รัฐบาลและศิลปะ ได้มาจากภาษาบาลีเป็นส่วนใหญ่ คำยืมจากภาาาอังกฤษมักเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปกครองสมัยใหม่ คำยืมจากภาษาฮินดีมักเกี่ยวกับอาหารและการปรุงอาหาร..
    - th.wikipedia.org/wiki/ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)