1/4
product-carousel-0
product-carousel-1
product-carousel-2
product-carousel-3
Sorry, this shop is temporarily unavailable.

กระเป๋าผ้า กระเป๋าคาดข้าง

฿289
Quantity
/ 4 items available
1
Welcomechiangraishop
Welcomechiangraishop
Description

กระเป๋าผ้าของกลุ่ม 10 ชาติพันธุ์อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลายชาติพันธุ์ของลีซอ ดีไซน์สวยสีสันสดใส เป็นเอกลักษณ์ ใส่ของได้เยอะ ใส่ของจุกจิก หรือเครื่องสำอางได้ พกพาง่าย หมายเหตุ: สีของสินค้าอาจมีการผิดเพี้ยนเล็กน้อยจากแสงและเงาตอนถ่ายภาพสินค้า และอาจขึ้นอยู่กับแสงหน้าจออุปกรณ์แสดงผลของท่าน

 

 

 

ขนาด: กว้าง 15 x สูง 20

สี: ลาย

 




เกล็ดความรู้สิบชาติพันธุ์


 

ลาหู่ (Lahu) กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่มีการกระจายตัวตามเขตพื้นที่ต่างๆในจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะสามารถพบเห็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่กระจายตัวตั้งถื่นฐานอยู่ใน 13อำเภอในจังหวัดเชียงราย เช่น อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่จัน เป็นต้น อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของลาหู่นั้น มีงานหัตถกรรมปักผ้า เอกลักษณ์ลวดลายการปักผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ได้รังสรรค์ลวดลายของตนเองกับสิ่งต่างๆที่เปลี่นแปลงไปจากลักษณะของธรรมชาติ บางลวดลายจะเกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ ตลอดจนลวดลายที่มีที่มาจากความเชื่ออีกด้วย

 

 

 

อาข่า (Akha)

กลุ่มชาติพันธุ์อาข่ากระจายตัว ตั้งถื่นฐานอยู่ใน 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่จัน อะภอพาน จังหวัดเชียงราย อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อาข่าทางพิธีกรรมนั้น จะมีพิธีโล้ชิงช้า หรือ “แยะขู่ อ่าโผ่ว จาแบ” พิธีนี้ทำหลังจากพิธีปลูกข้าวครั้งแรก เพื่อเป็นการฉลองและระลึกถึงและยกย่องวีรบุรุษชาวอาข่านั่นเอง

 

 


ลัวะ

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะกระจายตัวตั้งถื่นฐานอยู่ใน 10 อำเภอในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอเมืองเชียงรายเป็นต้น อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลัวะคือมีวัฒนธรรมประเพณีพื้นฐานจาก การนับถือผี ความเชื่อเรื่องผี แม้ส่วนใหญ่นับถือพุทธ แต่ก็ไม่ทิ้งการนับถือผี เช่นกัน

 

 


ดาราอั้ง (Dara-ang)

กลุ่มชาติพันธุ์ดาราอั้ง กระจายตัวตั้งถื่นฐานอยู่ใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน อัตลักษณ์ชาติพันธ์ดาราอั้ง จะยึดถือธรรมเนียมปฎิบัติเช่นเดียวกับพุทธโดยทั่วไป คือการสนับสนุนให้ลูกชายบวชเณรเพื่อเล่าเรียนธรรมะและบวชพระ ชาวดาราอั้งมีฝีมือในการทอผ้า ซึ่งเกือบทุกหลังคาเรือนจะมีการทอผ้า เพื่อเอามาใช้ในการตัดเสื้อและผ้าซิ่น เพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวันต่อไป

 


 

จีนยูนนาน (Yunnan)

กลุ่มชาติพันธุ์จีนยูนนาน กระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 6 อำเภอได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สรวย และอำเภออื่นๆ อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์จีนยูนนานนั้น มีภูมิปัญญาในด้านการแปรรูปอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือผัก โดยการแขวนผึ่งลมไว้ตามชายคาบ้านเพื่อเก็บรักษาไว้กินต่อไปนั่นเอง

 

 

ไทเขิน (Tai Kern)

กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน กระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเมืองเชียงราย อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินมีหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวไทเขินได้แก่ การทำตุง(ธง) เพื่อนำไปใช้ประกอบพิธีทางศาสนาตามความเชื่อ

 

 


ไทใหญ่ (Shan)

กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ กระจานตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 8 อำเภอของจังหวัดเชียงราย อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่คือการสัก วึ่งถือเป็นการแสดงการยอมรับและเกิดความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มชนต่างๆ และอีกหนึ่งอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่คือ ศิลปะการแสดงที่มีเอกลักษณ์ได้แก่ การฟ้อนนก กิ่งกะหล่า รำโต เป็นต้น

 

 


ไตหย่า (Tai Ya)

กลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่ากระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 3 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อำเภอแม่สายอำเภอแม่จัน และอำเภอเมือง อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไตหย่าคือ เสื่อไตหย่า หรือเสื่อทอกก ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ชาวไตหย่าปลูกนั่นเอง

 


 

ไทยวน (Tai Yuan) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนาเป็นเวลานาน ซึ่งกระจายอยู่ในจังหวัดเชียงราย อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนคือ พิธีกรรมเกี่ยวกับผ้าทอไทยวน ซึ่งในอดีตใช้เป็นของกำนัลสำหรับคนทำคลอดหรือหมอตำแย เพื่อแสดงความขอบคุณ

 

 


ไทลื้อ (Tai Lue)

กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ กระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 10 อำเภอในจังหวัดเชียงราย อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทลื้อ มีพิธีกรรมแห่พระอุปคุต จะมีขึ้นก่อนพิธีการสำคัญเช่น หากจะมีงานระดับชุมชน หรืองานฉลองวิหาร ศาลา ต่างๆ ชาวไทลื้อเชื่อว่าจะเป็นการป้องกันมารทั้งหลาย หรือสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายมารบกวนได้